search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6619922
การเปิดหน้าเว็บ:9470449
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เปิดรายงานใช้ยา พึ่ง"ของนอก"อื้อ
  02 พฤศจิกายน 2553
 
 


ไทยโพสต์ วันที่ 2 กันยายน 2553

กพย.เปิดตัวหนังสือรายงานสถานการณ์ระบบยาฉบับแรก พบคนไทยใช้ "ยาแพง" เหตุพึ่งแต่ยานอกนำเข้า ชี้ข้าราชการเบิกใช้แต่ยาใหม่อันตรายกว่า ขณะที่ร้อยละ 42 สั่งใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาด เตรียมเสนอ สช.แก้ปัญหาดื้อยา

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดตัวหนังสือ "รายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี 2552" ครั้งแรกของประเทศไทย ผ่านตัดชี้วัดสำคัญ 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ธรรมาภิบาล 2.การพึ่งตนเองทางด้านยาของไทย 3.ความปลอดภัย 4.ความเป็นธรรมในระบบยา 5.คุณภาพ 6.การเข้าถึงยาจำเป็น และ 7.การใช้ยาอย่างเหมาะสม

ภญ.อรวรรณ เกตุเจริญ จาก รพ.จุฬาฯ กล่าวสรุปรายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี 2552 พบว่า จากตัวชี้วัดการพึ่งตนเองด้านยาของไทย ศักยภาพของอุตสาหกรรมยาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากมีการนำเข้ายาจากต่างประเทศสูงถึงร้อยละ 75 ขณะที่ใช้ยาซึ่งผลิตในประเทศเพียงร้อยละ 25 ส่วนตัวชี้วัดด้านความปลอดภัยของยาสะท้อนให้เห็นว่ายังพบยาที่ไม่เหมาะสมอยู่ใน รพ. ร้านยา และชุมชน คนไทยต้องกินยาที่มีราคาแพงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาเช่นเดียวกัน และพบว่ามีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้สูงถึงร้อยละ 42

ภญ.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ชุมชนไปสำรวจการใช้ยาของประชาชน พบว่า มีการใช้ยาเกินความจำเป็น โดยปี 2551-2552 เข้าเยี่ยม 700 ราย และปี 2552-2553 กำลังเข้าไปเยี่ยมเพิ่มอีก 700 ราย พบว่า ผู้ป่วย 1 คนที่เป็นโรคเรื้อรัง มีมูลค่า การใช้จ่ายยาประมาณไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ต่อคน/ต่อเดือน และ 1 คน มีการใช้ยาเฉลี่ย 6.7 รายการ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้สิทธิเบิกจ่ายยาในระบบข้าราชการ ที่พบยาราคาแพงที่หมดอายุในบ้านมูลค่ากว่า 70,000 บาท ซึ่งผู้ป่วยหลายรายมีแนวโน้มปรับลดการใช้ยาเอง และนำยาของตัวเองไปแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านหรือใช้ด้วย 

ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนการ กพย. กล่าวว่า ต้องปรับทัศนะการใช้ยาของผู้ใช้สิทธิเบิกจ่ายยา ในระบบข้าราชการที่ได้รับยาเกินความจำเป็น และส่วนใหญ่เป็นใหม่ คือยาที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแต่ต้องติดตามเฝ้าระวัง ในวงการเภสัชกรรมจะถือว่า เป็นอันตรายกว่ายามาตรฐานเดิม ยกเว้นบางโรค เช่น มะเร็ง สะเก็ดเงิน ที่จำเป็นต้องใช้ยาใหม่ โดยเร็วๆ นี้ทาง กพย.จะเสนอปัญหาการดื้อยาจากยาปฏิชีวนะต่อสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.)