search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515129
การเปิดหน้าเว็บ:9358126
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  กพย. เสนอรื้อกฎหมายยา
  23 สิงหาคม 2554
 
 


วันที่: 23 สิงหาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์ สสส. (www.thaihealth.or.th)
ลิงค์: www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/24008



กพย. เสนอรื้อกฎหมายยา หลังพบว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 2.7 แสนล้านบาท

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการประชุม วิชาการเพื่อพัฒนาระบบยา ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคมนี้ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการส่งสัญญาณเตือนภัยเงียบจากระบบยาของไทย ที่ควรมีมาตรการควบคุมอย่างเป็นระบบ และกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ยาอย่างถูกวิธี ว่า ข้อมูลจากการสาธารณสุขไทย ระหว่างปี 2551-2553 พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 2.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านยาเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้น

ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ยังพบสัดส่วนค่ายามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ 8-10 ต่อปี รวมทั้งมูลค่ายานำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนเพิ่ม มากกว่ายาที่ผลิตในประเทศ เนื่องจากวัตถุดิบสารสำคัญในการผลิตยาเป็นการนำเข้าเกือบทั้งสิ้น การประชุมวิชาการครั้งนี้มุ่งเสนอสถานการณ์การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม สภาพปัญหาการใช้ยาในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งข้อเสนอแนะการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ที่สำคัญในการประชุมจะมีการเสนอให้แก้ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ที่ไม่ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องการขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยเฉพาะกลุ่มยาใหม่การทบทวนตำรับยาอย่างเป็นระบบ การควบคุมการส่งเสริมการขายยา รวมทั้งบทกำหนดโทษของการโฆษณาที่ตั้งไว้อ่อนมาก เป็นต้น

"กพย.จะเปิดให้ประชาชนร่วมลงชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับประชาชน ให้ครบ 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ในร่าง พ.ร.บ.ยาใหม่นี้จะเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายยาแห่งชาติ มีระบบการควบคุมราคา จัดตั้งกองทุนเพื่อติดตามการใช้ยา การส่งเสริมการขายยา รวมทั้งการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาจากอาการไม่พึงประสงค์อย่างเป็น ระบบ" ผศ.ภญ.นิยดากล่าว

หลังจากนั้นมีการอภิปรายเรื่อง "การพัฒนาระบบยา : อะไรคือปัญหาและความท้าทายที่รออยู่"  โดยสรุปว่าระบบการใช้ยาแบ่งเป็น 3 ระบบใหญ่ คือ 1.ระบบการใช้ยาในโรงพยาบาล ที่มีการใช้ยาแตกต่างกัน เช่น โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จะใช้ยาน้อยเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย  ขณะที่โรงพยาบาลรัฐที่ดูแลผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ และโรงพยาบาลเอกชน จะใช้ยาจำนวนมากเพื่อเพิ่มรายได้ 2.ระบบการใช้ยาในร้านขายยา เป็นระบบที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายโดยไปซื้อยามากินเอง แต่มีโอกาสสูงที่จะใช้ยาโดยไม่เหมาะสม และ 3.ระบบการใช้ยาแผนโบราณ มีปัญหาด้านคุณภาพมาตรฐาน มีการปนเปื้อนสเตียรอยด์ มีสารตกค้างในร่างกายสร้างผลเสียทางสุขภาพให้แก่ประชาชนมาก