กรณีศึกษา เครื่องดื่มอินทรา

การขายเครื่องดื่มอินทราซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร หากจะโฆษณาต้องได้รับอนุญาตก่อนการโฆษณา และห้ามโฆษณาแสดงสรรพคุณว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้


จากกรณีดังกล่าวนี้ โฆษณาดังกล่าวได้โฆษณาโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ในกรณีนี้ปรับ 1,000 บาท)

ส่วนข้อความที่แสดงว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้ เนื่องจากขึ้นทะเบียนเป็นอาหารไม่สามารถแสดงข้อความดังกล่าวได้ และข้อความที่ใช้อ้างว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถลดความดัน ลดภูมิแพ้ โรคเบาหวาน ต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ขับสารพิษ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด สร้างภูมิคุ้มกันระบบการย่อยอาหาร เป็นต้นถือว่าเป็นการโฆษณาแสดงสรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้ลงโทษในส่วนนี้แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการลงโทษตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ลังโคม

สำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ประกาศเตือนเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2555 ว่า ผลิตภัณฑ์ลังโคม ของลอรีอัล โฆษณาเกินจริง โดยโฆษณาว่าช่วยเสริมโครงสร้างการทำงานของร่างกาย เช่น การยกกระชับ การมีผลต่อการทำงานของยีน กระตุ้นการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิด อันมีลักษณะเป็นการโฆษณาในลักษณะที่บอกว่าเป็นยา ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ของตนเป็นเพียงเครื่องสำอางเท่านั้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

ที่มา
1. ไทยรัฐ 13 กันยายน 2555 หน้า 2
2. Inspections, Compliance, Enforcement, and Criminal Investigations (Lancome 9/7/12) http://www.fda.gov/ICECI/EnforcementActions/WarningLetters/2012/ucm318809.htm

กฎหมายสหรัฐไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการรับรองเครื่องสำอางก่อนออกสู่ตลาด (หากเทียบกับเมืองไทย คือไม่ต้องจดแจ้ง) ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงขึ้นกับจุดมุ่งหมายของการใช้ (ซึ่งต่างจากไทย เมื่อแจ้งเป็นเครื่องสำอาง จึงถือว่าเป็นเครื่องสำอางทันที) ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่มีลักษณะแบบเดียวกับยา จึงจะถือว่าเป็นยา และต้องผ่านมาตรการด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับยา นอกจากนี้กฎหมายของสหรัฐอเมริกายังไม่ได้แบ่งแยกระหว่างยากับเครื่องสำอางชัดเจนนัก เช่น แชมพูขจัดรังแค ถ้าเป็นแชมพูอย่างเดียวถือเป็นเครื่องสำอาง ถ้าบอกว่าขจัดรังแค ถือว่าเป็นยา

link อ้างอิง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=228289490630375&l=19d3d6554f

กรณีศึกษา แพทย์กับบริษัทยาที่ส่งเสริมการขายแบบ Off-label promotion

แพทย์เองก็อาจถูกหลอกขายยาหรือถูกหลอกให้ใช้ยาได้ผ่านรูปแบบการขายของบริษัทยาที่เรียกว่า Off-label promotion


ที่มาของภาพ:
Punishing Health Care Fraud — Is the GSK Settlement Sufficient?
http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMp1209249

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โอเมกา-3 (เช่น น้ำมันปลา) ในวารสาร JAMA

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA) วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2555 ซึ่งได้วิจัยในผู้ป่วย 68,680 คน พบว่า น้ำมันปลาไม่ได้มีส่วนช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิต ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด


Association Between Omega-3 Fatty Acid Supplementation and Risk of Major Cardiovascular Disease EventsA Systematic Review and Meta-analysis. JAMA. 2012;308(10):1024-1033
http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1357266

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เอเจล (AGEL)

ผลิตภัณฑ์เอเจล (AGEL) ถูกปรับในเรื่องการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

– เอเจลเอ็กซ์โซ: ระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความชรา

– เอเจลสลิมฟิต: ลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน

– เอเจลอูมิ: ไหลเวียนโลหิต บำรุงสุขภาพ

– เอเจล มิน: กระดูก ฟัน ข้อต่อ เป็นปกติ

– เอเจล โปร: เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนื่อเยี่อ

– เอเจลเฟร็ก: ข้อต่อแข็งแรง

– เอเจล ฮาร์ท: โรคหัวใจ ไขมัน คอเลสเตอรอล

– เอเจล แคล: กระดูกแข็งแรง


หากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ขึ้นทะเบียนเป็นอาหารตามกฎหมายไทย ห้ามโฆษณาโดยใช้ข้อความดังกล่าวข้างต้นด้วย

เอกสารอ้างอิง กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf (กันยายน 2555)

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์บริษัท นูทริฟาย จำกัด (ผลิตภัณฑ์บล็อกแป้ง)

แม้ว่าผลิตภัณฑ์บริษัทนี้ถูกปรับในเรื่องการโฆษณาอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ห้ามแสดงข้อความ สามารถบล็อกแป้ง ไขมัน และแคลอรี่ในมื้ออาหารนั้น ๆ ได้ 50% …โปรแกรมสำหรับเร่งการเผาผลาญ (Bern) ช่วยเร่งระบบเผาผลาญ


http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf

(กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, กันยายน 2555)

กรณีศึกษา สบู่ลักซ์

สบู่ลักซ์ ซึ่งจดแจ้งเป็นเครื่องสำอาง ห้ามโฆษณาว่าเสริมสร้างความแข็งแรงและการเกิดใหม่ของผิว (การสร้างเซลล์ผิวใหม่) …อีกทั้งยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวไม่ให้ถูกทำลายจากสภาพแวดล้อม จึงช่วยชะลอริ้วรอยที่เกิดจากวัย (มีลักษณะว่าเป็นการแสดงสรรพคุณของยา โดยเฉพาะเรื่องการสร้างเซลล์ผิวใหม่ การต่อต้านอนุมูลอิสระ) ไม่สามารถกระทำได้

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค_ฉบับที่_109__ปีงบประมาณ_2555.pdf

กรณีศึกษา ฮีรูสการ์โพสต์ แอคเน่

ฮีรูสการ์โพสต์ แอคเน่ ซึ่งจดแจ้งเป็นเครื่องสำอาง แต่ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาว่า “รอยหลุมสิวดูตื้นขึ้น…รอยดำ รอยอักเสบแดงแลดูจางลง…ช่วยลดปัญหาสิวเกิดซ้ำซ้อน” มีลักษณะว่าเป็นการแสดงสรรพคุณของยา ไม่สามารถกระทำได้

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค_ฉบับที่_109__ปีงบประมาณ_2555.pdf

 

หนังสือและเอกสารสุดฮิตของ กพย.ที่เกี่ยวกับโฆษณา

หนังสือ “ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา” และยาวิพากษ์ “การจัดการปัญหาโฆษณายาสู่ประชาชน

หนังสือทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา
ดาวน์โหลด: www.thaidrugwatch.org/download/books/adsvictim.pdf

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 12 : การจัดการปัญหาโฆษณายาสู่ประชาชน
ดาวน์โหลด: www.thaidrugwatch.org/download/series/series12.pdf

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย

สื่อแจกจากแผนงาน กพย.

หนังสือทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา
ดาวน์โหลด: www.thaidrugwatch.org/download/books/adsvictim.pdf

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 12 : การจัดการปัญหาโฆษณายาสู่ประชาชน
ดาวน์โหลด: www.thaidrugwatch.org/download/series/series12.pdf