การประชุมและเสวนาเรื่อง “ดูแลไตอย่างไรให้มีสุขภาพดี: เมื่อต้องใช้ยา”

การประชุมและเสวนาเรื่อง “ดูแลไตอย่างไรให้มีสุขภาพดี: เมื่อต้องใช้ยา”

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น.

ณ ห้อง 317 (จั๊คส์ อัมโยต์) ชั้น 4 สถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

ถอดบทเรียน นพย. นักรบแนวหน้า: ผู้นำการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในสังคม

ถอดบทเรียน นพย. นักรบแนวหน้า: ผู้นำการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในสังคม

ดาวน์โหลด

จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลงานและบทเรียนการทำงานของ นพย. ซึ่งก็คือผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (ระยะที่ 1) แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา และแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (ระยะที่ 2 และระยะที่ 3) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า แผนงาน กพย. โดยดำเนินงานร่วมกับ ชมรมเภสัชชนบท ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพ 2565

วันที่ 18-24 พฤศจิกายน ของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็น World Antimicrobial Awareness Week (สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก) โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม Prevent Antimicrobial Resistant Together (ร่วมกันป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ … บทบาทของทุกคน) และสโลแกน: Antimicrobial: Handle with Care (ยาต้านจุลชีพ: ใช้อย่างระมัดระวัง)

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ขอเชิญทุกท่านทั้งในนามส่วนตัวและในนามองค์กร ร่วมรณรงค์ “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพ 2565” ในระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2565

ร่วมรณรงค์ด้วยการถือป้ายข้อความ “ร่วมกันป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ …บทบาทของทุกคน” ถ่ายรูปเดี่ยวหรือกลุ่มแล้วโพสต์บนช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ

Read More

หลากมุมมอง “ปลดล็อกกัญชา” หลัง 9 มิ.ย. 65 : สังคมไทยจะไปทางไหนต่อ?

การประชุมวิชาการ หลากมุมมอง “ปลดล็อกกัญชา” หลัง 9 มิ.ย. 65 : สังคมไทยจะไปทางไหนต่อ?

จัดในรูปแบบการประชุมออนไลน์ วันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00-12.30 น.

Read More

การประชุม “ภาคีวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 4 ภาค”

การประชุม “ภาคีวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 4 ภาค

จัดในรูปแบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-16.00 น.

Read More

สื่อวิดีโอชุด สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย 2563

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย เนื่องในโอกาส “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2563” ระหว่างวันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2563

Read More

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

จากที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมฯ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563 องค์กรภาคประชาสังคม 12 องค์กรได้ส่งจดหมายถึงกรมฯ แสดงความคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 นั้น

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จุฬาฯ กล่าวว่า ค่อนข้างกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ครั้งนี้ เพราะเนื้อหาจะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ทำให้ไม่สามารถพัฒนายาที่หมดอายุสิทธิบัตรได้ เนื่องจากยาเหล่านั้นจะถูกคำขอสิทธิบัตรอีกหลายฉบับลากอายุความคุ้มครองผูกขาดออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางยาและการเข้าถึงยาของประชาชน และทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ทั้งนี้ ผู้จัดการ กพย.ตั้งข้อสังเกตว่า สาระที่แก้ไขหลายเรื่องเป็นข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ (ทริปสฺพลัส) ที่เคยถูกเสนอมาในการเจรจาเอฟทีเอต่างๆ

Read More

ISIUM BANGKOK 2020

People Improving the Use of Medicines: What We Know and Don’t Know January 26 – 28, 2020
Mandarin Hotel Bangkok, Thailand

การประชุมวิชาการนานาชาติ ISIUM 2020 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-28 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน ถ.พระราม 4 กรุงเทพฯ


ยื่นริเริ่มการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน


26 ธันวาคม 2562 – เครือข่ายวิชาการและภาคประชาสังคมด้านพืชยา กัญชา กระท่อม นำเสนอ “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน”เปลี่ยนสถานะกัญชา กระท่อมจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็น “พืชยา” เพื่อให้ผู้ป่วย ประชาชน เข้าถึงการใช้พืชยา กัญชา กระท่อม ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย และมีระบบควบคุมกันเองโดยชุมชน สอดคล้องกับวิถีการแพทย์พื้นบ้าน และวัฒนธรรมชุมชน โดยไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายอย่างในปัจจุบันเตรียมล่า 10,000 รายชื่อ เสนอต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้

Read More