เสวนาวิชาการ ระบบสิทธิบัตร “เอื้อ” หรือ “ขัดขวาง”การเข้าถึงยา กรณียาฟาวิพิราเวีย

เสวนาวิชาการ ระบบสิทธิบัตร “เอื้อ” หรือ “ขัดขวาง” การเข้าถึงยา: กรณียาฟาวิพิราเวีย
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น.
จัดโดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา และเครือข่าย

Read More

การแถลงข่าว “พร้อมแล้วจริงหรือ? กนศ. ประชุมตัดสินใจ 7 เมษา 64 เสนอรัฐบาลเข้าร่วม CPTPP”

การแถลงข่าว “พร้อมแล้วจริงหรือ? กนศ. ประชุมตัดสินใจ 7 เมษา 64 เสนอรัฐบาลเข้าร่วม CPTPP”

วันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผู้ร่วมแถลง

  • วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI)
  • เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
  • คำรณ ชูเดชา เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา
  • กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เอฟทีเอ ว็อทช์

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

จากที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมฯ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563 องค์กรภาคประชาสังคม 12 องค์กรได้ส่งจดหมายถึงกรมฯ แสดงความคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 นั้น

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จุฬาฯ กล่าวว่า ค่อนข้างกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ครั้งนี้ เพราะเนื้อหาจะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ทำให้ไม่สามารถพัฒนายาที่หมดอายุสิทธิบัตรได้ เนื่องจากยาเหล่านั้นจะถูกคำขอสิทธิบัตรอีกหลายฉบับลากอายุความคุ้มครองผูกขาดออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางยาและการเข้าถึงยาของประชาชน และทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ทั้งนี้ ผู้จัดการ กพย.ตั้งข้อสังเกตว่า สาระที่แก้ไขหลายเรื่องเป็นข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ (ทริปสฺพลัส) ที่เคยถูกเสนอมาในการเจรจาเอฟทีเอต่างๆ

Read More

LPV/r และ Oseltamivir ยารักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่: กรณีศึกษาพัฒนาคุณภาพระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเข้าถึงยา


การแถลงข่าว LPV/r และ Oseltamivir ยารักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่:
กรณีศึกษาพัฒนาคุณภาพระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเข้าถึงยา

ห้องประชุมสภาเภสัชกรรม ชั้น 10 อาคารที่ทำการสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เวลา 12.30-13.30 น. วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563

แถลงการณ์ร่วมโดย          

  • สภาเภสัชกรรม
  • ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
  • มูลนิธิเข้าถึงเอดส์เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
  • เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการเข้าถึงยา
  • กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

รายชื่อผู้แถลงข่าว

  1. รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม
  2. รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
  4. นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
  5. น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch

บทเรียนระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเข้าถึงยา ที่ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้ยาโลพินาเวียร์/ลิโทนาเวียร์ (lopinavir/ritonavir (LPV/r)) และยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยารักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในราคาที่ระบบประกันสุขภาพสามารถรองรับได้ ในขณะที่ยา LPV/r บางตำรับยังติดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ ทำให้ยามีราคาแพงและยากต่อการเข้าถึง

Read More

7 คำขอรับสิทธิบัตรกัญชาที่เหลือยกทิ้งได้ทันทีหากกรมทรัพย์สินทางปัญญาทำหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

การแถลงข่าว “สิทธิบัตรกัญชา: ยอดภูเขาน้ำแข็งปัญหาการให้สิทธิบัตรยาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

โดยคณะนักวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการเข้าถึงยา ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)

– รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
– กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
– เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล

ดำเนินรายการโดย นิมิตร์ เทียนอุดม


คำขอรับสิทธิบัตรกัญชาที่เหลือ ยกทิ้งได้ทันที หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาทำหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

 

 

ดาวน์โหลดเอกสารคำขอสิทธิบัตรกัญชา 

 

ประเด็นที่ 1 ฐานข้อมูลสิทธิบัตร 0.4

คำขอรับสิทธิบัตรสารสกัดจากกัญชาและการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค เท่าที่นักวิชาการที่ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาสามารถค้นพบได้มี 12 คำขอ ขณะเดียวกันจากข้อมูลของการแถลงข่าวของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ระบุว่ามีมากถึง 31 คำขอ และยังมีข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ในจำนวนคำขอที่แตกต่างกันไป เช่น บทความของบริษัท Tilleke & Gibbins ระบุว่ามีคำ 39 คำขอที่ประกาศโฆษณาแล้วและอยู่ระหว่างตรวจสอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญา แสดงให้เห็นว่าฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญามีปัญหาในการสืบค้น ทำให้ได้ข้อมูลจำนวนคำขอที่แตกต่างกันและไม่ครบถ้วนทั้งหมดได้

ประเด็นที่ 2 การละเลยกฎหมาย ไม่ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรอย่างเคร่งครัด

Read More

แนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจคำขอสิทธิบัตรเข้มเพื่อสกัด Evergreening Patent

 

วงเสวนาแนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้ “คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรยา” อย่างเข้มข้น – นำคำวินิจฉัยศาลเป็นแนวทางพิจารณาคำขอสิทธิบัตร เพื่อลดจำนวนคำขอที่มีลักษณะเป็น Evergreening Patent ด้านบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญหวังให้มีการพัฒนาระบบสืบค้นสิทธิบัตรรวมทั้งมีระบบให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสิทธิบัตร

วันที่ 17 พ.ค. 2561 ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้จัดเสวนาวิชาการ “กว่าจะได้ชัยชนะ: การเพิกถอนสิทธิบัตรยาในประเทศไทย” ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเนื้อหาการเสวนาได้กล่าวถึงบทเรียนจากการต่อสู้ในคดีสิทธิบัตรยาระหว่างบริษัทยาต้นแบบและบริษัทผู้ผลิตยาสามัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการให้สิทธิบัตรยาในประเทศไทย

Read More

แถลงข่าวหลังฟังคำพิพากษาของคดี Abbott ที่ฟ้องเมื่อ 9 ปีที่แล้ว

แถลงข่าวหลังฟังคำพิพากษาของคดี Abbott ที่ฟ้องเมื่อ 9 ปีที่แล้ว 25 สิงหาคม 2551

โพสต์โดย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ บน 12 ตุลาคม 2017

โพสต์โดย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ บน 12 ตุลาคม 2017


แถลงข่าวหลังฟังคำพิพากษาของคดี Abbott ที่ฟ้องเมื่อ 9 ปีที่แล้ว (25 สิงหาคม 2551)

กรณีบริษัทยาข้ามชาติต่อต้านนโยบายรัฐในการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิ (ซีแอล) เพื่อรักษาชีวิตผู้ติดเชื้อ HIV

 

Read More

ทำไมการอนุมัติสิทธิบัตรในประเทศไทยใช้เวลานาน : พฤติกรรมบริษัทยาข้ามชาติและช่องว่างทางกฎหมาย

อุษาวดี สุตะภักดิ์
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

การอนุมัติสิทธิบัตรที่ล่าช้าของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ทางยานั้น เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานและกลายเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่มีการหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการขอขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปเกินกว่าระยะเวลา 20 ปีในเวทีความตกลงเปิดเสรีทางการค้า หรือ FTA สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาสิทธิบัตรนั้น ในฝั่งของผู้ยื่นขอรับสิทธิบัตรมองว่าเป็นปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอที่จะดำเนินการกับคำขอรับสิทธิบัตรที่มีจำนวนมหาศาล[1] รวมถึงความเชี่ยวชาญของตัวผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเอง ทำให้มีบางคำขอรับสิทธิบัตรที่มีระยะเวลาการดำเนินการมาแล้วถึง 19 ปี โดยที่ยังไม่บทสรุปใดๆต่อคำขอรับสิทธิบัตรนั้น

Read More

คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยา: ก้าวแรกของการพัฒนาระบบสิทธิบัตรที่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

อุษาวดี สุตะภักดิ์
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

ปัญหาการอนุมัติสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยาที่มีลักษณะไม่มีวันสิ้นสุดหรือ evergreening patent เป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งต่อการเข้าถึงยาของผู้บริโภค เนื่องจากสิทธิบัตรแบบ evergreening ทำให้ผู้ผลิตยาข้ามชาติสามารถยืดอายุการผูกขาดสิทธิครอบครองสิ่งประดิษฐ์ของตนออกไปเกินกว่าระยะ 20 ปีแม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการประดิษฐ์จากสิ่งประดิษฐ์เดิมเพียงเล็กน้อย การยืดอายุสิทธิบัตรนำมาซึ่งผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของบริษัทยาข้ามชาติ เพิ่มอำนาจครอบครองตลาดและเพิ่มความจงรักภักดีหรือ loyalty ต่อยาและองค์กรของตน ในขณะที่ผู้ผลิตยาชื่อสามัญภายในประเทศไม่สามารถที่จะผลิตยาดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศได้ สถานการณ์สิทธิบัตรยาแบบ evergreening ในประเทศไทยก็ไม่แตกต่างจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วไป มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่าในประเทศไทยมีคำขอรับสิทธิบัตรยาที่มีลักษณะเป็น evergreening patent มากถึงกว่า 85% ความรุนแรงดังกล่าวเป็นที่มาของความพยายามของนักวิชาการและนักพัฒนาเอกชนที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาแนวทางการตรวจสอบสิ่งประดิษฐ์ทางยาเพื่อป้องกันการอนุมัติสิทธิบัตรให้แก่สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตร1  โดยอ้างอิงแนวทางการตรวจสอบสิทธิบัตรของ ICTSD-WHO-UNDP-UNCTAD2

Read More

เอกสารชี้แจง เหตุใดจึงจำเป็นต้องกำหนดให้ยื่นโครงสร้างราคายาและข้อมูลสถานะสิทธิบัตร ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยา


1. มาตราในร่าง พรบ.ยา ฉบับกระทรวงสาธารณสุข (27 ต.ค. 2557) และฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 1017/2557) ที่กระทรวงพาณิชย์ และ บรรษัทยาข้ามชาติต้องการตัดทิ้ง

มาตรา 48 การขอขึ้นทะเบียนตำรับยาตามมาตรา 46 ต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(10) ข้อมูลสิทธิบัตร ในกรณีเป็นยาที่ได้รับสิทธิบัตรตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร หรือข้อมูลสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในกรณีเป็นยาแผนไทยที่ได้จดทะเบียนสิทธิ ในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยประเภทตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

(11) ข้อมูลโครงสร้างราคายา ในกรณีเป็นยาที่ได้รับสิทธิบัตรตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องประกาศกำหนด

มาตรา 49 ห้ามผู้อนุญาตรับขึ้นทะเบียนตำรับยาเมื่อเห็นว่า

(5) ยาที่ขอขึ้นทะเบียนตำรับยามีสิทธิบัตรตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรที่มี โครงสร้างราคายาไม่เหมาะสมหรือไม่คุ้มค่า

Read More