ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กรจับมือสหภาพองค์การเภสัชฯ จี้กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวง ตามพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สร้างความมั่นคงระบบยา

(กรุงเทพฯ/25 ม.ค.60)

ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ…. ไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กรได้เคยท้วงติงว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีมาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ธุรกิจชุมชน ธุรกิจขนาดเล็กอย่างเพียงพอ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งด้านยาและสุขภาพของประเทศไทยได้ วันนี้ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 13 องค์กรได้ร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม เรียกร้องให้กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลางออกกฎกระทรวงเพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว

Read More

กิจกรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2559”

กิจกรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2559” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กิจกรรมที่น่าสนใจในงานประกอบด้วยการแสดงละครหุ่น “Fishy Clouds” การเสวนาเด็ก การนำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กที่ได้ผลกระทบจากการติดเชื้อดื้อยา และการแแถลงข่าวกิจกรรม และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน มีกิจกรรมรณรงค์ที่โถงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ รพ.รามาธิบดี

Read More

เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ

การแถลงข่าว เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 9.00 – 11.00 น.
ณ ห้อง
Dipak C. Jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมจัดโดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชมรมเภสัชชนบท

โปสเตอร์การแถลงข่าว “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ”

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชมรมเภสัชชนบท คณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้ป่วยจัดแถลงข่าว “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนภัยปัญหายาที่มีพิษต่อตับ ตลอดจนการผลักดันข้อเสนอสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดการจัดการปัญหายาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในครั้งนี้ได้แถลงข่าวยาที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ พาราเซตามอล (paracetamol) และคีโตโคนาโซล (ketoconazole)

Read More

ไบโอไทยจับมือเครือข่ายวิชาการ ยกหลักฐานโต้ พณ.ญี่ปุ่นยื่นขอสิทธิบัตรกระท่อมทั่วโลกรวมไทย

การแถลงข่าว “สิทธิบัตรกระท่อม : วิเคราะห์ผลกระทบและข้อเสนอทางนโยบาย”
วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 13.00 -14.30 น. ณ ห้องประชุม Peridot 3 โรงแรมริชมอนด์ ถนนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี

จัดโดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี

  • วิเคราะห์เนื้อหาการจดสิทธิบัตรและข้อถือสิทธิ์ของญี่ปุ่นโดยละเอียด
  • ความสำคัญของกระท่อมในการแพทย์พื้นบ้าน
  • ผลกระทบของสิทธิบัตรกระท่อมต่อการพัฒนาการใช้ประโยชน์กระท่อมในอนาคต
  • เปิดเผยหลักฐานการยื่นขอจดสิทธิบัตรกระท่อมในประเทศไทยและทั่วโลก
  • ข้อเสนอทางออกเฉพาะหน้าและระยะยาว

Read More

เปิดบัญชียายอดแย่ที่ควรถอดออกจากประเทศไทย

ดาวน์โหลดรายการยาต้านแบคทีเรียไม่เหมาะสมที่ควรถอนทะเบียน

เตือนประชาชนระวังตำรับยาต้านแบคทีเรียบางรายการที่ไม่เหมาะสม ใช้ไม่ได้ผล เสี่ยงสุขภาพ และเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยา เสียชีวิตจากการดื้อยา ส่งผลต่อมูลค่าเศรษฐกิจ  เผย“ยาอม-ยาแก้ท้องเสีย  และยาฝาแฝด ทำให้ชาวบ้านสับสน” มีส่วนผสมของยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น ชี้เด็กกลุ่มเสี่ยงดื้อยาสูงสุด เหตุผู้ปกครองใช้เพื่อการรักษาผิดประเภท ด้านเครือข่ายนักวิชาการเล็งยื่นหนังสือถึง รมว.สธ.แนะ อย.ถอนบัญชียายอดแย่ 

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 ที่ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

Read More

การแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

การแถลงข่าว

“เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ณ ห้อง Dipak C. Jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอภาคประชาชนต่อกา­รจัดการปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา

การเสวนา “สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอภาคประชาชนต่อกา­รจัดการปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา” เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสภาผู้บริโภคแห่­งชาติ ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ณ ห้องกินนรี 2 โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Read More

การแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือกระจิบท้องเสีย: รณรงค์การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล

การแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือกระจิบท้องเสีย: รณรงค์การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล

วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 12.00 – 13.00 น. ณ ห้องกินนรี 2 โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Read More

วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปี “วันรู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย”

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

2015-11-18_antibiotic_awareness_day

“Antibiotic Awareness Day”  ปัญหาเชื้อดื้อยาเรื่องใหญ่ที่สังคมไทยยังไม่รับรู้

วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวัน Antibiotic Awareness Day เนื่องจากมีปัญหาการใช้ยาต้านแบคทีเรียจนเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาทั่วโลก ถึงขั้นต้องมีการกำหนดวันขึ้นเพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ว่า “เกิดปัญหาการเสียชีวิตจากติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย

87 ปีก่อนหรือปี 2471 เซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมิ่ง ค้นพบยาเพนนิซิลิน ยาต้านแบคทีเรียชนิดแรกของโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจัดเป็นโรคที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมนุษย์และยังไม่มียารักษาเฉพาะ ยาต้านแบคทีเรียเพนนิซิลิน จึงถือเป็นยาวิเศษในยุคนั้นที่สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้มากมายในเวลานั้น  แต่ยาดังกล่าวก็ใช้ได้ผลดีอยู่เพียง 5 ปี  เพราะหลังจากนั้น ตัวเชื้อแบคทีเรียเองก็พัฒนาตัวเองหรือกลายพันธุ์เพื่อรับมือกับเพนนิซิลินเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยังเป็นเรื่องโชคดีว่า ณ เวลานั้นวิทยาศาสตร์กำลังก้าวหน้าขึ้นทุกขณะ จึงมีการวิจัยและผลิตยาต้านแบคทีเรียขึ้นเป็นจำนวนมากที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด จนมีความเชื่อว่ามนุษย์เดินมาถึงยุคที่สามารถควบคุมโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียได้หมด Read More

กิจกรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2558”

Print
คลิกที่รูปเพื่อดูแบบความละเอียดสูง

แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงาน “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2558” ในวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ติดตามข่าวสารของกิจกรรมได้ที่เฟซบุ๊ค: Antibiotic Awareness Thailand

Update!

Read More