Medical Advertisements & Sales Promotion
Guide on Advertisements and Sales Promotion of Medicinal Products (1 December 2010) File Size: (292 Kb)
งานวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติ (ครั้งที่ 2)
ภายใต้โครงการ Good Governance in Pharmaceutical Registration, Selection, Inspection, Advertisement and Distribution (Phase III)
วันที่ 30 ตุลาคม 2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
โครงการศึกษารูปแบบการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติวันที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ ถ.รองเมือง กรุงเทพฯ
(ยังไม่หมด กำลังรอคัดเลือกอีกราว 100 ข่าวครับ)
การส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมและการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล ส่งผลให้เกิดปัญหาการบริโภคยาเกินจำเป็น บริโภคยาราคาแพงเกินควร ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลดังนั้นที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 จึงมีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ต่อมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553 ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวโดยมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วนที่ไม่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจยาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกให้เป็นเกณฑ์กลางของประเทศ รวมถึงศึกษาระบบการนำหลักเกณฑ์จริยธรรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลหรือขยายเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2531 สำหรับประเทศไทยได้มีพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายเภสัชภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยที่ยังไม่เคยประกาศใช้ อย่างไรก็ตามประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายยาปรากฏในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 และต่อมา ได้แก้ไขปรับปรุงเป็นข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ส่วนสภาเภสัชกรรมได้กำหนดข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมใน พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2538 แต่มิได้มีประเด็นจริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขาย
ต่อมา คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และบริษัทยา ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 แต่มิได้มีการบังคับใช้เนื่องจากคณะกรรมการแห่งชาติด้านยาหมดวาระลงตามการสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติซึ่งแต่งตั้งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2551 ได้จัดทำนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2555 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555 – 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2554 โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้นว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม เพื่อจัดทำเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาขึ้น ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2555
แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายวิชาการและภาคประชาชน โดยมีบทบาทในการสนับสนุนการจัดทำเกณฑ์จริยธรรมฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตั้งแต่การนำเสนอเข้าสู่กระบวนการของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 จนกระทั่งพัฒนาเกณฑ์จริยธรรมฯ ดังกล่าวเสร็จสิ้นและพร้อมสนับสนุนในการขับเคลื่อนการนำเกณฑ์จริยธรรมฯ ไปประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลต่อไป
รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพาราเซตามอล
ประเทศไทย
สถานะทางกฎหมายของพาราเซตามอล (paracetamol)
สหรัฐอเมริกา
สหราชอาณาจักร