การแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

การแถลงข่าว

“เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ณ ห้อง Dipak C. Jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นปัญหาร่วมกันของพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ดังจะเห็นได้จากที่มีข่าวผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญและพิสูจน์แล้ว คือ มีการใช้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่เหมาะสมหรือเกินความจำเป็น การมีทะเบียนตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมอยู่อย่างแพร่หลายในชุมชน ทางเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผลซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ แพทย์ เภสัชกร เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเด็ก เป็นต้น ได้ทำการทบทวนรายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศ เพื่อคัดเลือกรายการยาที่สมควรเพิกถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทย ตลอดจนมีการแถลงข่าวเพื่อเตือนภัยต่อผู้ป่วยและผู้บริโภค
จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล กำหนดจัดแถลงข่าวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนมาตรการจัดการยาต้านแบคทีเรียของภาครัฐ ตลอดจนสร้างความตระหนักต่อประชาชน

ผู้ร่วมแถลงข่าว

  1. ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประธานคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
  3. ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี, ประธานคณะทำงานด้านยาปฏิชีวนะ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  5. ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
  6. รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)


 

มีผู้อ่าน 101 คน