หนังสือ บทความ และงานวิจัยที่น่าสนใจ

 

งานวิจัย

 

 

 

 

 

30 ตุลาคม 2555: การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติ (ครั้งที่ 2)

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติ (ครั้งที่ 2)
ภายใต้โครงการ
Good Governance in Pharmaceutical Registration, Selection, Inspection, Advertisement and Distribution (Phase III)
วันที่
30 ตุลาคม 2555  ณ โรงแรมริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

10 กันยายน 2555: การประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการศึกษารูปแบบการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
โครงการศึกษารูปแบบการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติวันที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ ถ.รองเมือง กรุงเทพฯ

ข่าวภายในประเทศเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายยา

 

 

 

(ยังไม่หมด กำลังรอคัดเลือกอีกราว 100 ข่าวครับ)

ประวัติความเป็นมาโดยสังเขปของเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยา

การส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมและการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล ส่งผลให้เกิดปัญหาการบริโภคยาเกินจำเป็น บริโภคยาราคาแพงเกินควร ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลดังนั้นที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 จึงมีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ต่อมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553  ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวโดยมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วนที่ไม่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจยาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกให้เป็นเกณฑ์กลางของประเทศ รวมถึงศึกษาระบบการนำหลักเกณฑ์จริยธรรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลหรือขยายเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2531 สำหรับประเทศไทยได้มีพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายเภสัชภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยที่ยังไม่เคยประกาศใช้ อย่างไรก็ตามประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายยาปรากฏในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 และต่อมา ได้แก้ไขปรับปรุงเป็นข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม  พ.ศ.2549 ส่วนสภาเภสัชกรรมได้กำหนดข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมใน พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2538 แต่มิได้มีประเด็นจริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขาย

ต่อมา คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และบริษัทยา ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 แต่มิได้มีการบังคับใช้เนื่องจากคณะกรรมการแห่งชาติด้านยาหมดวาระลงตามการสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติซึ่งแต่งตั้งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2551 ได้จัดทำนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2555 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555 – 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2554 โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้นว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม เพื่อจัดทำเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาขึ้น ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2555

แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายวิชาการและภาคประชาชน โดยมีบทบาทในการสนับสนุนการจัดทำเกณฑ์จริยธรรมฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตั้งแต่การนำเสนอเข้าสู่กระบวนการของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 จนกระทั่งพัฒนาเกณฑ์จริยธรรมฯ ดังกล่าวเสร็จสิ้นและพร้อมสนับสนุนในการขับเคลื่อนการนำเกณฑ์จริยธรรมฯ ไปประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลต่อไป

 

การประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย เพื่อเตรียมการสมัชชาเภสัชกรรมไทย 100 ปี (พ.ศ. 2556)

ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

 

การประชุมเพื่อเตรียมการสมัชชาเภสัชกรรมไทย 100 ปี (พ.ศ. 2556) เป็นความร่วมมือของสภาเภสัชกรรม ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) และองค์กรวิชาชีพต่างๆ ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการจัดประชุมเตรียมการสมัชชาเภสัชกรรมไทย 100ปี (พ.ศ. 2556) : บทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมไทยและการศึกษาเภสัชศาสตร์ในศตวรรษหน้า ซึ่งได้มีการเตรียมการมาเป็นระยะๆ และมีแผนที่จะจัดการประชุมเตรียมการสมัชชาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อประมวลสถานการณ์ บทบาท กำลังคน แผนยุทธศาสตร์ ของสาขาต่างๆ ในวิชาชีพเภสัชกรรม ตลอดจนการกำหนดทิศทางของวิชาชีพเภสัชกรรมในอนาคต การประชุมนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปี เนื่องจากจากถือว่าเป็นวันถือกำเนิดของวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย และจะมีการจัดงานครบรอบ 100 ปีวิชาชีพเภสัชกรรม ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2556

 

การประชุมในแต่ละปี ระหว่างปี พ.ศ.2551 – 2555 มีสาขาวิชาชีพเภสัชกรรมได้ร่วมเป็นเจ้าภาพกับสภาเภสัชกรรมในการจัดประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย เพื่อเตรียมการสมัชชาเภสัชกรรมไทย 100 ปี (พ.ศ. 2556) ดังนี้
(1)     พ.ศ.2551 การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 95 ปี สาขาเภสัชศาสตร์การศึกษาเป็นเจ้าภาพร่วม ในชื่องาน “เภสัชกรรมไทย 95 ปี มุ่งสู่ศตวรรษใหม่”
(2)     พ.ศ.2552 การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 96 ปี สาขาเภสัชอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพร่วม ในชื่องาน “บทบาทเภสัชกรในการผลิตยาเพื่อสังคม”
(3)     พ.ศ.2553 การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 97 ปี สาขาเภสัชกรรมชุมชนเป็นเจ้าภาพร่วม ในชื่องาน “ความรับผิดชอบของเภสัชกรไทยในการปฏิบัติงานในร้านยา”
(4)     พ.ศ.2554 การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 98 ปี สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเจ้าภาพร่วม งดการจัดประชุมเนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่
(5)     พ.ศ.2555 การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 99 ปี สาขาเภสัชกรรมโรงพยาบาลเป็นเจ้าภาพร่วม
ส่วนสาขาเภสัชกรการตลาดจะร่วมจัดงานในปีใดนั้น จะแจ้งให้ทราบต่อไป (รวมถึงสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะจัดประชุมด้วย)

 

สามารถดาวน์โหลดเอกสารการประชุมได้ที่
1. การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 95 ปี
2. การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 96 ปี เอกสารมี 3 ชิ้น คือ
(1) เอกสารในวันงานประชุม
(2) รายงานสมัชชาเภสัชกรรมไทย 96 ปี “บทบาทเภสัชกรในการผลิตยาเพื่อสังคม”
RxSamatcha096_Report1 หรือ
http://www.slideshare.net/rparun/rx-samatcha096-report1
(3) รายงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น “การพัฒนาการผลิตยาภายในประเทศ” ในสมัชชาเภสัชกรรมไทย 96 ปี เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย
3. การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 97 ปี
 4. การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 99 ปี (รอบ 98 ปี งดการจัดประชุม)
5. การประชุมสมัชชาเภสัชกรรม 100 ปี
(รอไฟล์)

(ข่าว)-หมอเตือนถึงตายฉีดฟิลเลอร์ผิดวิธีเสริมจมูกเสี่ยงตาบอดเหยื่อมือฉีดสารโผล่อีก

หมอเตือนถึงตายฉีดฟิลเลอร์ผิดวิธีเสริมจมูกเสี่ยงตาบอดเหยื่อมือฉีดสารโผล่อีก
คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555 หน้า 3, 13

สมาคมแพทย์ผิวหนังเตือนฉีดฟิลเลอร์ผิดวิธีถึงตาย ชี้ 2 ปีที่ผ่านมารักษามากขึ้น เผยฉีดเสริมจมูก เสี่ยงตาบอด ขณะนี้ ผู้รักความงามส่วนใหญ่แห่ฉีด “สารโพลิอะคริลามีด” ราคาถูกเสริมหน้าอก ถึงเสียชีวิต เหตุเป็นสารต้องห้าม ด้านเหยื่อมือถือฉีดสารโผล่แจ้งความอีก 3

 

เมื่อวันที่ 25 กันยายน พล.ต.นพ.กฤษฏา ดวงอุไร นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสมาชิกแพทย์ผิวหนังว่าปัจจุบัน มีประชาชนที่ไปรับบริการฉีดสารเติมเต็ม หรือฟิลเลอร์ แล้วเกิดอาการแทรกซ้อนมาขอรับการรักษาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีทั้งอาการแทรกซ้อนที่ไม่ร้ายแรง เช่น เขียวช้ำ เป็นจ้ำเลือด บวม ใบหน้าไม่เท่ากัน เกิดอาการแพ้เป็นผื่นแดง เกิดก้อนที่ผิวหนัง ถึงขั้นเกิดอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เช่น ผิวหนัง ตาย จมูกเน่า ตาบอด และเสียชีวิต ซึ่งตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่าอาการแทรกซ้อนส่วนใหญ่ที่แพทย์มักเจอบ่อยครั้ง คือ จมูกเน่า ประมาณ 10-20 ราย ส่วนตาบอด ประมาณ 5-10 ราย

 

นพ.กฤษฏา กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีความสนใจหรือต้องการไปฉีดสารเติมเต็มเพื่อเสริมความงามควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลังการฉีดก่อนตัดสินใจทำ เพราะถึงแม้ว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นพบได้ไม่บ่อยนักแต่หากเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอันตราย จึงต้องพิจารณาสถานที่ที่ไปฉีด ชนิดของสารที่ฉีดเข้าร่างกาย และความน่าเชื่อถือของแพทย์ผู้ทำการฉีด เพราะถ้าสารที่ฉีดได้มาตรฐานผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) มีเครื่องมืออุปกรณ์การฉีดที่ได้มาตรฐาน แต่หากผู้ที่ทำการฉีดไม่ได้เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ขนาดเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและฉีดถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ถ้าไปฉีดให้ผู้ที่เคยเสริมจมูกมาแล้วก็อาจเกิดผลข้างเคียงและเป็นอันตราย เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคของจมูกผิดแปลกไปจากเดิม

 

นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ประเภทของฟิลเลอร์แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.แบบชั่วคราว สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง แต่อายุการใช้งานสั้น 4-6 เดือน ราคาค่อนข้างแพง

2.แบบกึ่งถาวร มีความปลอดภัยปานกลาง อายุการใช้งานประมาณ 2 ปีและ

3.แบบถาวร ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ ส่วนมากเป็นซิลิโคน หรือพาราฟิน ซึ่งฟิลเลอร์ชนิดนี้มักก่อให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาวซึ่ง อย.ประเทศไทยรับรองเฉพาะฟิลเลอร์แบบชั่วคราวเท่านั้น ได้แก่ Juvederm Restylane Revenese และ ESthelis

 

นพ.จินดา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันฟิลเลอร์ถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะการรักษาปัญหาด้านผิวพรรณ เช่น การแก้ไขปัญหาริ้วรอยของผิวอันเนื่องมาจากวัย บริเวณหน้าผาก หางตา และร่องแก้ม การแก้ปัญหาแผลเป็นชนิดผิวบุ๋มจากการอักเสบและการฉีดเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อผิวหนังให้มีลักษณะนูนขึ้น เช่น เสริมจมูก เสริมคาง ฉีดริมฝีปาก หรือฉีดเสริมรูปทรงของใบหน้าให้ดูอวบอิ่ม อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ฟิลเลอร์รักษาผิวพรรณอย่างแพร่หลาย แต่การเลือกใช้มีข้อจำกัดในแต่ละบุคคล ซึ่งต้องเลือกชนิดและขนาดโมเลกุลของฟิลเลอร์ให้เหมาะกับสภาพผิวหนังและตำแหน่งในการฉีด