วิดีโอพิธีมอบรางวัล “เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม” และ “ทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔”

วิดีโอพิธีมอบรางวัล “เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม” และ “ทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔

💐 รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ได้แก่ ภญ.เบญจมาศ บุดดาวงศ์ – โรงพยาบาลโนนคูณ จ.ศรีสะเกษ

💐 รางวัลทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ได้แก่ กลุ่มเภสัชกร กองวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา

และการประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๖๕ เรื่อง “การจัดการกัญชาของประเทศไทย: สถานการณ์ปัจจุบัน และข้อเสนอ”

จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๒๐ น. ณ สภาเภสัชกรรม และระบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting

การแถลงข่าว “พร้อมแล้วจริงหรือ? กนศ. ประชุมตัดสินใจ 7 เมษา 64 เสนอรัฐบาลเข้าร่วม CPTPP”

การแถลงข่าว “พร้อมแล้วจริงหรือ? กนศ. ประชุมตัดสินใจ 7 เมษา 64 เสนอรัฐบาลเข้าร่วม CPTPP”

วันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผู้ร่วมแถลง

  • วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI)
  • เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
  • คำรณ ชูเดชา เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา
  • กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เอฟทีเอ ว็อทช์

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

จากที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมฯ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563 องค์กรภาคประชาสังคม 12 องค์กรได้ส่งจดหมายถึงกรมฯ แสดงความคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 นั้น

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จุฬาฯ กล่าวว่า ค่อนข้างกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ครั้งนี้ เพราะเนื้อหาจะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ทำให้ไม่สามารถพัฒนายาที่หมดอายุสิทธิบัตรได้ เนื่องจากยาเหล่านั้นจะถูกคำขอสิทธิบัตรอีกหลายฉบับลากอายุความคุ้มครองผูกขาดออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางยาและการเข้าถึงยาของประชาชน และทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ทั้งนี้ ผู้จัดการ กพย.ตั้งข้อสังเกตว่า สาระที่แก้ไขหลายเรื่องเป็นข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ (ทริปสฺพลัส) ที่เคยถูกเสนอมาในการเจรจาเอฟทีเอต่างๆ

Read More

ยื่นริเริ่มการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน


26 ธันวาคม 2562 – เครือข่ายวิชาการและภาคประชาสังคมด้านพืชยา กัญชา กระท่อม นำเสนอ “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน”เปลี่ยนสถานะกัญชา กระท่อมจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็น “พืชยา” เพื่อให้ผู้ป่วย ประชาชน เข้าถึงการใช้พืชยา กัญชา กระท่อม ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย และมีระบบควบคุมกันเองโดยชุมชน สอดคล้องกับวิถีการแพทย์พื้นบ้าน และวัฒนธรรมชุมชน โดยไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายอย่างในปัจจุบันเตรียมล่า 10,000 รายชื่อ เสนอต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้

Read More

การแถลงข่าว “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน”

เครือข่ายนักวิชาการ-ภาคประชาสังคม เสนอ “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน” หนุนผู้ป่วย แพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้เต็มที่ เสนอถอดกัญชา กระท่อมจากยาเสพติดประเภท 5 แต่มีสถานะเป็น “พืชยา” ถูกควบคุมเฉพาะ เตรียมรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน

วันที่ 24 สิงหาคม 2562 ที่ห้องประชุม Dipak C. Jain อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายวิชาการและภาคประชาสังคมด้านพืชยา กัญชา กระท่อม จัดแถลงข่าวร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน” จัดโดย มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กพย.) และมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

Read More

7 คำขอรับสิทธิบัตรกัญชาที่เหลือยกทิ้งได้ทันทีหากกรมทรัพย์สินทางปัญญาทำหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

การแถลงข่าว “สิทธิบัตรกัญชา: ยอดภูเขาน้ำแข็งปัญหาการให้สิทธิบัตรยาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

โดยคณะนักวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการเข้าถึงยา ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)

– รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
– กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
– เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล

ดำเนินรายการโดย นิมิตร์ เทียนอุดม


คำขอรับสิทธิบัตรกัญชาที่เหลือ ยกทิ้งได้ทันที หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาทำหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

 

 

ดาวน์โหลดเอกสารคำขอสิทธิบัตรกัญชา 

 

ประเด็นที่ 1 ฐานข้อมูลสิทธิบัตร 0.4

คำขอรับสิทธิบัตรสารสกัดจากกัญชาและการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค เท่าที่นักวิชาการที่ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาสามารถค้นพบได้มี 12 คำขอ ขณะเดียวกันจากข้อมูลของการแถลงข่าวของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ระบุว่ามีมากถึง 31 คำขอ และยังมีข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ในจำนวนคำขอที่แตกต่างกันไป เช่น บทความของบริษัท Tilleke & Gibbins ระบุว่ามีคำ 39 คำขอที่ประกาศโฆษณาแล้วและอยู่ระหว่างตรวจสอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญา แสดงให้เห็นว่าฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญามีปัญหาในการสืบค้น ทำให้ได้ข้อมูลจำนวนคำขอที่แตกต่างกันและไม่ครบถ้วนทั้งหมดได้

ประเด็นที่ 2 การละเลยกฎหมาย ไม่ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรอย่างเคร่งครัด

Read More

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 36: กระท่อม กัญชา จากพืชเสพติด สู่ยารักษาโรคและความมั่นคงทางยา

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 36: กระท่อม กัญชา จากพืชเสพติด สู่ยารักษาโรคและความมั่นคงทางยา
ยาวิพากษ์ฉบับที่ 36: กระท่อม กัญชา จากพืชเสพติด สู่ยารักษาโรคและความมั่นคงทางยา

ดาวน์โหลด

(หากดาวน์โหลดไม่ได้ ให้คลิกขวา แล้วเลือก Save link as…)

Read More

แนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจคำขอสิทธิบัตรเข้มเพื่อสกัด Evergreening Patent

 

วงเสวนาแนะกรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้ “คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรยา” อย่างเข้มข้น – นำคำวินิจฉัยศาลเป็นแนวทางพิจารณาคำขอสิทธิบัตร เพื่อลดจำนวนคำขอที่มีลักษณะเป็น Evergreening Patent ด้านบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญหวังให้มีการพัฒนาระบบสืบค้นสิทธิบัตรรวมทั้งมีระบบให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสิทธิบัตร

วันที่ 17 พ.ค. 2561 ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้จัดเสวนาวิชาการ “กว่าจะได้ชัยชนะ: การเพิกถอนสิทธิบัตรยาในประเทศไทย” ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเนื้อหาการเสวนาได้กล่าวถึงบทเรียนจากการต่อสู้ในคดีสิทธิบัตรยาระหว่างบริษัทยาต้นแบบและบริษัทผู้ผลิตยาสามัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการให้สิทธิบัตรยาในประเทศไทย

Read More