เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ

การแถลงข่าว เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 9.00 – 11.00 น.
ณ ห้อง
Dipak C. Jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมจัดโดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชมรมเภสัชชนบท

โปสเตอร์การแถลงข่าว “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ”

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชมรมเภสัชชนบท คณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้ป่วยจัดแถลงข่าว “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนภัยปัญหายาที่มีพิษต่อตับ ตลอดจนการผลักดันข้อเสนอสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดการจัดการปัญหายาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในครั้งนี้ได้แถลงข่าวยาที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ พาราเซตามอล (paracetamol) และคีโตโคนาโซล (ketoconazole)

            ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สสส.เพิ่งรณรงค์เกี่ยวกับการให้ตับมีสุขภาพดี ทาง กพย.ก็เลยทำการรรณรงค์เกี่ยวกับยาที่มีผลต่อโรคตับ การมียาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีการควบคุมที่ดีก็ส่งผลเสียต่อตับได้

โรคตับเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของไทย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เกิดจากโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบ เกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเกิดจากยา  ได้หลายปัจจัย เนื่องมาจากการมีทะเบียนตำรับยาที่ไม่ปลอดภัย เช่น มียาสูตรผสมที่ไม่เหมาะสม ยามีขนาดความแรงที่หลากหลายเกินไป มีฉลากยาที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนในการใช้ยา ทำให้ได้รับปริมาณยาเกินกำหนด จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยต่อสุขภาพประชาชน

ผู้ร่วมแถลงข่าว

ในงานแถลงครั้งนี้ มี ยา 2 กลุ่ม ยาที่มีส่วนผสมของคีโตโคนาโซล (ketoconazole) ชนิดรับประทานใช้เป็นยาต้านเชื้อรา และยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล (paracetamol) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดลดไข้ เนื่องจากยาดังกล่าวหากมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง จะเกิดพิษต่อตับ มีผลร้ายแรงเรื้อรัง และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ (แต่ก็มียาอื่น ๆ เช่น statins, ยากลุ่ม NSAIDs ยังไม่นำเสนอในครั้งนี้)

สาเหตุที่เลือกยาทั้ง 2 ชนิด เนื่องจาก

  1. พาราเซตามอล มีรายงานเป็นพิษต่อตับทั่วโลก ต่างประเทศมีมาตรการเพื่อความเข้มงวด มีรายงานเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการบริโภคยา
  2. คีโตโคนาโซล มีรายงานเป็นพิษต่อตับทั่วโลก ต่างประเทสก็มีมาตรการควบคุมเช่นกัน บริษัทแม่เท่านั้นที่ยกเลิกทะเบียน แต่บริษัทอื่นในประเทศยังคงขายอยู่ โดยมีถึง 89 ทะเบียนตำรับยา

ต่างประเทศมีมาตรการมากมายที่ควรคำนึง และนำมาพิจารณาโดยด่วน เช่น

กรณียาคีโตโคนาโซล สหรัฐอเมริกา ไม่ได้ห้ามขาย ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ยาในฉลากเพื่อจำกัดการใช้ยา ไม่ควรนำคีโนโคนาโซลเป็นตัวแรกในการรักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อรา ควรใช้สำหรับกรณีเฉพาะเมื่อใช้ยารักษาเชื้อยาตัวอื่นไม่ได้ผลแล้ว ไม่ให้ใช้คีโตโคนาโซลชนิดรับประทานสำหรับการติดเชื้อที่เล็บหรือผิวหนัง ห้ามใช้ในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ควรติดตามระดับเอนไซม์ของตับ เช่น ALT แคนาดา มีการปรับปรุงข้อมูลยาเพิ่มคำเตือน จำกัด ข้อบ่งใช้ ต้องมีการตรวจการทำงานของตับ สหภาพยุโรป ระงับการขายยาชั่วคราว ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์บริษัทขอยกเลิกทะเบียน สิงโคโปร์ให้ใช้ยานี้เป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาเมื่อไม่มียาใดใช้ได้แล้ว และจะพิจารณาทบทวนเอกสารกำกับยา และสื่อสารสู่บุคลากร ทั้งโดยจดหมายสู่บุคลากรสุขภาพ และระบุในจดหมายข่าวอาการไม่พึงประสงค์ ฮ่องกง คณะกรรมการยาได้ประกาศตัดสินใจยกเลิกทะเบียน (deregister) ตำรับยาคีโตโคนาโซล ชนิดรับประทาน ซึ่งมีทั้งหมด 21 ทะเบียนจาก 17 บริษัท มาเลเซียให้ใช้ได้เฉพาะในโรงพยาบาล

กรณียาพาราเซตามอล มาตรการลดจำนวนเม็ดต่อภาชนะบรรจุ การกำหนดปริมาณของพาราเซตามอลในยาสูตรผสม มีมาตรการด้านฉลาก  เช่น ระบุว่า ยานี้มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ” (“Contains paracetamol”) ห้ามเกิน 4,000 มก ต่อวันในผู้ใหญ่ ใช้ติดต่อกันไม่เกินเวลาที่กำหนด ถ้าแก้ปวด 5 วัน ลดไข้ 3 วัน ยาน้ำสำหรับเด็กต้องกำหนดเครื่องมือให้ยาเด็ก ที่ได้มาตรฐาน

 

            รศ.พญ.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานมูลนิธิรักษ์ตับ และประธานสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตับเป็นอวัยวะสำคัญ เป็นแหล่งสร้างอาหาร ซ่อมแซมร่างกาย ทำลายสารพิษ หากเป็นตับอักเสบ การทำงานของร่างกายบกพร่อง มีการซ่อมแซมผิดพลาด ท้ายที่สุดก็อาจเป็นมะเร็งได้

บางรายกินยาเพื่อประชดรัก เพราะคิดว่ากินแล้วไม่ตาย หรือบางคนไม่รู้ว่าเป็นพิษ เช่น คนที่ปวดฟัน ทันตแพทย์จะให้กินพาราเซตามอลไปก่อนจนกว่าจะหายปวดแล้วค่อยมาถอนฟัน ซึ่งทำให้ได้รับยาเกินขนาดได้ บางรายเป็นไข้กินยาเป็นเดือน บางคนกินยาวันละ 4-5 เม็ดต่อวัน ก็เป็นอันตรายต่อตับได้ บางรายดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วปวดหัว กินยาพาราเซตามอลแก้ปวด ก็ยิ่งทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะกินยาไม่เกินขนาดก็ตาม ส่วนคนที่เป็นโรคตับ แนะนำให้กินยาพาราเซตามอลไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน หรือวันหนึ่งไม่เกิน 4 เม็ด เท่านั้น

ยาพาราเซตามอลเป็นยารักษาตามอาการ ถ้ากินยาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุให้พบ ยาพาราเซตามอลกินแล้วจะต้องถูกทำลายที่ตับโดยกลูตาไธโอน ถ้ามียาพาราเซตามอลมีมากเกินไปก็ทำลายไม่ทัน ทำให้ยาไปจับกับตับโดยตรง ทำให้ตับเป็นพิษ ถ้าแก้ไขไม่ทันก็ตับวายไปก่อน ต้องมีการเปลี่ยนตับ

หากเป็นตับแข็ง ให้ตรวจหามะเร็งตับทุก 6 เดือน

ส่วนคีโตโคนาโซล บางรายเป็นเชื้อราที่ได้รับการรักษากินยาคีโตโคนาโซลไปก่อนเลย ยังไม่อยากให้ใช้เป็นตัวแรก เพราะมียาอื่นที่ใช้ได้ แม้ว่าอาจจะแพงกว่าหน่อยก็ตาม เมื่อใช้เป็นเวลานานก็เกิดปัญหาทำลายตับได้

สมุนไพรบางตัวก็ควรระวังเรื่องตับอักเสบ หากใช้ผิดวิธี เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ขี้เหล็ก เห็ดเผาะ(หากเก็บไม่ถูกวิธีก็พบผู้ป่วยที่กินแล้วตับอักเสบได้)

 

ธนพล ดอกแก้ว ประธานเครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ (Healthy Forum) กล่าวว่า ประชาชนไม่รู้ว่ายาใดมีพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อีกทั้งมักจะมีปัญหากับยาที่หาซื้อได้ง่าย มียี่ห้อจำนวนมาก ส่วนตัวมีประสบการณ์กินยาพาราเซตามอลเป็นประจำ ท้ายที่สุดแล้วค่าเอนไซม์ตับขึ้น ก่อนที่จะไตวาย ต่อไปเป็นสิ่งที่คนจ่ายยาต้องระวังเลยว่าหากไม่ระวังเรื่องการจ่ายยาแล้ว คนเป็นโรคตับจะมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล นอกจากนี้ร้านขายยาบางแห่งก็ไม่มีเภสัชกรคอยซักถามอาการ ประชาชนเองก็ซื้อตามโฆษณา กลุ่มเด็กก็สำคัญ เพราะยาพาราเซตามอลไซรัปรสหวานรับประทานง่าย พ่อแม่เห็นลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลก็กินยาพาราเซตามอลไปก่อน ซึ่งเด็กบางคนอายุแค่ 6 ขวบก็เป็นโรคตับแล้ว

สิ่งที่สำคัญ คือ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องควบคุมปริมาณการผลิต เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง หากผู้ป่วยยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ก็แสดงว่าค่าใช้จ่ายของประเทศเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

 

ภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ ชมรมเภสัชชนบท กล่าวว่า เราพบว่าในร้านชำมักจะมีพาราเซตามอลหลายรูปแบบ พาราเซตามอลยังคงเป็นยาที่ปลอดภัย หากซื้อยาใช้เอง ควรซื้อแค่ยาที่ระบุคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” เท่านั้น แต่ก็พบว่ายาน้ำสำหรับเด็กมีหลายรสชาติมาก เมื่อมาดูก็พบว่ายาเหล่านั้นมีความแรงแตกต่างกัน ประชาชนไม่ได้ดูความแรงของยา แต่ดูจากว่ารสไหนที่เด็กชอบกิน บางยี่ห้อรสหนึ่งอาจเป็นความแรงหนึ่ง แต่ถ้าต่างยี่ห้อรสเดียวกันความแรงก็ต่างกันได้ บางคนก็นึกว่า ขนาดขวดเท่ากัน ความแรงของยาก็ควรจะเท่ากันด้วย แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ ต้องดูฉลากยาให้ดี ยาสำหรับเด็กเล็กบางยี่ห้อมีความแรง 500 มิลลิกรัมต่อช้อนชา ถ้าแม่เด็กคุ้นชินกับการให้ยาลูก 1 ช้อนชา เมื่อให้ยานี้กับเด็กเล็ก 1 ช้อนชาก็ทำให้เด็กได้ยา 500 มิลลิกรัม ซึ่งได้รับยาเกินขนาดได้

ภาษาที่ใช้ในฉลากก็เช่นกัน ฉลากยาบางยี่ห้อไม่มีภาษาไทยกำกับ ชาวบ้านในต่างจังหวัดก็มักจะอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ ฉลากยาก็มีขนาดตัวอักษรที่เล็กมากจนต้องใช้แว่นขยายมาช่วยอ่าน

ยาที่เป็นสูตรผสม เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อที่มีพาราเซตามอลซึ่งได้มาจากโรงพยาบาลแล้ว ประชาชนก็กินยาพาราเซตามอลเพิ่มไปอีก ทำให้ได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดได้

ควรต้องมีการจัดการยาที่ไม่ได้รับการจัดประเภท (ยาเฉย ๆ) ควรจัดประเภทใหม่ เช่น ให้เป็นยาอันตราย

 

รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เพียงแค่ยา 2 ตัวนี้ก็มีปัญหามากแล้ว ยังไม่รวมยาตัวอื่นที่ยังไม่พูดถึง ทำให้ประชาชนต้องหาความรู้เหมือนเป็นหมอเสียเอง บริษัทยาควรมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา เช่น กรณี ketoconazole ชนิดรับประทานนั้น ขอเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตภายในประเทศไทย ถอนทะเบียนตำรับยาชื่อสามัญโดยสมัครใจ ตามแบบอย่างของบริษัทต้นแบบในต่างประเทศซึ่งได้ขอยกเลิกทะเบียนตำรับยาไปเรียบร้อยแล้ว  ทั้งนี้เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภคไทย โดยมิต้องรอขั้นตอนยกเลิกทะเบียนตำรับยาของคณะกรรมการอาหารและยา ในกรณีพาราเซตามอล น่าจะพิจารณาปรับความแรงของยาให้สะดวก และเหมาะสมกับการรับประทานของผู้ป่วยด้วย

การกินยาบางอย่างมีความซับซ้อน เช่น ต้องกินยาตามขนาดน้ำหนักตัว เราจะเห็นว่าในหลายประเทศมีการปรับฉลากยาให้มีปริมาณยาสอดคล้องกับน้ำหนักตัว ในต่างประเทศก็มีการลดปริมาณยาต่อเม็ดลง ยาที่ใช้กับคนต่างประเทศซึ่งมีร่างกายใหญ่โตกว่าเมื่อนำมาใช้กับคนไทยอาจจะต้องปรับปริมาณยาลง

ฉลากยา ควรจะต้องดูได้ง่าย เช่น ความแรงของยาต้องดูตรงนี้ วันหมดอายุของยาต้องดูตรงนี้ ภาครัฐต้องมาดำเนินการอย่างจริงจัง

 

            ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประธานคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว ควรมีมาตรการในภาพรวม ดังนี้ คือ การขึ้นทะเบียนตำรับยา ควรปฏิเสธการขึ้นทะเบียนตำรับยา หากยาไม่มีความเหมาะสม หรือมีแนวโน้มไม่ปลอดภัยในการใช้ยา หน่วยวิชาการ       อย.ต้องมีมาตรการเชิงรุกในการจัดการยาหลังออกสู่ตลาด มิใช่เร่งการขึ้นทะเบียนจนละเลยการทบทวนยา การเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ยาต้นแบบมีการยกเลิกทะเบียนตำรับยาไปแล้ว ยาอื่นซึ่งต่างบริษัทกันควรมีมาตรการยกเลิกทะเบียนหรือภาครัฐต้องมีการเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ผู้รับผิดชอบต้องเพิกถอนทะเบียนยานี้อย่างเร็วที่สุด

กรณียาคีโตโคนาโซล อาจมีบางกรณีที่ไม่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น นำมาใช้กับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนไต ก็ควรนำมาใช้เฉพาะในสถานพยาบาลตติยภูมิเท่านั้น และไม่ควรมีขายในร้านยา เปลี่ยนสถานะของยาเป็นยาควบคุมพิเศษ แต่ต้องระบุข้อบ่งชี้ให้ชัดเจนเลยว่าใช้กับกรณีใดบ้าง

กรณียาพาราเซตามอล ควรยกเลิกทะเบียนไม่เหมาะสม เช่น ชนิดฉีดเข้ากล้าม ยาพาราเซตามอลที่มีส่วนผสมของยาชาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ บางสูตรเป็นสูตรที่มั่ว เช่น พาราเซตามอล 325 มิลลิกรัมผสมกับไอบูโพรเฟน 400 มิลลิกรัม กิยอย่างไรก็ได้รับขนาดยาไม่เหมาะสม ยาเหล่านี้ควรต้องเพิกถอนทะเบียนตำรับยาทันที ยกเลิกยาสูตรผสมชนิดปลดปล่อยทันทีโดยที่ยานั้นมีขนาดไม่ใช่ 325 มิลลิกรัมหรือ 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ฉลากยาต้องมีความชัดเจนว่าไม่ควรมีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ฉลากยาต้องระบุความแรงของยาเป็นภาษาไทยประกอบด้วยเสมอ ยาเด็กเล็กกับยาเด็กโตต้องแยกออกจากกันได้ง่าย

ยาพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบขอให้มีพาราเซตามอลไม่เกิน 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด ในสหรัฐอเมริกาแม้ดูเหมือนประชาชนจะมีความรู้มากกว่าเรา ภาครัฐยังต้องออกมาตรการมาปกป้องประชาชน

บางสูตรสำหรับเด็กมีปริมาณยา 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร หากดูไม่ดีเทียบกับความแรง 120 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร เด็กจะได้รับยาเกินขนาดถึง 4 เท่าทันที ดังนั้น ความเข้มข้นของยาเด็กเล็กไม่ควรมีขนาดเป็น 4 เท่าของยาที่ใช้สำหรับเด็กโต บริษัทยาในสหรัฐอเมริกาจับมือกันยกเลิกยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ที่มีความเข้มข้นสูงแล้วโดยที่ภาครัฐไม่ต้องมีคำสั่งออกมาจัดการ

สิ่งที่ต้องย้ำเลยว่า พาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุด หากใช้อย่างถูกต้อง ถูกขนาด ถูกวิธี

ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ขาย ควรต้องมีการประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยดูรูปแบบยาที่สั่งจ่ายให้ดี และต้องระวังไม่ให้มีการสั่งจ่ายยาเกินขนาด ประชาชนเองก็ต้องระวังขนาดยาไม่ให้เกิน 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง และต่อครั้งคำนวณแล้วปริมาณยาต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม

วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ร้อยละ 70.75 เด็กทารกร้อยละ 36.84 มีการได้รับยาเกินขนาด จึงขอเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อปกป้องประชาชนไม่ได้ใด้รับอันตรายจากยาหรือไม่ได้รับยาเกินขนาด

(รายละเอียดดูจากเอกสาร)

 

คำถามจากผู้สื่อข่าว

ถาม: รสชาติมีความสัมพันธ์กับขนาดยาพาราเซตามอลหรือไม่

ตอบ: ดูรสชาติไม่ได้ ต้องดูฉลาก แต่ฉลากยาก็ยังเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรต้องเลือกใช้ยาที่ระบุให้ชัดเจนว่าเป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” หากไม่ระบุ การใช้ยานี้ต้องปรึกษาเภสัชกร

 

ถาม: แม้เป็นยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล เมื่อสักครู่ก็พบว่ามีการจ่ายพลาดแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจ่ายพลาด

ตอบ: นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องมาจัดแถลงข่าวในครั้งนี้ โดยให้มีการทบทวนทะเบียนตำรับยาให้เหมาะสม เบื้องต้นประชาชนต้องทราบขนาดยาที่จะใช้ต่อครั้ง คือ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แล้วเมื่อคำนวณแล้วต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง

 

ถาม: อาการของการได้รับยาเกินขนาดเป็นอย่างไร

ตอบ: การกินยาพาราเซตามอลเกินขนาด มักจะตรวจพบระยะหลัง ๆ ว่ากินเกินขนาดไปแล้ว กินไประยะแรก ๆ มักไม่ค่อยพบอาการ ไม่มีอาการบ่งชี้ได้ชัดเจน ถ้าเกิดอาการ แสดงว่ามาโรงพยาบาลไม่ทันแล้ว อาการที่บอกว่าไม่ทันแล้ว เช่น ตาเหลือง ฯลฯ (ซึ่งเป็นอาการของโรคตับ) การแก้ไขต้องแก้ไขให้ทันภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง สิ่งที่ประชาชนจะทำได้หรือป้องกันได้ คือ ไม่กินยาเกินขนาด ไม่กินยาพร่ำเพรื่อต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากไม่ทราบว่ากินยาเกินขนาดหรือไม่ ให้ถามผู้รู้ เช่น แพทย์ เภสัชกร ต้องไม่กลัวหมอและไม่อายหมอ ไม่ต้องกลัวถูกดุเมื่อไม่มีความมั่นใจในการใช้ยา

ดาวน์โหลดเอกสารวิชาการ


ข่าวทางสื่อมวลชน

  • แพทย์เตือนทานยาแก้ปวดเกินขนาดมีผลต่อตับ. ช่อง 3, 22 กันยายน 2559, https://goo.gl/wnnMBi
  • “พารา”กินเกินขนาดเสี่ยงตับพัง. Bright News, 22 กันยายน 2559,  youtube.com/watch?v=HQhA4-uPbvw
  • เตือนยา “กลุ่มพาราเซตามอล” เสี่ยงป่วยมะเร็งตับ. TNN, 22 กันยายน 2559, youtube.com/watch?v=zMsf3fKIpn8
  • เภสัชเผยกินยาพาราฯพร่ำเพรื่อ อันตรายต่อตับ. Nation, 22 กันยายน 2559,  http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=794432
  • ห่วงคนไทยตับพัง เหตุกินยาพาราเกินขนาด. สำนักข่าวไทย, 22 กันยายน 2559,  tnamcot.com/content/561723
  • ชี้”พาราเซตามอล-คีโตโคนาโซล”เป็นพิษต่อตับ. เดลินิวส์, 22 กันยายน 2559, dailynews.co.th/politics/525526
  • เตือนยา”กลุ่มพาราเซตามอล”เสี่ยงป่วยมะเร็งตับ. Thai PBS, 22 กันยายน 2559,  https://news.thaipbs.or.th/content/255992
  • เตือนภัยยาพาราเซตามอลและคีโตโคนาโซลอันตรายต่อตับ. MCOT FM 5 , 22 กันยายน 2559,  http://mcot-web.mcot.net/fm1005/content.php?id=57e38497938163b1798b45bb
  • แพทย์-เภสัช จี้บริษัทยาเลิกผลิต ” คีโตโคนาโซล” ชนิดกิน ชี้มีพิษต่อตับ. สำนักข่าวอิศรา, 22 กันยายน 2559, isranews.org/isranews-news/item/50211-newsdrug_52134.html
  • กินยาพาราฯ เกินขนาด ทำเด็กตับแทบพังเกือบพันคน ใช้เพื่อฆ่าตัวตายกว่า 700 คน. Manager Online, 22 กันยายน 2559, manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000095558
  • เตือนภัยยาอันตราย “พาราเซตามอล-คีโตโคนาโซล”. บ้านเมือง, 22 กันยายน 2559, banmuang.co.th/news/bangkok/63069
  • อย. เผย มาตรการจัดการความเสี่ยงของยาพาราเซตามอล มิให้เกิดผลกระทบจากการใช้ยา. ข่าวแจก อย., 23 กันยายน 2559, https://goo.gl/X8HQqq
  • จี้เลิกผลิตคีโตโคนาโซลชนิดเม็ด พิษร้ายแรงต่อตับ บริษัทแม่เรียกคืนแล้ว แต่ไทยยังผลิต. Hfocus, 23 กันยายน 2559, hfocus.org/content/2016/09/12778
  • ระวัง”พาราเซตามอล”อันตราย. บ้านเมือง, 23 กันยายน 2559, banmuang.co.th/news/bangkok/63113
  • เตือนควบคุมยาพาราฯ ก่อนคนไทยตับพัง. ไทยโพสต์, 23 กันยายน 2559, https://goo.gl/9hXFnz
  • เตือนยากลุ่มพาราเซตามอล เสี่ยงมะเร็งตับ. Mono29, 23 กันยายน 2559, https://goo.gl/6khVIG
  • เตือนภัยยาพารา กินมากเสี่ยงตับพัง. New 108, ศุกร์ 23 กันยายน 2559, Section: First Section/Weekend News หน้า: 1(บน), 4
  • เตือนภัยยาทำลายตับ. ข่าวสด, ศุกร์ 23 กันยายน 2559, Section: First Section/- หน้า: 11(ล่างขวา)
  • เตือนควบคุมยาพาราฯก่อนคนไทยตับพังนักวิชาการจี้‘อย.’ไม่ยอมขยับเพิกถอน-เปลี่ยนสูตร. ไทยโพสต์, ศุกร์ 23 กันยายน 2559, Section: X-CITE/การศึกษา/สาธารณสุข หน้า: 4(ล่าง)
  • ใช้ยาเกินขนาดเสี่ยงตับแข็ง. ไทยรัฐ, ศุกร์ 23 กันยายน 2559, Section: First Section/การศึกษา-ศาสนา-สาธารณสุข หน้า: 15(กลาง)
  • จี้คุมยา‘พารา-ฆ่าเชื้อรา’เตือน’ตับพัง’ทำถึงตาย. แนวหน้า, ศุกร์ 23 กันยายน 2559, Section: First Section/หน้าแรก หน้า: 1(ล่าง), 2
  • ระวัง‘พาราเซตามอล’อันตรายกินเกินขนาดตาย-ตับพังแฉ89บริษัทยังผลิตขาย. บ้านเมือง, ศุกร์ 23 กันยายน 2559 Section: First Section/หน้าแรก หน้า: 1(ล่าง), 2
  • มติ คกก.ยาจำกัดข้อบ่งใช้คีโตโคนาโซลชนิดเม็ด พร้อมปรับปรุงคำเตือนใช้ยาพาราฯ. Hfocus, 24 กันยายน 2559,  hfocus.org/content/2016/09/12783
  • เตือนภัยยาพาราฯอันตรายต่อตับ. เดลินิวส์ กรอบบ่าย, เสาร์ 24 กันยายน 2559, Section: First Section/- หน้า: 9(บนขวา)
  • เตือนกิน‘พารา’เป็นมะเร็งไม่รู้ตัว ยาน้ำเด็กเข้มเกินเสี่ยงพิษสะสม. มติชน กรอบบ่าย, เสาร์ 24 กันยายน 2559, Section: First Section/คุณภาพชีวิต-ภูมิภาค หน้า: 7(กลาง)
  • หัวข้อข่าว:
  • อย. สั่งแก้ไขคำเตือนบนฉลาก พาราเซตามอล กินมากมีผลต่อตับ. สำนักข่าวอิศรา, 25 กันยายน 2559, isranews.org/isranews-news/item/50284-newsdrug_50284.html
  • ห้ามใช้ยา‘พาราเซตามอล’เกินขนาดแนะนำในฉลาก เป็นพิษต่อตับ. AC News, 26 กันยายน 2559, acnews.net/view_news_breaking.php?news_id=B255923566
  • อย. แจง ความคืบหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยงของยาพาราเซตามอล. เว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์, 26 กันยายน 2559, http://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=151333
  • อย. ปรับฉลากยาพาราเซตามอล ห้ามใช้เกินขนาด. อัมรินทร์ทีวี, 26 กันยายน 2559, amarintv.com/update/news-update/news-260959-4/
  • เตือนภัยยาพาราเซตามอลและคีโตโคนาโซล อันตรายต่อตับ เครือข่ายนัก. ไทยโพสต์, อังคาร 27 กันยายน 2559, Section: X-CITE/สังคม หน้า: 15(กลาง)
  • แก้ฉลาก‘พาราฯ’ห้ามกินเกินขนาดเตือนตับพัง!ทั้งแบบเม็ด-น้ำ/’คีโตโคนาโซล’ใช้กรณียา. สยามรัฐ, อังคาร 27 กันยายน 2559, Section: First Section/กทม. – สาธารณสุข หน้า: 11(ขวา)
  • อย.สั่งแก้ฉลากยาพาราฯ. บ้านเมือง, พุธ 28 กันยายน 2559, Section: First Section/- หน้า: 6(บนขวา)
  • ยาอันตราย เป็นพิษต่อตับ โฟกัส. รามาแชลแนล, 6 ตุลาคม 2559, https://youtu.be/3vExBKHna2o