เอกสารสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558

samacha_cover

การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558 จะจัดขึ้นในวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2558 ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม อิมแพค เมืองทองธานี

มีระเบียบวาระการประชุมจํานวน 4 ระเบียบวาระ ดังนี้

1) วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ
2) สุขภาวะชาวนา
3) สุขภาวะเมืองใหญ่ : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองอย่างมีส่วนรวม่
4) นโยบายการลดบริโภคเกลือ

Read More

วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปี “วันรู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย”

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

2015-11-18_antibiotic_awareness_day

“Antibiotic Awareness Day”  ปัญหาเชื้อดื้อยาเรื่องใหญ่ที่สังคมไทยยังไม่รับรู้

วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวัน Antibiotic Awareness Day เนื่องจากมีปัญหาการใช้ยาต้านแบคทีเรียจนเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาทั่วโลก ถึงขั้นต้องมีการกำหนดวันขึ้นเพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ว่า “เกิดปัญหาการเสียชีวิตจากติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย

87 ปีก่อนหรือปี 2471 เซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมิ่ง ค้นพบยาเพนนิซิลิน ยาต้านแบคทีเรียชนิดแรกของโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจัดเป็นโรคที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมนุษย์และยังไม่มียารักษาเฉพาะ ยาต้านแบคทีเรียเพนนิซิลิน จึงถือเป็นยาวิเศษในยุคนั้นที่สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้มากมายในเวลานั้น  แต่ยาดังกล่าวก็ใช้ได้ผลดีอยู่เพียง 5 ปี  เพราะหลังจากนั้น ตัวเชื้อแบคทีเรียเองก็พัฒนาตัวเองหรือกลายพันธุ์เพื่อรับมือกับเพนนิซิลินเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยังเป็นเรื่องโชคดีว่า ณ เวลานั้นวิทยาศาสตร์กำลังก้าวหน้าขึ้นทุกขณะ จึงมีการวิจัยและผลิตยาต้านแบคทีเรียขึ้นเป็นจำนวนมากที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด จนมีความเชื่อว่ามนุษย์เดินมาถึงยุคที่สามารถควบคุมโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียได้หมด Read More

กิจกรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2558”

Print
คลิกที่รูปเพื่อดูแบบความละเอียดสูง

แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงาน “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2558” ในวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ติดตามข่าวสารของกิจกรรมได้ที่เฟซบุ๊ค: Antibiotic Awareness Thailand

Update!

Read More

สรุปการประชุม ASEAN Antibiotic Awareness Day: A Way Forward in Combating ABR

Antibiotic Awareness Dayสรุปการประชุม ASEAN Antibiotic Awareness Day: A Way Forward in Combating ABR
วันที่ 18-19 พ.ย. 2557 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

             แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการจัดประชุมวิชาการอาเซียน “เดินหน้า ต่อต้านเชื้อดื้อยา” เนื่องในวันรู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2557 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศภายในกลุ่มอาเซียนว่ามีการจัดการปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะอย่างไรบ้าง

Read More

วิจัยพบยาปฏิชีวนะตัวการทำ’เด็กอ้วน’

มติชน ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หน้า 10

รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์ประจำสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า ขณะนี้เด็กทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโรคอ้วน และจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินหรือโรค อ้วน คือ เด็กได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 ขวบ และจากการศึกษาอย่างจริงจังใน กลุ่มเด็กอนุบาล ก็พบว่าสาเหตุหลักมาจากในร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสัดส่วนของเซลล์มนุษย์ประมาณร้อยละ 99 ในขณะที่เซลล์มนุษย์ในร่างกายมีประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น โดยเฉพาะในลำไส้

“จากการทำวิจัยในระดับยีนของต่างประเทศ เพื่อหาว่ายีนของคนอ้วนและคนผอม มียีนของเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกันอย่างไรนั้น ผลวิจัยพบว่าเชื้อแบคทีเรียของคนอ้วนและคนผอมต่างกันมาก ซึ่งแบคทีเรียที่พบก็มีผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในหนู พบว่าหนูที่ได้รับยาปฏิชีวนะมีระดับไขมันมากกว่าหนูที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ” รศ.พญ.วารุณีกล่าว และว่า จากผลการวิจัยดังกล่าว ประเทศไทยควรมีความตระหนัก รวมถึงนำข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่เมื่อพาบุตรไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรค มักจะคาดหวังและขอยาปฏิชีวนะจากแพทย์

รศ.พญ.วารุณีกล่าวว่า ยาปฏิชีวนะมีผลทั้งในระยะยาวและระยะสั้น โดยระยะสั้นจะมีผลกับทุกช่วงอายุ ฉะนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ส่วนในระยะยาว นอกจากเด็กจะมีภาวะอ้วนแล้ว ยังอาจทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ และหอบหืดได้

กรณีศึกษา ยากาโน่ ป๊อก

โฆษณาดังต่อไปนี้เข้าข่ายโฆษณาขายยาอันตราย ใครที่อยู่ร้านขายยาแล้วมีคนมาถามหายายาปฏิชีวนะยี่ห้อนี้ (เตตร้าไซคลิน ไฮโดคลอไรด์ 500 มิลลิกรัม) สำหรับแก้ปวดท้องน้อย ปวดมดลูก ขอให้ทราบไว้เลยว่าเป็นผลมาจากการโฆษณาทางวิทยุ ซึ่งต้องมีการให้ความรู้อีกมาก นอกจากนี้ยังมีโฆษณาผลิตภัณฑ์ยากินแก้ปวด (ไพร็อกซิแคม: piroxicam) อีกด้วย โฆษณามีทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า (นอกจากนี้ยังมีการลดแลกแจกแถมชิงรางวัลเป็นระยะตามรายการวิทยุ)

การเข้าไปฟัง (ลอกให้หมดแล้วไปแปะในช่องที่ใส่ชื่อเว็บไซต์)

http://radio3.thaidhost.com:81/flora/3. สปอตวิทยุ บจก.เวชภัณฑ์ยากาโน่ ป๊อก ซอฟร์ตี้ (โหลดที่นี่)/

http://radio3.thaidhost.com:81/flora/

การโฆษณาขายยาแสดงสรรพคุณยาอันตรายโดยตรงต่อประชาชน (ไม่ได้กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์) เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(6) ต้องระวางโทษตามมาตรา 124 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

หากมีการโฆษณาขายยาโดยการแจกของแถมหรือออกสลากรางวัล เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 90 ต้องระวางโทษตามมาตรา 124 เช่นกัน

ปล. เอกสารนี้จัดเป็นข้อมูลทางวิชาการ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแต่อย่างใด