(ข่าว)-ทาโลชั่นจุดซ่อนเร้นหมอชี้ตั้งครรภ์ยากสื่อนอกอัดหญิงไทยเชื่อผิวขาวชีวิตดีขึ้น

ทาโลชั่นจุดซ่อนเร้นหมอชี้ตั้งครรภ์ยากสื่อนอกอัดหญิงไทยเชื่อผิวขาวชีวิตดีขึ้น
คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 หน้า 3, 13


แพทย์เตือนหญิงไทย ทาโลชั่นพื้นที่ซ่อนเร้นส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยากขึ้น แนะ ควรใส่ใจเรื่องความดีความสามารถมากกว่า ขณะที่สื่อนอกตีคนไทยคลั่งไคล้ผิวกายสีขาวทำชีวิตประสบความสำเร็จ

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียนรายงานเกี่ยวกับกระแสคลั่งไคล้อยากมีผิวขาวใสของผู้หญิงไทย ได้ลามไปถึงจุดซ้อนเร้น หลังมีผลิตภัณฑ์ใหม่โอ่สรรพคุณว่าช่วยให้พื้นที่ซ้อนเร้นของผู้หญิงขาวขึ้นในเวลาไม่นาน นักวิจารณ์ชี้ว่าเป็นตัวอย่างสุดขั้ว สะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้เปลี่ยนนิยามและค่านิยมความงามในสังคมไทย จนมีการตั้งคำถามว่า เมื่ไหร่ที่การคลั่งผิวขาวจะยุติลงเสียที

การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ยังกำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันเรื่องสีผิวในประเทศ ซึ่งผิวขาวใสถูกนำมาเชื่อมโยงกับสถานภาพ โอกาส และความสำเร็จในชีวิต

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การมีผิวกระจ่างใสเท่ากับการอยู่ในชนชั้นสูงขึ้นไปอีกระดับ เนื่องจากเป็นสิ่งบ่งบอกว่าเจ้าของผิวพรรณเช่นนั้น ไม่ได้ตรอกตรำกลางแดดในทุ่งนา ภาษาไทยมีการเปรียบเทียบเชิงเหยียดๆ คนผิวคล้ำ อาทิ ดำเหมือนอีกา ขณะทุกวันนี้ชาวนาปลูกข้าว สวมเสื้อแขนยาว กางเกงแขนยาว หมวกปีกกว้างและถุงมือ

นิตยสารผู้หญิงในไทยใช้ดาราเกาหลี ญี่ปุ่น และชาวเอเชียผิวขาวใสโฆษณาผลิตภัณฑ์อวดอ้างความขาวกระจ่าง เช่นเดียวกับสื่อโฆษณาเกือบทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกก็ใช้รูปแบบเดียวกัน และคาดว่า ธุรกิจสินค้าเพิ่มนความขาวใสในภูมิภาคจะทะลุหลัก 2,000 ล้านดอลลาร์ ในปีนี้ โดยตลาดที่มีการเติบโตเร็วที่สุดคือ จีน กับอินเดีย

แต่กระแสคลั่งความขาวมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากสินค้าหลายชนิดมีส่วนผสมของไฮโดนควินิน และปรอท ที่อาจทำให้ผิวกระดำกระด่างถาวร หรือทำลายไต ผลิตภัณฑ์บางชนิดยังผิดกฎหมาย

กระนั้นในแวดวงโฆษณามองว่า กระแสคลั่งไคล้ผิวกระจ่างใสน่าจะดำเนินต่อไป และตลาดผู้ชายยังโตได้อีก ก่อนแสดงความเห็นว่า อนาคตของน้ำยาเพื่อจุดซ้อนเร้นที่กระจ่างใสอาจจะแตกย่อยออกมาอีกเป็นสูตรต่อต้านริ้วรอย เพื่อให้จุดซ่อนเร้นของคุณคงความอ่อนเยาว์ก็เป็นได้

ด้าน นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สาวไทยนิยมการมีผิวขาวกระจ่างใสตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชาย หรือเพื่อให้เกิดการยอมรับสถานภาพทางสังคม ถือเป็นความเห่อหรือความนิยมตามกาลสมัย นอกจากนี้ภาพยนตร์ หรือซีรีส์เกาหลีก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกระแสนิยมผิวขาวใสด้วย

“เราควรเน้นในเรื่องของการเป็นคนดีในสังคมมากกว่าเรื่องสีผิว เพราะสมัยนี้คนที่ตัวเล็กๆ ผิวดำหรือคล้ำก็สามารถโด่งดัง  มีที่ยืนในสังคมได้ เพราะเขามีจุดขายคือความสามารถ” นพ.ทวี กล่าวทิ้งท้าย

ขณะที่ ศ.นพ.สมบูรณ์ คุณาธิคม ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทาโลชั่นพวกนี้ภายนอกช่องคลอดจะให้ผลเหมือนทาโลชั่นบริเวณผิวหนังส่วนอื่นทั่วไปและอาจเกิดผื่นคันได้สำหรับคนที่แพ้ แต่ที่น่ากังวลกว่าคือ การทาเข้าไปภายในช่องคลอด หากโลชั่นดังกล่าวมีสารหรือส่วนผสมที่ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอดเปลี่ยนไป จะทำให้อสุจไม่สามารถเดินทางไปถึงมดลูกได้โดยสะดวกส่งผลให้โอกาสการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ยาก

กรณีศึกษา น้ำยาล้างห้องน้ำวิกซอลเรด

โฆษณาของบริษัท ไอ.พี.เทรดดิ้ง จำกัด เป็นโฆษณาที่เป็นเท็จ หรือเกินความจริง ตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งถือ ว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มีคำสั่ง ห้ามการโฆษณาดังกล่าวของบริษัทครั้งต่อไปในทุกสื่อโฆษณ

โฆษณาน้ำยาล้างห้องน้ำคลุมเครือ-ไม่ชัดเจน!! (ตอน1)
นิโรธ เจริญประกอบ. คอลัมน์ สิทธิผู้บริโภค สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 19-21 กันยายน พ.ศ. 2555 หน้า 27

โฆษณาน้ำยาล้างห้องน้ำ คลุมเครือ-ไม่ชัดเจน! (ตอนจบ)
นิโรธ เจริญประกอบ. คอลัมน์ สิทธิผู้บริโภค: สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 22-25 กันยายน พ.ศ. 2555 หน้า 27

 

ดูตัวอย่างโฆษณาที่มีปัญหานี้ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=qmccbKZ9wY0

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โควเมม

ข้อมูลประกอบสำหรับผู้ที่ท่องว่า bupropion ใช้สำหรับเลิกบุหรี่ (ชื่อการค้า Quomem ในประเทศไทย)

ยาเวลบูทริน (Wellbutrin) เป็นชื่อการค้าในสหรัฐอเมริกา ชื่อสามัญคือ bupropion hydrochloride เข้ามาในไทยมี 2 ชื่อการค้า คือ Quomem และ Wellbutrin XL (150, 300 mg) แต่ข้อบ่งใช้ในชื่อการค้าของ Wellbutrin ไม่ได้รับรองในการเลิกบุหรี่ ทำให้มีข้อสังเกตได้ว่ายาชื่อสามัญเดียวกัน บริษัทเดียวกัน เอกสารกำกับยาในประเทศไทยสำหรับเลิกบุหรี่เท่านั้น แต่สหรัฐอเมริกาไม่ใช้สำหรับเลิกบุหรี่ แต่ใช้สำหรับอาการซึมเศร้า

ดูเอกสารกำกับยาของสหรัฐอเมริกาได้ที่ http://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/lookup.cfm?setid=9bfe1903-3313-44b7-a27c-fc0775426f94

ยาชื่อสามัญเดียวกัน บริษัท GSK เดียวกัน เอกสารกำกับยาในประเทศไทยสำหรับเลิกบุหรี่เท่านั้น สหรัฐอเมริกาไม่ใช้สำหรับเลิกบุหรี่ แต่ใช้สำหรับอาการซึมเศร้า แล้วใครเป็นผู้ใช้นอกเหนือสรรพคุณยาที่ได้รับอนุญาต???

ถ้าใช้ Bupropion hydrochloride (ชื่อการค้า Quomem) ในการรักษาอาการซึมเศร้าในประเทศไทย จะเป็นการใช้ยานอกเหนือสรรพคุณยาที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย หากมีการโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพว่าใช้รักษาอาการซึมเศร้าก็จะเป็นการโฆษณาอันเป็นเท็จในทันที (เพราะเข้าตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(2))

แต่ถ้าใช้ Bupropion hydrochloride (เฉพาะชื่อการค้า Wellbutrin XL) ในการเลิกสูบบุหรี่ จะเป็นการใช้ยานอกเหนือสรรพคุณยาที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในทันที แม้ว่าชื่อการค้าอื่นจะได้รับอนุญาตให้ใช้ในการเลิกบุหรี่ได้ก็ตาม

ข้อมูล ณ วันที่ 23 กันยายน 2555

กรณีศึกษา ยากาโน่ ป๊อก

โฆษณาดังต่อไปนี้เข้าข่ายโฆษณาขายยาอันตราย ใครที่อยู่ร้านขายยาแล้วมีคนมาถามหายายาปฏิชีวนะยี่ห้อนี้ (เตตร้าไซคลิน ไฮโดคลอไรด์ 500 มิลลิกรัม) สำหรับแก้ปวดท้องน้อย ปวดมดลูก ขอให้ทราบไว้เลยว่าเป็นผลมาจากการโฆษณาทางวิทยุ ซึ่งต้องมีการให้ความรู้อีกมาก นอกจากนี้ยังมีโฆษณาผลิตภัณฑ์ยากินแก้ปวด (ไพร็อกซิแคม: piroxicam) อีกด้วย โฆษณามีทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า (นอกจากนี้ยังมีการลดแลกแจกแถมชิงรางวัลเป็นระยะตามรายการวิทยุ)

การเข้าไปฟัง (ลอกให้หมดแล้วไปแปะในช่องที่ใส่ชื่อเว็บไซต์)

http://radio3.thaidhost.com:81/flora/3. สปอตวิทยุ บจก.เวชภัณฑ์ยากาโน่ ป๊อก ซอฟร์ตี้ (โหลดที่นี่)/

http://radio3.thaidhost.com:81/flora/

การโฆษณาขายยาแสดงสรรพคุณยาอันตรายโดยตรงต่อประชาชน (ไม่ได้กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์) เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(6) ต้องระวางโทษตามมาตรา 124 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

หากมีการโฆษณาขายยาโดยการแจกของแถมหรือออกสลากรางวัล เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 90 ต้องระวางโทษตามมาตรา 124 เช่นกัน

ปล. เอกสารนี้จัดเป็นข้อมูลทางวิชาการ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแต่อย่างใด

กรณีศึกษา เครื่องสำอางเบรสเซ้นส์ พิงค์

โฆษณาเครื่องสำอาง ห้ามแสดงว่าทำให้หัวนมเป็นนมสีชมพู

ที่มา: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคและพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฉบับที่_122_ประจำปี_2555.pdf (กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 11 กันยายน 2555)

กรณีศึกษา เครื่องดื่มเปปทีน

โฆษณาเครื่องดื่มเปปทีน ซึ่งโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท แต่ในกรณีนี้ปรับ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบามถ้วน) ซึ่งเกินอัตราที่กำหนดโดยไม่แจ้งเหตุผลให้ชัดเจน ทำให้สามารถพิจารณาได้ดังนี

1. มีการโฆษณาหลายครั้งในหนึ่งเดือน ตรวจพบว่าทำผิดครั้งหนึ่งก็ปรับทบจำนวนเงินมาเรื่อย ๆ

2. ผู้โฆษณาอาจมีการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นว่าสามารถปรับได้ถึง 10,000 ได้ แต่ในเรื่องการบังคับคดีเหตุใดจึงไม่กล่าวถึงว่ามีการฝ่าฝืนในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้เลยว่าโฆษณาในโทรทัศน์ดาวเทียมเป็นโฆษณาแบบเดียวกับโฆษณาทางฟรีทีวีหรือไม่ เนื่องจากไม่มีแหล่งที่สามารถตรวจสอบได้ และจะทราบได้อย่างไรว่าเลขที่โฆษณาที่แสดงนั้นเป็นเลขที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ไม่มีข้อความอื่นสอดแทรกเพิ่มเข้ามา

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf (กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 5 กันยายน 2555)

กรณีศึกษา เครื่องดื่มอินทรา

การขายเครื่องดื่มอินทราซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร หากจะโฆษณาต้องได้รับอนุญาตก่อนการโฆษณา และห้ามโฆษณาแสดงสรรพคุณว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้


จากกรณีดังกล่าวนี้ โฆษณาดังกล่าวได้โฆษณาโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ในกรณีนี้ปรับ 1,000 บาท)

ส่วนข้อความที่แสดงว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้ เนื่องจากขึ้นทะเบียนเป็นอาหารไม่สามารถแสดงข้อความดังกล่าวได้ และข้อความที่ใช้อ้างว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถลดความดัน ลดภูมิแพ้ โรคเบาหวาน ต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ขับสารพิษ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด สร้างภูมิคุ้มกันระบบการย่อยอาหาร เป็นต้นถือว่าเป็นการโฆษณาแสดงสรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้ลงโทษในส่วนนี้แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการลงโทษตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ลังโคม

สำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ประกาศเตือนเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2555 ว่า ผลิตภัณฑ์ลังโคม ของลอรีอัล โฆษณาเกินจริง โดยโฆษณาว่าช่วยเสริมโครงสร้างการทำงานของร่างกาย เช่น การยกกระชับ การมีผลต่อการทำงานของยีน กระตุ้นการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิด อันมีลักษณะเป็นการโฆษณาในลักษณะที่บอกว่าเป็นยา ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ของตนเป็นเพียงเครื่องสำอางเท่านั้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

ที่มา
1. ไทยรัฐ 13 กันยายน 2555 หน้า 2
2. Inspections, Compliance, Enforcement, and Criminal Investigations (Lancome 9/7/12) http://www.fda.gov/ICECI/EnforcementActions/WarningLetters/2012/ucm318809.htm

กฎหมายสหรัฐไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการรับรองเครื่องสำอางก่อนออกสู่ตลาด (หากเทียบกับเมืองไทย คือไม่ต้องจดแจ้ง) ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงขึ้นกับจุดมุ่งหมายของการใช้ (ซึ่งต่างจากไทย เมื่อแจ้งเป็นเครื่องสำอาง จึงถือว่าเป็นเครื่องสำอางทันที) ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่มีลักษณะแบบเดียวกับยา จึงจะถือว่าเป็นยา และต้องผ่านมาตรการด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับยา นอกจากนี้กฎหมายของสหรัฐอเมริกายังไม่ได้แบ่งแยกระหว่างยากับเครื่องสำอางชัดเจนนัก เช่น แชมพูขจัดรังแค ถ้าเป็นแชมพูอย่างเดียวถือเป็นเครื่องสำอาง ถ้าบอกว่าขจัดรังแค ถือว่าเป็นยา

link อ้างอิง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=228289490630375&l=19d3d6554f

กรณีศึกษา แพทย์กับบริษัทยาที่ส่งเสริมการขายแบบ Off-label promotion

แพทย์เองก็อาจถูกหลอกขายยาหรือถูกหลอกให้ใช้ยาได้ผ่านรูปแบบการขายของบริษัทยาที่เรียกว่า Off-label promotion


ที่มาของภาพ:
Punishing Health Care Fraud — Is the GSK Settlement Sufficient?
http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMp1209249

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โอเมกา-3 (เช่น น้ำมันปลา) ในวารสาร JAMA

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA) วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2555 ซึ่งได้วิจัยในผู้ป่วย 68,680 คน พบว่า น้ำมันปลาไม่ได้มีส่วนช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิต ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด


Association Between Omega-3 Fatty Acid Supplementation and Risk of Major Cardiovascular Disease EventsA Systematic Review and Meta-analysis. JAMA. 2012;308(10):1024-1033
http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1357266