กรณีศึกษา เครื่องดื่มอินทรา

การขายเครื่องดื่มอินทราซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร หากจะโฆษณาต้องได้รับอนุญาตก่อนการโฆษณา และห้ามโฆษณาแสดงสรรพคุณว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้


จากกรณีดังกล่าวนี้ โฆษณาดังกล่าวได้โฆษณาโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ในกรณีนี้ปรับ 1,000 บาท)

ส่วนข้อความที่แสดงว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้ เนื่องจากขึ้นทะเบียนเป็นอาหารไม่สามารถแสดงข้อความดังกล่าวได้ และข้อความที่ใช้อ้างว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถลดความดัน ลดภูมิแพ้ โรคเบาหวาน ต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ขับสารพิษ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด สร้างภูมิคุ้มกันระบบการย่อยอาหาร เป็นต้นถือว่าเป็นการโฆษณาแสดงสรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้ลงโทษในส่วนนี้แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการลงโทษตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf