search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6603230
การเปิดหน้าเว็บ:9453045
Online User Last 1 hour (0 users)


Page 1 
Q: กพย. เปิดให้ทุนสนับสนุนในการทำวิจัย ทำงานเพื่อเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาบ้างหรือไม่
A: สำหรับผู้ที่สนใจจะร่วมแบ่งปันความรู้อันมีค่า และมีแนวความคิดจัดทำโครงการที่น่าสนใจที่สามารถสร้างประโยชน์แก่สาธารณะชน โดยมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของแผนงาน สามารถแสดงความจำนงขอการสนับสนุนช่วยเหลือด้านเงินทุน รวมไปถึงข้อมูลทางวิชาการได้ โดยนำเสนอโครงการดังกล่าวโดยละเอียด มาที่อีเมล spr.chula@gmail.com เพื่อขอรับการพิจารณาสนับสนุนได้ หรือติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 02-218 8452 ในเวลาราชการ

Q: หากสนใจรับข่าวสารหรือเข้าเป็นสมาชิก กพย. จะต้องทำอย่างไร
A: สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร สามารถติดต่อเข้ามายัง กพย. ตามรายละเอียดในหน้า "ติดต่อเรา"

Q: กพย. มีการจัดพิมพ์เอกสารวิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะบ้างหรือไม่
A: ปัจจุบัน กพย. มีการจัดทำจดมายข่าวเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาอันได้แก่ ยาวิพากษ์ ที่มีกำหนดการเผยแพร่ทุก ๆ 2 เดือนผ่านไปยังช่องทางต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถานประกอบการเภสัชกรรม หอสมุดประชาชน ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตำราทางวิชาการ ข้อมูลทางสถิติ และชุดเอกสารเผยแพร่ความรู้จากการวิจัย ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ จากข้อมูลจริง ผ่านระบบขั้นตอนวิธีการวิจัยที่สากลยอมรับ เพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการให้กับหน่วยงานด้านวิชาการต่างๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้อ้างอิงและพิสูจน์ได้

Q: เครือข่ายของกพย.มีใครบ้าง หากอยากเข้าร่วมทำจะอย่างไร
A: เครือข่ายของกพย.มีในทุกระดับในทุกภูมิภาค ได้แก่เครือข่ายในระดับชุมชน ซึ่งรวมทั้งเครือข่ายที่เป็นผู้ให้บริการ ได้แก่ ชมรมเภสัชชนบทที่อยู่ตามโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายเภสัชกรในร้านยา (เภสัชกรรมชุมชน)รวมทั้งเครือข่ายประชาชนที่ทำงานพัฒนาชุมชนและสุขภาพเช่นเครือข่ายผู้ป่วยต่างๆ เครือข่ายศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพประชาชน, เครือข่ายในสถานพยาบาลขนาดต่างๆที่ทำงานเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาในโรงพยาบาลและจังหวัดต่างๆ เครือข่ายในด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบยา เครือข่ายที่ทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะมทั้งในระดับชุมชนและในสถานพยาบาล และเครือข่ายรัฐที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในระบบยาในระดับจังหวัดและส่วนกลาง

Q: กพย. สำคัญอย่างไรกับคนทั่วไป
A: เพราะ"ยา"รักษาโรคนั้น ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องใช้ยาหากเจ็บป่วยได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ ประชาชนไม่สามารถมีความรู้ ความเท่าทันในการตัดสินใจบริโภคยาได้เช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่นๆ ประกอบกับยังมีปัญหาในระบบยามากมายที่ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร เช่น การโฆษณา ส่งเสริมการขายยาทั้งต่อประชาชน ต่อผู้สั่งใช้ยา การมียาราคาแพง การสั่งใช้ยาไม่เหมาะสม รวมทั้งความเชื่อต่างๆของประชาชนที่ไม่เอื้อต่อการพึ่งตนเองด้านยาของตนเอง และประเทศ เช่นความเชื่อว่าการได้รับยามากๆป็นสิ่งดี การเชื่อว่ายานอกที่ราคาแพงมีคุณภาพดีกว่ายาผลิตในประเทศ เป็นต้น จึงมีความสำคัญยิ่งที่จะมีหน่วยงาน "กพย" คอยเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ดูแล ควบคุม เผยแพร่ข่าวสารและพัฒนาระบบยาให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของระบบยาและระบบสุขภาพ

Q: ปัจจุบันใครเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของ กพย.
A: ผู้จัดการแผนงานคนปัจจุบันคือ ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี