ขอเชิญร่วมลงชื่อสนับสนุน “ร่าง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. …”

แก้ไข พ.ร.บ. สิทธิบัตร

เนื่องจาก พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความไม่ชัดเจนบางประการ อันอาจจะส่งผลให้เกิดการเข้าไม่ถึงยาของประชาชน ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังเจรจาการค้าระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและภูมิภาคอยู่หลายข้อตกลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขให้เหมาะสม

การเสนอให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร มีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทยและประเทศชาติในทุกภาคส่วน
  2. ต้องนำไปสู่การพัฒนาระบบสิทธิบัตรที่เน้นการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยและผู้บริโภค ควบคู่กับการส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และการถ่ายทอดเทคโนโลยีของคนไทย
  3. ต้องสอดคล้องกับ “ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights TRIPS / ความ ตกลงทริปส์) และปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทริปส์และสาธารณสุข (Doha Declaration on The TRIPS Agreement and Public Health / WT/MIN/DEC/W/2, 14 November 2001)” และไม่ให้สิทธิแก่ธุรกิจ ต่างประเทศมากเกินกว่าความตกลงและปฏิญญาดังกล่าว
  4. ต้องไม่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตย โดยแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรในลักษณะผูกพันประเทศเกินไปกว่าพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงชื่อ

ดาวน์โหลดร่าง พ.ร.บ. (ฉบับร่างล่าสุดวันที่ 30 สิงหาคม 2552)


Read More

ลำดับเหตุการณ์ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)

ลำดับเหตุการณ์ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) โดยมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและคณะ

ดู ตารางสรุปลำดับเหตุการณ์ คลิกที่นี่
ดู สไลด์ คลิกที่นี่

วันที่

เหตุการณ์

9 พฤศจิกายน 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ มีหนังสือที่ สศ 0001.9/ว 1956 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมการประชุม เรื่อง “พ.ร.บ.ยา ” ลงวันที่ 25   ตุลาคม  พ.ศ.2555 เชิญประชุมเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “พ.ร.บ.ยา”
14 พฤศจิกายน 2555 กพย.จี้นายกฯลงนามกฎหมายยาฉบับใหม่ เผยผ่านสภาฯมาตั้งแต่ มิ.ย.ชี้ปรับแก้ให้ทันสถานการณ์-ไม่ล้าหลัง (ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) 14 พฤศจิกายน 2555 หน้า 15)
12 ธันวาคม 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค มีหนังสือที่ สศ 0001.9/ว 2299 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมการประชุม เรื่อง “พ.ร.บ.ยา ” ลงวันที่ 26  พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เชิญประชุมเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “พ.ร.บ.ยา”
5 มีนาคม 2556 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหนังสือที่ สศ0001/401 เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อง การเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติยาให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมาย ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2556 ต่อนายกรัฐมนตรี
18-19 มีนาคม 2556 – กพย.ฉงน ‘ปู’ ดอง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ (ไทยโพสต์ 18 มีนาคม 2556 หน้า 4)- กพย.เหน็บรัฐบาล ดอง ‘ร่าง พ.ร.บ.ยา’ (มติชน (กรอบบ่าย) 19 มีนาคม 2556 หน้า 10)

– พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ดองนานกว่า 1 ปี รอนายกฯ ลงนาม (คมชัดลึก 18 มีนาคม 2556 หน้า 10)

7 มีนาคม 2556 แผนงาน กพย. มีหนังสือที่ 02.02/150 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2556 ถึงนายกรัฐมนตรี สอบถามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)
25 มีนาคม 2556 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นร.0404/4144 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2556 เรื่องการรับรองร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)  แจ้งว่า“ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการสบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาลงนามของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ได้นำเรียนรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) ในฐานะกำกับการบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายกรัฐมนตรีทราบ และส่งเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา หากผลการพิจารณาเป็นประการใด กระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ทราบโดยตรงต่อไป”
21 มิถุนายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สธ 1009.3.1/8969 ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2556 เชิญผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิง ปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ เรื่อง การเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติยาให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมาย ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อรวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีต่อข้อเสนอของสภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี)
9 ธันวาคม 2556 พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ซึ่งกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/115/1.PDF

draftdrugact001

เข้าชื่อ1หมื่นเสนอร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ (ฉบับประชาชน) มติชน วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555 หน้า 10

draftdrugact002

ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) 14 พฤศจิกายน 2555 หน้า 15

draftdrugact003

ไทยโพสต์ 18 มีนาคม 2556 หน้า 4

draftdrugact004

ข่าวสด 18 มีนาคม 2556 หน้า 28

draftdrugact005สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นร.0404/4144 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2556 เรื่องการรับรองร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) แจ้งว่า “ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาลงนามของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ได้นำเรียนรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) ในฐานะกำกับการบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายกรัฐมนตรีทราบ และส่งเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา หากผลการพิจารณาเป็นประการใด กระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ทราบโดยตรงต่อไป”

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

มติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 เรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555)

รายงาน การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 (19 ธันวาคม 2555) ดูรายงานเรื่องอื่นได้ที่นี่

(ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระทำผิดกฎหมายโฆษณาโอ้อวดเกินจริง พ.ศ.2557-2560 (เอกสาร ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

กรณีศึกษาและข่าวโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ยา

กรณีศึกษา แพทย์กับบริษัทยาที่ส่งเสริมการขายแบบ Off-label promotion
กรณีศึกษา ยากาโน่ ป๊อก
กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โควเมม 

ผลิตภัณฑ์อาหาร

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์บริษัท นูทริฟาย จำกัด (ผลิตภัณฑ์บล็อกแป้ง)
กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เอเจล (AGEL)

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โอเมกา-3 (เช่น น้ำมันปลา) ในวารสาร JAMA

กรณีศึกษา เครื่องดื่มอินทรา
กรณีศึกษา เครื่องดื่มเปปทีน

ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์

 

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

กรณีศึกษา ฮีรูสการ์โพสต์ แอคเน่
กรณีศึกษา สบู่ลักซ์

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ลังโคม

กรณีศึกษา เครื่องสำอางเบรสเซ้นส์ พิงค์

ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

กรณีศึกษา น้ำยาล้างห้องน้ำวิกซอลเรด

 

 

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

 

ข่าว

(ข่าว)-ทาโลชั่นจุดซ่อนเร้นหมอชี้ตั้งครรภ์ยากสื่อนอกอัดหญิงไทยเชื่อผิวขาวชีวิตดีขึ้น (คม ชัด ลึก 25 กันยายน 2555)
(ข่าว)-อย.ปฏิบัติการเชือดสินค้ายี่ห้อดังลักไก่โฆษณา-หมกเม็ดบัญชียา (สยามธุรกิจ 26 กันยายน 2555)
(ข่าว)-หมอเตือนถึงตายฉีดฟิลเลอร์ผิดวิธีเสริมจมูกเสี่ยงตาบอดเหยื่อมือฉีดสารโผล่อีก (คม ชัด ลึก 26 กันยายน 2555)
(ข่าว)-เตือนวิตามินลดน่องไม่ผ่าน อย.
(ไทยรัฐ 28 กันยายน 2555)

เอกสารเกี่ยวกับ กสทช.ในการจัดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

วัตถุประสงค์ของประเภทกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (เอกสาร 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

หลักการกำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา. จัดทำโดย กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. (เอกสาร 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

ขั้นตอนการดำเนินงานเมื่อประชาชนยื่นคำขอหรือคำร้องเรียนต่อ กสท. (เอกสาร 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

**********

ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2555