search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6619975
การเปิดหน้าเว็บ:9470502
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วย การส่งเสริมการขายยา
  01 พฤศจิกายน 2553 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


การรณรงค์จริยธรรมในการส่งเสริมการขายยา เป็นกิจกรรม สำคัญในการร่วมกันสร้าง “ระบบการใช้ยาที่เหมาะสม” ของทุก ประเทศทั่วโลก โดยที่อาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าในเรื่องนี้น้อย มากนับตั้งแต่ที่องค์การอนามัยโลกได้มีการจัดทำเกณฑ์จริยธรรมว่า ด้วยการส่งเสริมการขายขึ้นในปี ค.ศ. 1988 อย่างไรก็ตาม ผลของ การโฆษณาส่งเสริมการขายที่ขาดการกำ กับด้วยหลักเกณฑ์ จริยธรรมได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั่วโลก ผู้บริโภคส่วนหนึ่งต้อง เจ็บป่วย เสียชีวิตเพราะการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม กรณี ของยาไวออกซ์ (Vioxx®) ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2004 เป็นตัวอย่างที่ ชัดเจนและกรณียานิวรอนติน (Neurontin®) ที่มีการส่งเสริมการขาย ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสรรพคุณอย่างที่กล่าวอ้างเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านั้นว่าการส่งเสริมการขายยาอย่างเข้มข้น เป็นเหตุให้มีการ สั่งใช้ยา ผู้ป่วยต้องเสียเงินค่ายาที่แพงมากกับยาที่ไม่มีสรรพคุณ อย่างที่กล่าวอ้าง

ประเทศส่วนใหญ่ยอมรับว่าหลักการควบคุมกันเองของกลุ่ม ผู้ผลิตยาเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่การควบคุมการส่งเสริมการขายด้วย หลักการควบคุมกันเองไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดอำนาจใน การบังคับใช้แม้แต่ในกลุ่มที่เป็นสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมยา ที่มีหลักเกณฑ์จริยธรรมชัดเจน รวมทั้งไม่สามารถบังคับบริษัทยาที่ มิได้เป็นสมาชิก สำหรับสหรัฐอเมริกาเองตระหนักเรื่องนี้ดีขึ้น หลังจากที่ผู้บริโภคนับพันคนต้องรับผลจากทั้งสองกรณีข้างต้น และเตรียมการใช้กฎหมายควบคุมการส่งเสริมการขายยา (Physician payment sunshine act) โดยที่บางมลรัฐ เช่น เวอร์มอนต์ แมสซาซู เซส และอีกประมาณ 20 รัฐได้ตรากฎหมายควบคุมการส่งเสริมการ ขายยาต่อแพทย์ก่อนหน้านี้แล้ว โดยหลักการสำคัญของกฎหมาย ใหม่อยู่ที่การกำหนดให้บริษัทยาต้องรายงานค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดต่อสาธารณะ ซึ่งหมายรวมถึงค่าเลี้ยงรับรอง ค่าอาหาร ค่า เดินทาง ค่าสนับสนุนการวิจัย ฯลฯ แก่แพทย์และบุคลากรทางการ แพทย์ ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสั่งใช้ยา ทำให้ยาราคาแพง และกัดเซาะความไว้วางใจระหว่างแพทย์และผู้ป่วย

สำหรับ ประเทศไทย นับเป็นโอกาสดี ในรอบปีที่ผ่านมา ภาครัฐได้ดำเนินการหลายเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าให้ความสำคัญกับการ ควบคุมการส่งเสริมการขาย อาทิ การกำหนดให้มีนิยามและหมวด ที่ว่าด้วยการส่งเสริมการขายเป็นครั้งแรกในร่างพระราชบัญญัติยา ฉบับใหม่ หรือความพยายามในการจัดการกับบริษัทที่ละเมิด จริยธรรมในการส่งเสริมการขาย นำยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ มาโฆษณาแอบแฝงในรูปสื่อความรู้ โดยที่มิได้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วน เช่น กรณีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มิได้ให้ความรู้ว่าวัคซีนยัง ไม่สามารถป้องกันได้ทุกสายพันธ์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจ คัดกรองที่เรียกว่าแปบเสมียร์ ส่วนยาคุมกำเนิดก็ถูกนำมาโฆษณา สรรพคุณที่มิได้รับอนุญาตว่าเป็นฮอร์โมนสูตรผิวสวย เป็นต้น

ส่วนที่เป็นที่น่าเสียดาย คือ ยังมิได้มีการนำเกณฑ์จริยธรรมว่า ด้วยการส่งเสริมการขายยาขององค์การอนามัยโลกมาปรับใช้ทั้ง ฉบับ การจัดการปัญหาการส่งเสริมการขายยาในประเทศไทยจึง เป็นเรื่อง ๆ เฉพาะคราว มิได้มีความยั่งยืน

เนื่องในโอกาสที่แผนงานเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะ เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นควรให้มีการจัดประชุม วิชาการประจำปี 2552 จึงถือเป็นโอกาสที่จะได้จัดพิมพ์เกณฑ์ จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาขึ้นใหม่เป็นครั้งที่สาม โดย ได้บรรจุความก้าวหน้าในการดำเนินการควบคุมการส่งเสริมการ ขายยาขององค์การอนามัยโลกไว้ด้วย

ด้วยความมุ่งมั่นเช่นเดียวกับกลุ่มศึกษาปัญหายา และมูลนิธิ สาธารณสุขกับการพัฒนา แผนงานฯ ต้องการสื่อสารไปยังผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ แพทย์ เภสัชกร และบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ สื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพ อุตสาหกรรมผู้ผลิตยา อุตสาหกรรมสื่อโฆษณายา ผู้ป่วย และ ผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความตระหนัก และระมัดระวังว่าประเทศไทย ยังไม่มีการประยุกต์ใช้เกณฑ์จริยธรรมเพื่อการส่งเสริมการขายที่ ครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งย่อมส่งผลให้มีการบริโภคยามากเกินจำเป็น บริโภคยาผิด บริโภคยาแพง ในผู้ป่วยและผู้บริโภคชาวไทยเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง การหยุดยั้งปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาด จริยธรรมขึ้นกับความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือของทุกฝ่าย

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติการส่งเสริมการขายยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงบริการสุขภาพที่ขาดจริยธรรม...