search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6518887
การเปิดหน้าเว็บ:9362133
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อภ.เร่งผลิตยาโรงงานใหม่รังสิต คาดผลิตเต็มสูบ 2,500 ล.เม็ดต่อปีในปี 60
  24 กันยายน 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108052



        อภ. เร่งเดินหน้าผลิตยาที่โรงงานยารังสิต คาดผลิตได้เต็มสูบ 2,500 ล้านเม็ดต่อปี ในกลางปี 2560 ช่วยเพิ่มยอดการผลิตขึ้นอีก 50% เผยโรงงานวัคซีนสระบุรีล่าช้ากว่า 8 ปีเดินหน้าต่อได้แล้ว รมว.สธ. สั่งลุยเต็มที่
       
       วันนี้ (24 ก.ย.) เมื่อเลา 14.00 น. นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) และความคืบหน้าของการเปิดสายการผลิตของโรงงานผลิตยารังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาแห่งใหม่ของ อภ. นอกเหนือจากโรงงานที่พระราม 6 โดยมี พล.ท.ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.อภ. และคณะให้การต้อนรับ
       
       นพ.นพพร กล่าวว่า การดำเนินงานของ อภ. ในปี 2558 อภ. มีรายได้สุทธิ 1,014 ล้านบาท สามารถนำส่งรัฐได้ 515 ล้านบาท ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้มากถึง 4,090 ล้านบาท สำหรับแผนยุทธศาสตร์ในปี 2559 - 2563 มีเป้าหมายใน 3 เรื่อง คือ 1. การผลิตและจัดหายาจำเป็น โดยจะเร่งเปิดการดำเนินการโรงงานผลิตยารังสิตให้ได้ ปรับปรุงการผลิตยาที่โรงงานพระราม 6 เป็นต้น 2. เพิ่มการเข้าถึงยา และ 3. ทำให้องค์กรอยู่ได้คือมีกำไรและประหยัดงบประมาณภาครัฐ สำหรับโรงงานผลิตยาแห่งใหม่ที่รังสิต ดำเนินการผลิตตามมาตรฐาน GMP-PIC/S ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะให้การรับรองใน ต.ค. นี้ ทั้งมาตรฐานความสะอาด ระบบปรับอากาศ ระบบลมอัด ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ส่วนสายการผลิตนั้นมีการนำระบบ Manufacturing Execution System : MES  ซึ่งเป็นระบบติดตามควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนในรูปแบบ หากขั้นตอนการผลิตใดไม่ผ่านมาตรฐานระบบจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป
       
       นพ.นพพร กล่าวว่า โรงงานผลิตยารังสิตมีกำลังผลิตยาสูงถึง 2,500 ล้านเม็ดต่อปี ผลิตได้ทั้งยาเม็ดและแคปซูลจำนวน 32 รายการ  มีทั้งยาที่มีมูลค่าการใช้สูง เช่น ยาเบาหวาน ยาความดัน ยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งเพิ่มจากโรงงานผลิตยาพระราม 6 แห่งเดิมที่ผลิตได้ 5,000 ล้านเม็ดต่อปี เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 ส่วนแผนการโอนย้ายการผลิตยาจากโรงงานพระราม 6 มายังโรงงานที่รังสิตนั้น จะต้องยื่นแก้ไขทะเบียนตำรับกับ อย. ก่อน ซึ่งในส่วนของยารูปแบบแคปซูลชั้นที่ 1 จะแล้วเสร็จใน พ.ย. 2559 มีกำลังการผลิต 350 ล้านแคปซูลต่อปี  ยาเม็ดชั้นที่ 1 จะโอนย้ายการผลิตแล้วเสร็จใน พ.ค. 2560 มีกำลังการผลิต 1,400 ล้านเม็ดต่อปี  ส่วนยารูปแบบแคปซูลชั้นที่ 2 จะโอนย้ายแล้วเสร็จใน พ.ย. 2558 มีกำลังการผลิต 150 ล้านแคปซูลต่อปี และยาเม็ดชั้นที่ 2 จะโอนย้ายแล้วเสร็จใน ธ.ค. 2558 มีกำลังการผลิต 600 ล้านเม็ดต่อปี
       
       "ส่วนโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกที่ จ.สระบุรี ซึ่งมีความล่าช้ามานานนั้น ทั้งในเรื่องของเทคนิค การเปลี่ยนแบบ น้ำท่วม ขณะนี้ได้ให้บริษัทผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างต่อแล้ว จะแล้วเสร็จในปลายปี 2559 ส่วนเรื่องเครื่องมือที่เดิมเคยซื้อมาล่วงหน้า 2 ปี ทำให้ชิ้นส่วนบางอันเสียหาย ในส่วนนี้องค์การอนามัยโลกสนับสนุนงบฯมาปรับปรุงแล้ว 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้ขอคำปรึกษาอัยการสูงสุดในการหาทางออกร่วมกันด้วยว่า ควรเป็นความรับผิดชอบบริษัทรับเหมาหรือ อภ." ผอ.อภ. กล่าว    
       
       ด้าน นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า โรงงานวัคซีนที่ยังไม่แล้วเสร็จนั้น ขอให้เดินหน้าต่ออย่างเต็มที่ เพราะถือเป็นมหากาพย์ที่ยาวนาน ตั้งแต่ปี 2550 เป็นเวลา 8 ปีแล้ว จึงถือเป็นเรื่องดีที่จะเดินหน้าต่อ สิ่งสำคัญต้องวางแผน และบริหารให้ดี ให้เก่ง ไม่ใช่เวลาต้องมาเรียนรู้ แต่ต้องเอาความรู้มาใช้แล้ว นอกจากนี้  ในเรื่องการพัฒนามาตรฐานการผลิตระดับสากลนั้น เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ เพราะจะดีในแง่การผลิตส่งออก ไม่ใช่แค่ขายในประเทศเท่านั้น ซึ่งจะลดปัญหายาสต็อกค้างด้วย สิ่งสำคัญ อภ. ต้องบริหารแบบเอกชน แต่ต้องทำเพื่อประชาชน คือ ไม่ได้ต้องการกำไรมาก แต่ต้องเก่งในการบริหาร รู้เท่าทัน และทำให้ประชาชนเข้าถึงยาได้อย่างเพียงพอ