กรณีศึกษา เครื่องดื่มเปปทีน

โฆษณาเครื่องดื่มเปปทีน ซึ่งโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท แต่ในกรณีนี้ปรับ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบามถ้วน) ซึ่งเกินอัตราที่กำหนดโดยไม่แจ้งเหตุผลให้ชัดเจน ทำให้สามารถพิจารณาได้ดังนี

1. มีการโฆษณาหลายครั้งในหนึ่งเดือน ตรวจพบว่าทำผิดครั้งหนึ่งก็ปรับทบจำนวนเงินมาเรื่อย ๆ

2. ผู้โฆษณาอาจมีการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นว่าสามารถปรับได้ถึง 10,000 ได้ แต่ในเรื่องการบังคับคดีเหตุใดจึงไม่กล่าวถึงว่ามีการฝ่าฝืนในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้เลยว่าโฆษณาในโทรทัศน์ดาวเทียมเป็นโฆษณาแบบเดียวกับโฆษณาทางฟรีทีวีหรือไม่ เนื่องจากไม่มีแหล่งที่สามารถตรวจสอบได้ และจะทราบได้อย่างไรว่าเลขที่โฆษณาที่แสดงนั้นเป็นเลขที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ไม่มีข้อความอื่นสอดแทรกเพิ่มเข้ามา

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf (กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 5 กันยายน 2555)