การเปิดตัวหนังสือ เขย่าสังคมด้วย”ปัญหายา”: พลิกประวัติศาสตร์ 4 ทศวรรษ “กลุ่มศึกษาปัญหายา” (กศย.) 

 

ารเปิดตัวหนังสือ เขย่าสังคมด้วย”ปัญหายา”: พลิกประวัติศาสตร์ 4 ทศวรรษ “กลุ่มศึกษาปัญหายา” (กศย.) จัดขึ้นในวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 13.00-15.00 น. ณ อาคารจามจุรีสแควร์

 

Read More

เภสัช นพย. ให้ความรู้ด้านยาในรายการ “เปิดโลกความรู้”

ฟังย้อนหลัง เภสัช นพย. ให้ความรู้ด้านยาในรายการ “เปิดโลกความรู้” ทางสถานีวิทยุ ททบ. FM 94.0 MHz ครบทั้ง 8 ตอน ได้ที่ Youtube กพย.

https://goo.gl/N9upHk

Read More

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 36: กระท่อม กัญชา จากพืชเสพติด สู่ยารักษาโรคและความมั่นคงทางยา

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 36: กระท่อม กัญชา จากพืชเสพติด สู่ยารักษาโรคและความมั่นคงทางยา
ยาวิพากษ์ฉบับที่ 36: กระท่อม กัญชา จากพืชเสพติด สู่ยารักษาโรคและความมั่นคงทางยา

ดาวน์โหลด

(หากดาวน์โหลดไม่ได้ ให้คลิกขวา แล้วเลือก Save link as…)

Read More

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 35: การใช้ยาอย่างสมเหตุผล: นโยบายและโครงสร้าง การจัดการสู่สัมฤทธิผล

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 35: การใช้ยาอย่างสมเหตุผล: นโยบายและโครงสร้าง การจัดการสู่สัมฤทธิผล
ยาวิพากษ์ฉบับที่ 35: การใช้ยาอย่างสมเหตุผล: นโยบายและโครงสร้าง การจัดการสู่สัมฤทธิผล

ดาวน์โหลด

(หากดาวน์โหลดไม่ได้ ให้คลิกขวา แล้วเลือก Save link as…)

Read More

พบไซบูทรามีนผสมในอาหารเสริมเกลื่อน ทำหัวใจวาย-อาการทางจิต จี้ อย. จัดการ

 

ไซบูทรามีนสุดอันตราย พบยกเลิกทะเบียนไปแล้ว แต่เจอผสมในอาหารเสริมขายเกลื่อน แพทย์-เภสัช ชี้ พบเป็นต้นเหตุหัวใจวายเฉียบพลัน อาการทางจิต กพย. จี้ อย. จัดการอุดรูรั่วด่วน

28 มิถุนายน 2561 ที่ศศนิเวศ จุฬาฯ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดการแถลงข่าว  “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวว่า กพย. และภาคี ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องการปนปลอมไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลกระทบต่อผู้ใช้ถึงขั้นพบผู้เสียชีวิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารที่อ้างสรพคุณลดความอ้วน มากกว่า 10 รายในรอบ 6 ปี แม้ภาครัฐจะมีมาตรการออกมา แต่ก็ยังพบการละเมิดกฎหมายต่อเนื่อง จึงร่วมกับภาคีนำเสนอสถานการณ์ในพื้นที่ รูปธรรมการติดตามเฝ้าระวัง และข้อเสนอการปรับระบบในภาพรวม   Read More

การแถลงข่าว “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า”

การแถลงข่าว “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า
วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุม Dipak C. Jain อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเด็น

  • สถานการณ์การระบาดของผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนไซบูทรามีนในพื้นที่
    โดย ภก.วสันต์ มีคุณ – โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร, ชมรมเภสัชชนบท
  • ผลทดสอบ “ไซบูทรามีน – ฟลูออกซิทีน” ในอาหารเสริมลดน้ำหนักที่สั่งซื้อจากห้างออนไลน์
    โดย สถาพร อารักษ์วทนะ – มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)
  • การเฝ้าระวังการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
    โดย ภก.จัตุพล กันทะมูล – โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง
  • ผลทางเภสัชวิทยาของไซบูทรามีนและกรณีศึกษาที่พบทางจิตเวช
    โดย อ.ภก.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา – คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • พิษวิทยาของไซบูทรามีน และรายงานการเกิดปัญหาที่มายังศูนย์พิษวิทยา
    โดย ศ.นพ.วินัย วนานุกูล – คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัญหาข้อกฎหมาย กับการจัดการไซบูทรามีน
    โดย ภก.จิระ วิภาสวงศ์ – ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย
  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อระบบการจัดการ
    โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี – ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา

ดำเนินรายการโดย ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข – ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา


 

การประชุมโต๊ะกลม “ความร่วมมือในการควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณาเพื่อความยั่งยืนในการคุ้มครองผู้บริโภค”

 

การประชุมโต๊ะกลม เรื่อง ความร่วมมือในการควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณา เพื่อความยั่งยืนในการคุ้มครองผู้บริโภค

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2561 เวลา 8.30-13.30 น. ณ ห้องประชุมสารนิเทศ (ชั้น 2) หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

แนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจคำขอสิทธิบัตรเข้มเพื่อสกัด Evergreening Patent

 

วงเสวนาแนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้ “คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรยา” อย่างเข้มข้น – นำคำวินิจฉัยศาลเป็นแนวทางพิจารณาคำขอสิทธิบัตร เพื่อลดจำนวนคำขอที่มีลักษณะเป็น Evergreening Patent ด้านบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญหวังให้มีการพัฒนาระบบสืบค้นสิทธิบัตรรวมทั้งมีระบบให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสิทธิบัตร

วันที่ 17 พ.ค. 2561 ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้จัดเสวนาวิชาการ “กว่าจะได้ชัยชนะ: การเพิกถอนสิทธิบัตรยาในประเทศไทย” ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเนื้อหาการเสวนาได้กล่าวถึงบทเรียนจากการต่อสู้ในคดีสิทธิบัตรยาระหว่างบริษัทยาต้นแบบและบริษัทผู้ผลิตยาสามัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการให้สิทธิบัตรยาในประเทศไทย

Read More

ข้อเท็จจริงทางวิชาการในการควบคุมสารเคมีอันตราย : พาราควอต (Paraquat) ไกลโฟเซต (Glyphosate) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)

 

ดาวน์โหลดเอกสาร สมุดปกขาว : ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม – พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต

ประชาคมวิชาการเรียกร้องให้มีการใช้ข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ชัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพาราควอตที่มีพิษเฉียบพลันสูงต่อมนุษย์ และมีผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพ เช่น ก่อโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม แม้ใส่อุปกรณ์ป้องกันยังสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังรวมทั้งบาดแผล แล้วซึมเข้าร่างกายจนเกิดอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังพบตกค้างในอาหาร สิ่งแวดล้อมและมนุษย์จากการวิจัยของหลายสถาบัน จึงออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่สังคมและสนับสนุนมติให้ยกเลิกพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

Read More