ความร่วมมือ “จากยุทธศาสตร์สู่การจัดการปัญหาสเตียรอยด์ในประเทศไทย”

ความร่วมมือ “จากยุทธศาสตร์สู่การจัดการปัญหาสเตียรอยด์ในประเทศไทย” ในการประชุม

“มหกรรมการจัดการปัญหายาสเตียรอยด์ที่ไม่เหมาะสมในระดับชาติ”

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2557 เวลา 8.30 – 17.00 น. ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กทม.

page

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า อย.มีกลไกการติดตามสเตียรอยด์ โดยมีระบบออนไลน์ตั้งแต่นำเข้า ผู้นำเข้าต้องแจ้งปริมาณและรายงาน เมื่อนำเข้ามาแล้วต้องขายให้เฉพาะผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน และผู้ผลิตจะต้องจัดทำรายงานการผลิต รายงานการขาย หากขายไปที่จังหวัดใด จังหวัดนั้นสามารถเปิดดูข้อมูลการขายได้ว่าร้านขายยาหรือสถานพยาบาลในจังหวัดนั้นซื้อสเตียรอยด์ไปในปริมาณเท่าใด และยังได้มีกฎกระทรวงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. 2555 กำหนดบังคับช่องทางการจำหน่ายไว้ด้วย ยังสามารถกำหนดสัญลักษณ์บนเม็ดยาได้ ซึ่งถ้าไม่สามารถควบคุมปัญหาได้ ก็อาจจะกำหนดให้สเตียรอยด์จำหน่ายเฉพาะสถานพยาบาลหรือคลินิกเท่านั้น ซึ่งเดิมก่อนที่จะมีกฎกระทรวงฉบับนี้เรื่องช่องทางการจำหน่ายเป็นเรื่องความสมัครใจหรือขอความร่วมมือ แต่ตอนนี้สามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้แล้ว

Read More

เปิดชื่ออาหารเสริม-ยาอันตราย 34 ตัว อ้างอกฟูรูฟิต ผิวขาวใส ช่วยเซ็กซ์ฟิน

อย.เผยรายชื่อผลิตภัณฑ์ผิดกม.

 

วันที่: 21 เมษายน 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000044268

อย. เปิดรายชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา อ้างอกฟูรูฟิต ผิวขาวใสเด้งเกินจริง เสริมสร้างสรรพคุณทางเพศ รวมกว่า 34 ตัว บนเว็บไซต์ หวังเตือน ปชช. ไม่ตกเป็นเหยื่อซื้อบริโภค เสี่ยงได้รับอันตราย

ดาวน์โหลดรายชื่อผลิตภัณฑ์อันตราย

Read More

ข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

(ยังเขียนไม่เสร็จจ้า)

 

 เม็ดยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีเฉพาะเลโวนอร์เจสเตรล (levonnorgestrel)

“Mechanism of action: How do levonorgestrel-only emergency contraceptive pills (LNG ECPs) prevent pregnancy?” (กลไกการออกฤทธิ์)

 

ขนาดยาและระยะเวลาในการรับประทานยา

การศึกษาพบว่าการรับประทานเม็ดยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีเฉพาะตัวยาเลโวนอร์เจสเตรล ขนาด 1.5 มิลลิกรัม ในครั้งเดียว สามารถใช้แทนการรับประทานแบบเดิม คือ รับประทานครั้งละ 0.75 มิลลิกรัม  แล้วรับประทานซ้ำอีกครั้งในอีก 12 ชั่วโมง ต่อมาได้

 ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด

 

สถานภาพทางกฎหมายในประเทศไทย

ยาอันตราย ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ต้องจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบัน

 

เอกสารอื่น

How do levonorgestrel-only emergency contraceptive pills (LNG ECPs) prevent pregnancy? [1]

International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) and International Consortium for Emergency Contraception (ICEC). “Mechanism of action: How do levonorgestrel-only emergency contraceptive pills (LNG ECPs) prevent pregnancy?”. London: International Federation of Gynecology and Obstetrics.

World Health Organization. Fact sheet on the safety of levonorgestrel-alone emergency contraceptive pills (LNG ECPs). http://whqlibdoc.who.int/hq/2010/WHO_RHR_HRP_10.06_eng.pdf

คอลัมน์ หมอสนาม: เลื่อนประจำเดือนในนักกีฬา

นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ และคณะ. คอลัมน์ หมอสนาม: เลื่อนประจำเดือนในนักกีฬา. มติชน ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำถามจากคุณมะปราง ถามมาว่า ลูกสาวอายุ 13 ปี เป็นนักกีฬาแบดมินตันของโรงเรียน ช่วงนี้ต้องไปแข่งขันบ่อย อยากถามคุณหมอเกี่ยวกับอาการประจำเดือนของลูกสาว ซึ่งมักจะมาไม่ค่อยสม่ำเสมอ เลยกังวลว่าจะมีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า และเวลาลูกต้องไปแข่งขันช่วงที่มีประจำเดือน จะลำบากมาก อยากทราบว่าจะมียาที่เลื่อนประจำเดือนช่วงที่แข่งขันหรือไม่ ขอบคุณคุณหมอล่วงหน้าค่ะ

ผมขอเชิญ รศ.พญ.มานี ปิยะอนันต์ แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตอบดังนี้ครับ

Read More

วิจัยพบยาปฏิชีวนะตัวการทำ’เด็กอ้วน’

มติชน ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หน้า 10

รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์ประจำสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า ขณะนี้เด็กทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโรคอ้วน และจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินหรือโรค อ้วน คือ เด็กได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 ขวบ และจากการศึกษาอย่างจริงจังใน กลุ่มเด็กอนุบาล ก็พบว่าสาเหตุหลักมาจากในร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสัดส่วนของเซลล์มนุษย์ประมาณร้อยละ 99 ในขณะที่เซลล์มนุษย์ในร่างกายมีประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น โดยเฉพาะในลำไส้

“จากการทำวิจัยในระดับยีนของต่างประเทศ เพื่อหาว่ายีนของคนอ้วนและคนผอม มียีนของเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกันอย่างไรนั้น ผลวิจัยพบว่าเชื้อแบคทีเรียของคนอ้วนและคนผอมต่างกันมาก ซึ่งแบคทีเรียที่พบก็มีผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในหนู พบว่าหนูที่ได้รับยาปฏิชีวนะมีระดับไขมันมากกว่าหนูที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ” รศ.พญ.วารุณีกล่าว และว่า จากผลการวิจัยดังกล่าว ประเทศไทยควรมีความตระหนัก รวมถึงนำข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่เมื่อพาบุตรไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรค มักจะคาดหวังและขอยาปฏิชีวนะจากแพทย์

รศ.พญ.วารุณีกล่าวว่า ยาปฏิชีวนะมีผลทั้งในระยะยาวและระยะสั้น โดยระยะสั้นจะมีผลกับทุกช่วงอายุ ฉะนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ส่วนในระยะยาว นอกจากเด็กจะมีภาวะอ้วนแล้ว ยังอาจทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ และหอบหืดได้

แก๊สน้ำตา คือ อะไร

วลัยพร มุขสุวรรณ หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย ให้ข้อมูลว่า แก๊สน้ำตา เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมจราจล ซึ่งมีสารที่เกี่ยวข้องมากกว่า 12 ชนิด แต่ที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่

1. Chloroacetophenone หรือ CN gas (CAS No. 532-27-4; UN Class 6.1; UN Number 1697; UN Guide 153; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530) ได้รับการคิดค้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 แต่นำมาใช้ในช่วงสงครามเวียดนามโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา ในช่วง ค.ศ. 1960-1979 มีการนำมาใช้ในการปราบจราจลและในกิจการของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านความมั่นคงและความปลอดภัย โดยการใช้งานจะอยู่ในรูปละอองลอยที่บรรจุในภาชนะอัดความดัน ต่อมานำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวแต่ก็ลดน้อยลงมากแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากระยะเวลาออกฤทธิ์ค่อนข้างนานและใช้ไม่ค่อยได้ผลกับคนติดยาและติดเหล้า

2. Chlorobenzylidenemalonitrile : CS gas (CAS No. 2698-41-1; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบ คุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530) เป็นผงผลึกสีขาว เมื่อไหม้ไฟจะก๊าซไม่มีสี ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1928 แต่ยังไม่มีการใช้จนกระทั่งสงครามเวียดนามจึงมีการใช้เป็นอาวุธสงครามอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

3. Dibenzoxazepine : CR gas (CAS No. 257-07-8; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530) กระทรวงกลาโหมของอังกฤษพัฒนาขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1960 มีลักษณะเป็นผลึกสีเหลืองซีดมีกลิ่นคล้ายพริกไทย ในสหรัฐอเมริกาไม่ใช้สารตัวนี้เป็นสารควบคุมจลาจล เนื่องจากมีสมบัติก่อมะเร็ง
[รายละเอียดอื่น ติดตามได้ที่ http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=68]

ส่วนแก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมที่ผ่านมา เป็นตัวใดนั้น

Read More

ขอเชิญร่วมลงชื่อสนับสนุน “ร่าง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. …”

แก้ไข พ.ร.บ. สิทธิบัตร

เนื่องจาก พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความไม่ชัดเจนบางประการ อันอาจจะส่งผลให้เกิดการเข้าไม่ถึงยาของประชาชน ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังเจรจาการค้าระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและภูมิภาคอยู่หลายข้อตกลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขให้เหมาะสม

การเสนอให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร มีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทยและประเทศชาติในทุกภาคส่วน
  2. ต้องนำไปสู่การพัฒนาระบบสิทธิบัตรที่เน้นการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยและผู้บริโภค ควบคู่กับการส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และการถ่ายทอดเทคโนโลยีของคนไทย
  3. ต้องสอดคล้องกับ “ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights TRIPS / ความ ตกลงทริปส์) และปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทริปส์และสาธารณสุข (Doha Declaration on The TRIPS Agreement and Public Health / WT/MIN/DEC/W/2, 14 November 2001)” และไม่ให้สิทธิแก่ธุรกิจ ต่างประเทศมากเกินกว่าความตกลงและปฏิญญาดังกล่าว
  4. ต้องไม่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตย โดยแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรในลักษณะผูกพันประเทศเกินไปกว่าพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงชื่อ

ดาวน์โหลดร่าง พ.ร.บ. (ฉบับร่างล่าสุดวันที่ 30 สิงหาคม 2552)


Read More

ลำดับเหตุการณ์ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)

ลำดับเหตุการณ์ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) โดยมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและคณะ

ดู ตารางสรุปลำดับเหตุการณ์ คลิกที่นี่
ดู สไลด์ คลิกที่นี่

วันที่

เหตุการณ์

9 พฤศจิกายน 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ มีหนังสือที่ สศ 0001.9/ว 1956 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมการประชุม เรื่อง “พ.ร.บ.ยา ” ลงวันที่ 25   ตุลาคม  พ.ศ.2555 เชิญประชุมเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “พ.ร.บ.ยา”
14 พฤศจิกายน 2555 กพย.จี้นายกฯลงนามกฎหมายยาฉบับใหม่ เผยผ่านสภาฯมาตั้งแต่ มิ.ย.ชี้ปรับแก้ให้ทันสถานการณ์-ไม่ล้าหลัง (ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) 14 พฤศจิกายน 2555 หน้า 15)
12 ธันวาคม 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค มีหนังสือที่ สศ 0001.9/ว 2299 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมการประชุม เรื่อง “พ.ร.บ.ยา ” ลงวันที่ 26  พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เชิญประชุมเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “พ.ร.บ.ยา”
5 มีนาคม 2556 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหนังสือที่ สศ0001/401 เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อง การเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติยาให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมาย ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2556 ต่อนายกรัฐมนตรี
18-19 มีนาคม 2556 – กพย.ฉงน ‘ปู’ ดอง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ (ไทยโพสต์ 18 มีนาคม 2556 หน้า 4)- กพย.เหน็บรัฐบาล ดอง ‘ร่าง พ.ร.บ.ยา’ (มติชน (กรอบบ่าย) 19 มีนาคม 2556 หน้า 10)

– พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ดองนานกว่า 1 ปี รอนายกฯ ลงนาม (คมชัดลึก 18 มีนาคม 2556 หน้า 10)

7 มีนาคม 2556 แผนงาน กพย. มีหนังสือที่ 02.02/150 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2556 ถึงนายกรัฐมนตรี สอบถามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)
25 มีนาคม 2556 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นร.0404/4144 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2556 เรื่องการรับรองร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)  แจ้งว่า“ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการสบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาลงนามของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ได้นำเรียนรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) ในฐานะกำกับการบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายกรัฐมนตรีทราบ และส่งเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา หากผลการพิจารณาเป็นประการใด กระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ทราบโดยตรงต่อไป”
21 มิถุนายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สธ 1009.3.1/8969 ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2556 เชิญผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิง ปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ เรื่อง การเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติยาให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมาย ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อรวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีต่อข้อเสนอของสภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี)
9 ธันวาคม 2556 พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ซึ่งกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/115/1.PDF

draftdrugact001

เข้าชื่อ1หมื่นเสนอร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ (ฉบับประชาชน) มติชน วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555 หน้า 10

draftdrugact002

ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) 14 พฤศจิกายน 2555 หน้า 15

draftdrugact003

ไทยโพสต์ 18 มีนาคม 2556 หน้า 4

draftdrugact004

ข่าวสด 18 มีนาคม 2556 หน้า 28

draftdrugact005สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นร.0404/4144 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2556 เรื่องการรับรองร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) แจ้งว่า “ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาลงนามของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ได้นำเรียนรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) ในฐานะกำกับการบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายกรัฐมนตรีทราบ และส่งเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา หากผลการพิจารณาเป็นประการใด กระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ทราบโดยตรงต่อไป”

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

มติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 เรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555)

รายงาน การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 (19 ธันวาคม 2555) ดูรายงานเรื่องอื่นได้ที่นี่

(ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระทำผิดกฎหมายโฆษณาโอ้อวดเกินจริง พ.ศ.2557-2560 (เอกสาร ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)