การประชุมและเสวนาเรื่อง “ดูแลไตอย่างไรให้มีสุขภาพดี: เมื่อต้องใช้ยา”
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้อง 317 (จั๊คส์ อัมโยต์) ชั้น 4 สถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Read Moreข่าวความเคลื่อนไหวสถานการณ์ระบบยา
การประชุมและเสวนาเรื่อง “ดูแลไตอย่างไรให้มีสุขภาพดี: เมื่อต้องใช้ยา”
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้อง 317 (จั๊คส์ อัมโยต์) ชั้น 4 สถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Read More26 ธันวาคม 2562 – เครือข่ายวิชาการและภาคประชาสังคมด้านพืชยา กัญชา กระท่อม นำเสนอ “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน”เปลี่ยนสถานะกัญชา กระท่อมจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็น “พืชยา” เพื่อให้ผู้ป่วย ประชาชน เข้าถึงการใช้พืชยา กัญชา กระท่อม ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย และมีระบบควบคุมกันเองโดยชุมชน สอดคล้องกับวิถีการแพทย์พื้นบ้าน และวัฒนธรรมชุมชน โดยไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายอย่างในปัจจุบันเตรียมล่า 10,000 รายชื่อ เสนอต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้
Read Moreสำนักข่าวไทย นำเสนอข้อมูลการลักลอบผสมสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาลดความอ้วน รวมถึงปัญหาการลักลอบนำเข้าผ่านทางชายแดน ในสกู๊ป “ภัยยาลดน้ำหนัก อาหารเสริมมรณะ” จำนวน 3 ตอน โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นการสัมภาษณ์ผู้จัดการ กพย. และเภสัชกรในเครือข่าย นพย.
Read Moreเครือข่ายนักวิชาการ-ภาคประชาสังคม เสนอ “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน” หนุนผู้ป่วย แพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้เต็มที่ เสนอถอดกัญชา กระท่อมจากยาเสพติดประเภท 5 แต่มีสถานะเป็น “พืชยา” ถูกควบคุมเฉพาะ เตรียมรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน
วันที่ 24 สิงหาคม 2562 ที่ห้องประชุม Dipak C. Jain อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายวิชาการและภาคประชาสังคมด้านพืชยา กัญชา กระท่อม จัดแถลงข่าว “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน” จัดโดย มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กพย.) และมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
Read More30 มีนาคม 2562 ที่ ห้องยุคลธร โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดงานพิธีมอบรางวัลการประกวด “เต้น ต่อ ต้าน” เพื่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
Read More
ไซบูทรามีนสุดอันตราย พบยกเลิกทะเบียนไปแล้ว แต่เจอผสมในอาหารเสริมขายเกลื่อน แพทย์-เภสัช ชี้ พบเป็นต้นเหตุหัวใจวายเฉียบพลัน อาการทางจิต กพย. จี้ อย. จัดการอุดรูรั่วด่วน
28 มิถุนายน 2561 ที่ศศนิเวศ จุฬาฯ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดการแถลงข่าว “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า”
ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวว่า กพย. และภาคี ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องการปนปลอมไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลกระทบต่อผู้ใช้ถึงขั้นพบผู้เสียชีวิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารที่อ้างสรพคุณลดความอ้วน มากกว่า 10 รายในรอบ 6 ปี แม้ภาครัฐจะมีมาตรการออกมา แต่ก็ยังพบการละเมิดกฎหมายต่อเนื่อง จึงร่วมกับภาคีนำเสนอสถานการณ์ในพื้นที่ รูปธรรมการติดตามเฝ้าระวัง และข้อเสนอการปรับระบบในภาพรวม Read More
แถลงข่าวหลังฟังคำพิพากษาของคดี Abbott ที่ฟ้องเมื่อ 9 ปีที่แล้ว 25 สิงหาคม 2551
โพสต์โดย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ บน 12 ตุลาคม 2017
โพสต์โดย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ บน 12 ตุลาคม 2017
แถลงข่าวหลังฟังคำพิพากษาของคดี Abbott ที่ฟ้องเมื่อ 9 ปีที่แล้ว (25 สิงหาคม 2551)
กรณีบริษัทยาข้ามชาติต่อต้านนโยบายรัฐในการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิ (ซีแอล) เพื่อรักษาชีวิตผู้ติดเชื้อ HIV
ซัด พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไร้ความชัดเจน-ระบบไม่รองรับ ต้นเหตุจัดซื้อยาทั้งระบบวุ่น เภสัชฯ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ เสนอ ปลดล็อกกฎหมาย ชงนายกฯ ใช้อำนาจพิเศษแก้ปัญหา ด้านกรุ๊ปไลน์เภสัชกร รพ.รัฐ เผยมีปัญหาจัดซื้อยา รพ.ป่วนมียาไม่พอให้ผู้ป่วยใช้
UNDP ยก สปสช.ตัวอย่างในการจัดซื้อจัดจ้างรวมที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการครบตามหลักการสากล ระบุ เดิมทำมาดีอยู่แล้ว แต่ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่ เชื่อ การเปลี่ยนแปลงระบบจำเป็นต้องใช้เวลา 1-2 ปี
เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2560 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับแผนงานเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดการเสวนาวิชาการและสนทนากลุ่มเรื่องผลกระทบของนโยบายการจัดซื้อยาฉบับใหม่และกลไกสนับสนุนการเข้าถึงยาของประชาชนไทย ณ Growth Café’ & Co. ชั้น 3 ลิโด้ สยามสแควร์
“Antibiotic Awareness Day” ปัญหาเชื้อดื้อยาเรื่องใหญ่ที่สังคมไทยยังไม่รับรู้
วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวัน Antibiotic Awareness Day เนื่องจากมีปัญหาการใช้ยาต้านแบคทีเรียจนเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาทั่วโลก ถึงขั้นต้องมีการกำหนดวันขึ้นเพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ว่า “เกิดปัญหาการเสียชีวิตจากติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย”
87 ปีก่อนหรือปี 2471 เซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมิ่ง ค้นพบยาเพนนิซิลิน ยาต้านแบคทีเรียชนิดแรกของโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจัดเป็นโรคที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมนุษย์และยังไม่มียารักษาเฉพาะ ยาต้านแบคทีเรียเพนนิซิลิน จึงถือเป็นยาวิเศษในยุคนั้นที่สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้มากมายในเวลานั้น แต่ยาดังกล่าวก็ใช้ได้ผลดีอยู่เพียง 5 ปี เพราะหลังจากนั้น ตัวเชื้อแบคทีเรียเองก็พัฒนาตัวเองหรือกลายพันธุ์เพื่อรับมือกับเพนนิซิลินเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยังเป็นเรื่องโชคดีว่า ณ เวลานั้นวิทยาศาสตร์กำลังก้าวหน้าขึ้นทุกขณะ จึงมีการวิจัยและผลิตยาต้านแบคทีเรียขึ้นเป็นจำนวนมากที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด จนมีความเชื่อว่ามนุษย์เดินมาถึงยุคที่สามารถควบคุมโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียได้หมด Read More