โครงการ “การพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.)
รุ่นที่ 2”
*** การอบรมครั้งที่ 1 วันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2558 ณ ห้องบัคคารา โรงแรมตวันนา ถ.สุรวงศ์ กทม.
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการอบรม
- ภญ.วีรยา ถาอุปชิต – สสจ.ขอนแก่น จ.ขอนแก่น
- ภญ.ทรัพย์พาณิชย์ พลาบัญช์ – สสจ.ร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด
- ภก.พัชรมณฑน์ พัชรยุทธิ – รพ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
- ภญ.ขวัญเนตร ศรีเสมอ – รพ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
- ภญ.ยุพิน ศรีสุพรรณ – รพ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
- ภญ.เพ็ญนภา ประภาวัต – รพ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
- ภก.ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร – รพ.พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร จ.สกลนคร
- ภก.วสันต์ มีคุณ – รพ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
- ภก.ภัทรพงศ์ แสนอุบล – รพ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
- ภก.วิษณุ ยิ่งยอด – รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างดินแดน จ.สกลนคร
- ภก.เอกรินทร์ วริทธิกร – สสจ.ภูเก็ต จ.ภูเก็ต
- ภญ.พชรณัฐฏ์ ชยณัฐพงศ์ – รพ.พรหมคิรี จ.นครศรีธรรมราช
- ภญ.ณหทัย ขันตีสา – รพ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
- ภญ.รุจิรา ปัญญา – รพ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
- ภญ.สุวิดา อินถาก้อน – รพ.พาน จ.เชียงราย
- นายอิทธิกร พวงท้าว – รพ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีษะเกษ
- ภญ.รุ่งนภา กงวงษ์ – รพ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
- ภญ.เสาวนีย์ แสนคาร – สสจ.ยโสธร จ.ยโสธร
- นส.ปราญชลี ศรีศฤงคาร – รพ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
- ภญ.รัชนก สิทธิโชติวงศ์ – รพ.สุรินทร์ จ.สุรินทร์
- ภญ.อัจฉรา ไชยธรรม – รพ.เวียงสา จ.น่าน
- ภญ.อัญชลินทร์ พรสินธุเศรษฐ – สสจ.อำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ
- ภก.อิ่นแก้ว สิงห์แก้ว- รพร.เชียงของ จังหวัดเชียงราย
- ภก.ศิวาวุธ มงคล – ร้านยาบ้าน ณ ยา จังหวัดระยอง
- ภก.เมฆินทร์ คุณแขวน – รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
- ภญ.อรพรรณ บุษบงก์ – รพ.เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ภญ.อารีย์ พิมพ์ดี – รพ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
เอกสารเพื่อศึกษาก่อนเข้าร่วมอบรม
1. วารสารยาวิพากษ์ เลือกอ่านฉบับที่สนใจอย่างน้อย 6 ฉบับ
2. รายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี 2552, 2553, 2554 จัดทำโดย กพย. (คลิกที่รูป)
3. สิทธิบัตรยา เล่ห์อุบายการผูกขาด เรียบเรียงโดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
4. อย่าปล่อยให้สเตียรอยด์ลอยนวล
5. ทุกข์ล้นเหลือเหยื่อโฆษณา
6. ปฏิบัติการมัดไม้ซีกไปงัดไม้ซุง
ภาพยนตร์ที่น่าสนใจและแนะนำให้ผู้เข้าอบรมหามาดู
- Dying for Drugs
- Dallas Buyers Club (ประเด็นการเข้าถึงยาในผู้ติดเชื้อ)
- Side effect
- Off label
- Love & other drugs (ประเด็นจริยธรรม ส่งเสริมการขายยา)
- สายน้ำติดเชื้อ (ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ)
- ปู่สมบูรณ์ (ประเด็นการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน)
โครงการ “การพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.)
รุ่นที่ 2”
หลักการและเหตุผล
ในการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (ระยะ ที่ 1) และแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา(ระยะที่ 2) หรือแผนงาน กพย. พบว่าการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้สำเร็จในระดับพื้นที่ และในลักษณะเฉพาะประเด็น แต่ยังไม่สามารถบรรลุการจัดการปัญหาในเชิงระบบ ภาพรวมได้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขาดปัจจัยสำเร็จที่สำคัญคือกำลังคนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง หลักการที่สำคัญในการพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อน ถือว่าเป็นจุดเริ่มการพัฒนา “คน” เพื่อมาเป็น “ผู้นำ” ในการขับเคลื่อนการพัฒนา “งาน” ให้เกิดความเชื่อมต่อการขับเคลื่อนใน “การเฝ้าระวังและจัดการปัญหาในยาเชิงระบบ” ครบวงจร และต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต ผ่านกระบวนการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติงานจริงร่วมกับวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานจริงในการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบยา จึงได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาผู้นำเครือข่ายฯ (นพย.) รุ่นที่ 1 ไปแล้ว ระหว่าง มกราคม 2556 – มกราคม 2557 มีการอบรม ฝึกปฏิบัติและการดำเนินโครงการศึกษาเพื่อเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาในชุมชน ที่มีข้อเสนอแนะเชื่อมโยงไปสู่การจัดการปัญหาเชิงระบบในระดับนโยบาย โดยมีสมัครเข้าอบรม 29 คน และสำเร็จการศึกษาในโครงการจำนวน 19 คน โดยทั้งหมดเป็นเภสัชกรที่ทำงานในภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแผนงานกพย.
ความสำเร็จที่ได้รับในการดำเนินโครงการ นพย. รุ่นที่ 1 นั้น จากการประชุมสรุปถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างทีมพี่เลี้ยงและนพย.รุ่น 1 ที่จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 12- 15 กุมภาพันธ์ 2558 พบว่าผู้ที่ผ่านการอบรมในโครงการมีการพัฒนา ศักยภาพในการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถานการณ์ปัญหาระบบยาเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และจากวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการมองปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น นำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเชิงระบบ โดยที่ นพย.รุ่น 1 ได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหายาในพื้นที่ของตน มีการเชื่อมร้อยและประสานการทำงานกับเครือข่ายต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่ หลายพื้นที่มีโอกาสได้ร่วมประสานงานขับเคลื่อนกับเครือข่ายระดับบน เช่น อย. กสทช เครือข่ายภาคประชาสังคม เกิดเป็นรูปธรรมที่หลากหลายขึ้นในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่สามารถไปถึงการแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ แต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเขยื้อนปัญหาจากชุมชน สู่การพยายามที่จะแก้ไขในระดับนโยบายที่สูงขึ้น
จากความสำเร็จข้างต้น แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ได้เล็งเห็นประโยชน์ในการพัฒนาเครือข่ายผู้นำที่จะมาขับเคลื่อนการทำงานในอนาคต จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำโครงการ นพย. รุ่น 2 ขึ้นเพื่อพัฒนาผู้นำเครือข่ายที่มีศักยภาพตลอดจนสามารถประสานงานกับเครือข่ายต่างๆในทุกระดับ ในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนะบบยา อันจะเป็นการหนุนเสริมความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังระบบยาต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่จำเป็นในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและการจัดการปัญหายาเชิงระบบ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาดูงานการทำงานจริงของผู้นำการขับเคลื่อนและรณรงค์ด้านยาและสุขภาพเพื่อเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจในการทำงาน
ได้พัฒนาความเข้มแข็งด้านภายใน (Inner Growth) เพื่อให้มีความเข้มแข็งและความพร้อมต่อการเป็นผู้นำในการทำงาน ได้ฝึกปฏิบัติการจริงเพื่อเสริมสร้างทักษะในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาและเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาพื้นที่สู่การแก้ไขเชิงระบบในรูปแบบการทำงานแบบเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินการ: มิถุนายน 2558 – สิงหาคม 2559
เป้าหมาย: เพื่อสร้าง “ผู้นำ” นักขับเคลื่อนการพัฒนาระบบยาจากปัญหาพื้นที่สู่การแก้ไขเชิงระบบ จำนวน 30 คน
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
เป็นเภสัชกรที่มีศักยภาพ มีความสนใจและพร้อมจะทุ่มเทต่อการพัฒนาตน(เรียนรู้)
มีความพร้อมที่จะทุ่มเทต่อการพัฒนาตน(เรียนรู้) เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการสร้างเครือข่ายในระดับพื้นที่ เพื่อทำงานเฝ้าระวังและขับเคลื่อนการพัฒนาระบบยาต่อไป
มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับกพย.หรือเครือข่ายต่างๆของ กพย.(เช่น นพย.รุ่นที่1)
การรับสมัคร: ให้เครือข่าย นำเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือก รวมทั้งการสมัครด้วยตนเองของสมาชิกเครือข่าย โดยกรอกรายละเอียดในใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมให้ครบถ้วน
การคัดเลือก: คณะทำงานพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เป็นผู้พิจารณาคัดเลือก ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของผู้สมัครในการทำงานกับเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ด้วย