การประชุม “ภาคีวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 4 ภาค”

การประชุม “ภาคีวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 4 ภาค

จัดในรูปแบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-16.00 น.

Read More

การเปิดตัวหนังสือ เขย่าสังคมด้วย”ปัญหายา”: พลิกประวัติศาสตร์ 4 ทศวรรษ “กลุ่มศึกษาปัญหายา” (กศย.) 

 

ารเปิดตัวหนังสือ เขย่าสังคมด้วย”ปัญหายา”: พลิกประวัติศาสตร์ 4 ทศวรรษ “กลุ่มศึกษาปัญหายา” (กศย.) จัดขึ้นในวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 13.00-15.00 น. ณ อาคารจามจุรีสแควร์

 

Read More

พบไซบูทรามีนผสมในอาหารเสริมเกลื่อน ทำหัวใจวาย-อาการทางจิต จี้ อย. จัดการ

 

ไซบูทรามีนสุดอันตราย พบยกเลิกทะเบียนไปแล้ว แต่เจอผสมในอาหารเสริมขายเกลื่อน แพทย์-เภสัช ชี้ พบเป็นต้นเหตุหัวใจวายเฉียบพลัน อาการทางจิต กพย. จี้ อย. จัดการอุดรูรั่วด่วน

28 มิถุนายน 2561 ที่ศศนิเวศ จุฬาฯ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดการแถลงข่าว  “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวว่า กพย. และภาคี ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องการปนปลอมไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลกระทบต่อผู้ใช้ถึงขั้นพบผู้เสียชีวิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารที่อ้างสรพคุณลดความอ้วน มากกว่า 10 รายในรอบ 6 ปี แม้ภาครัฐจะมีมาตรการออกมา แต่ก็ยังพบการละเมิดกฎหมายต่อเนื่อง จึงร่วมกับภาคีนำเสนอสถานการณ์ในพื้นที่ รูปธรรมการติดตามเฝ้าระวัง และข้อเสนอการปรับระบบในภาพรวม   Read More

การแถลงข่าว “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า”

การแถลงข่าว “ไซบูทรามีน: อันตราย สถานะทางกฎหมาย และการลักลอบนำเข้า
วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุม Dipak C. Jain อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเด็น

  • สถานการณ์การระบาดของผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนไซบูทรามีนในพื้นที่
    โดย ภก.วสันต์ มีคุณ – โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร, ชมรมเภสัชชนบท
  • ผลทดสอบ “ไซบูทรามีน – ฟลูออกซิทีน” ในอาหารเสริมลดน้ำหนักที่สั่งซื้อจากห้างออนไลน์
    โดย สถาพร อารักษ์วทนะ – มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)
  • การเฝ้าระวังการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
    โดย ภก.จัตุพล กันทะมูล – โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง
  • ผลทางเภสัชวิทยาของไซบูทรามีนและกรณีศึกษาที่พบทางจิตเวช
    โดย อ.ภก.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา – คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • พิษวิทยาของไซบูทรามีน และรายงานการเกิดปัญหาที่มายังศูนย์พิษวิทยา
    โดย ศ.นพ.วินัย วนานุกูล – คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัญหาข้อกฎหมาย กับการจัดการไซบูทรามีน
    โดย ภก.จิระ วิภาสวงศ์ – ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย
  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อระบบการจัดการ
    โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี – ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา

ดำเนินรายการโดย ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข – ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา


 

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 31: ยาชายแดน อันตรายที่คืบคลานหน้ารั้วบ้านคุณ

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 31: ยาชายแดน อันตรายที่คืบคลานหน้ารั้วบ้านคุณ

ดาวน์โหลด

(หากดาวน์โหลดไม่ได้ ให้คลิกขวาแล้วเลือก Save link as…)

Read More

เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ

การแถลงข่าว เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 9.00 – 11.00 น.
ณ ห้อง
Dipak C. Jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมจัดโดย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชมรมเภสัชชนบท

โปสเตอร์การแถลงข่าว “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ”

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชมรมเภสัชชนบท คณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้ป่วยจัดแถลงข่าว “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนภัยปัญหายาที่มีพิษต่อตับ ตลอดจนการผลักดันข้อเสนอสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดการจัดการปัญหายาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในครั้งนี้ได้แถลงข่าวยาที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ พาราเซตามอล (paracetamol) และคีโตโคนาโซล (ketoconazole)

Read More

สรุปการประชุม สถานการณ์ปัญหายาไม่เหมาะสมและการทบทวนทะเบียนตำรับยา วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557

สรุปการประชุม สถานการณ์ปัญหายาไม่เหมาะสมและการทบทวนทะเบียนตำรับยา
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ห้องแมนดารินซี โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ

           แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา ร่วมกับชมรมเภสัชชนบท และมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา/กลุ่มศึกษาปัญหายา จัดประชุมเรื่อง “สถานการณ์ปัญหายาไม่เหมาะสมและการทบทวนทะเบียนตำรับยา” โดยมีผู้ร่วมประชุมเป็นเจ้าหน้าที่จากจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์, เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรร้านยา, เครือข่ายสถาบันการศึกษา, ผู้แทนศูนย์กฎหมายและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เครือข่ายภาคประชาชน, เครือข่าย อสม.ที่ร่วมงานกับ กพย. และสื่อมวลชน จำนวน 90 คน

กิจกรรมภายในงานช่วงเช้า ได้แก่ “การพบปะสื่อมวลชน” เพื่อให้ข้อมูลต่อประชาชนผ่านสื่อมวลชน ถึง ปัญหาของตำรับยาที่ไม่เหมาะสมที่พบในประเทศ และข้อเสนอที่มีต่อ อย.ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบที่จะต้องเร่งทำการทบทวนทะเบียนตำรับยาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนไทย และการอภิปรายเรื่อง “สถานการณ์และข้อเสนอแนะการทบทวนทะเบียนตำรับยา” ซึ่งมีวิทยากรรับเชิญในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการเดินหน้าการทบทวนทะเบียนตำรับยาให้สำเร็จได้อย่างไร” อาทิ กรณีบทเรียนการจัดการทบทวนทะเบียนตำรับยาจากต่างประเทศ การศึกษาข้อมูลทางวิชาการเพื่อรองรับการทบทวนทะเบียนตำรับยา ความก้าวหน้าของการทบทวนทะเบียนตำรับยาของประเทศไทย และการพัฒนาระบบการทบทวนทะเบียนตำรับยาในทัศนะของคณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์  โดยตลอดงานจะมีการแสดงนิทรรศการและคลิปวีดีโอทัวร์โชว์ของ “ยาไม่เหมาะสม” ในประเทศไทย: สูตรและรูปแบบยาที่ไม่ควรมีในประเทศไทย ในมุมมองจากพื้นที่

Read More