การประชุมโต๊ะกลม “ความร่วมมือในการควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณาเพื่อความยั่งยืนในการคุ้มครองผู้บริโภค”

 

การประชุมโต๊ะกลม เรื่อง ความร่วมมือในการควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณา เพื่อความยั่งยืนในการคุ้มครองผู้บริโภค

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2561 เวลา 8.30-13.30 น. ณ ห้องประชุมสารนิเทศ (ชั้น 2) หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

แนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจคำขอสิทธิบัตรเข้มเพื่อสกัด Evergreening Patent

 

วงเสวนาแนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้ “คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรยา” อย่างเข้มข้น – นำคำวินิจฉัยศาลเป็นแนวทางพิจารณาคำขอสิทธิบัตร เพื่อลดจำนวนคำขอที่มีลักษณะเป็น Evergreening Patent ด้านบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญหวังให้มีการพัฒนาระบบสืบค้นสิทธิบัตรรวมทั้งมีระบบให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสิทธิบัตร

วันที่ 17 พ.ค. 2561 ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้จัดเสวนาวิชาการ “กว่าจะได้ชัยชนะ: การเพิกถอนสิทธิบัตรยาในประเทศไทย” ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเนื้อหาการเสวนาได้กล่าวถึงบทเรียนจากการต่อสู้ในคดีสิทธิบัตรยาระหว่างบริษัทยาต้นแบบและบริษัทผู้ผลิตยาสามัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการให้สิทธิบัตรยาในประเทศไทย

Read More

ข้อเท็จจริงทางวิชาการในการควบคุมสารเคมีอันตราย : พาราควอต (Paraquat) ไกลโฟเซต (Glyphosate) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)

 

ดาวน์โหลดเอกสาร สมุดปกขาว : ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม – พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต

ประชาคมวิชาการเรียกร้องให้มีการใช้ข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ชัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพาราควอตที่มีพิษเฉียบพลันสูงต่อมนุษย์ และมีผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพ เช่น ก่อโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม แม้ใส่อุปกรณ์ป้องกันยังสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังรวมทั้งบาดแผล แล้วซึมเข้าร่างกายจนเกิดอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังพบตกค้างในอาหาร สิ่งแวดล้อมและมนุษย์จากการวิจัยของหลายสถาบัน จึงออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่สังคมและสนับสนุนมติให้ยกเลิกพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

Read More