|
|
|
|
สถิติ
|
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628060 การเปิดหน้าเว็บ:9479154 Online User Last 1 hour (0 users)
|
|
|
|
|
|
|
เสนอ รพ.เอกชน 2 ทาง ปชช.ซื้อยาเองตามใบสั่งหมอ-แจงต้นทุนบวกกำไรค่ายา |
|
|
|
25 พฤษภาคม 2558
|
|
|
|
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000059370
ตั้งทีมเภสัชฯ ร่วมภาคประชาชน หารือ รพ.เอกชน เสนอ 2 ทางเลือกแก้ปัญหายาแพง ไม่คุมราคายา แต่ให้ ปชช.วื้อยาร้านยาตามใบสั่งหมอได้ หรือปิดราคายาตามีราคาโรงงาน แต่ต้องชี้แจงกำไรที่บวกเพิ่ม ขอคำตอบ 1-2 สัปดาห์ ส่วนสิทธิฉุกเฉินให้ สพฉ.คุม จ่ายล่วงหน้าหากส่งต่อผู้ป่วยหลังวิกฤตตามสิทธิไม่ได้ วันนี้ (25 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ กรรมการแพทยสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหา รพ.เอกชนเก็บค่ารักษาพยาบาลแพง ได้เรียกประชุมคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ซึ่งมีตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมหารือเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ อาทิ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ตัวแทนสถานพยาบาลเอกชน สมาคม รพ.เอกชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แพทยสภา นายกสภาเภสัชกรรม สมาคมประกันชีวิต เป็นต้น ซึ่งระหว่างประชุมไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าฟัง อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมจะมีการเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการแก้ปัญหา รพ.เอกชนเก็บค่ารักษาแพง ที่มี รมว.สาธารณสุข และรมว.พาณิชย์ ร่วมเป็นประธาน ทั้งนี้ นพ.ศุภชัย ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมว่า ที่ประชุมมีข้อสรุป 3 เรื่องคือ 1.ค่ายา รพ.เอกชนแพง มี 2 ข้อเสนอคือ ปล่อยให้ราคายาเป็นไปตามกลไกการตลาด แต่จะออกประกาศให้ประชาชนสามารถนำใบสั่งยาของแพทย์ไปซื้อยาที่ร้านขายยาได้ และ รพ.เอกชนจะต้องปิดป้ายราคายาตามราคาโรงงานให้ชัดเจน ส่วนการบวกกำไรต้องสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายให้โปร่งใส เช่น ค่าขนส่ง ค่าบริการ ค่าเภสัชกร ฯลฯ โดยมอบให้สภาเภสัชกรรม อย. กรมการค้าภายใน นักวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ และภาคประชาชนไปเจรจาร่วมกับ รพ.เอกชนว่าจะใช้แนวทางใดภายใน 1-2 สัปดาห์ หากไม่ได้ข้อสรุปก็ให้มีข้อเสนอกลับมาพิจารณา นพ.ศุภชัย กล่าวว่า 2.รพ.เอกชนเรียกเก็บค่ารักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้ให้ สพฉ.เป็นหลักในการดำเนินการ โดยให้กำหนดนิยามคำว่าฉุกเฉินให้ชัดเจนในทางปฏิบัติ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ส่วน รพ.ทุกแห่งห้ามปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉินต้องรักษาจนพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง โดย สพฉ.จะประสานไปยัง 3 กองทุนตามสิทธิของผู้ป่วยว่าจะส่งต่อไปที่ รพ.ใด หากระบบไม่สามารถส่งต่อได้ สพฉ.จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก่อนจะแจ้งไปกองทุนตามสิทธิของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยปฏิเสธการส่งต่อจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ส่วนการเบิกจ่ายเงิน รพ.เอกชนจะต้องแจ้งให้ สพฉ.ทราบล่วงหน้าก่อน แล้ว สพฉ.จะพิจารณาตามฐานความปลอดภัยของผู้ป่วย และข้อมูลจากแพทย์โดยเร็วที่สุด สำหรับอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะมีทีมเจรจากับ รพ.เอกชนเพื่อกำหนดราคาค่าหัตถการ จะให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังได้ตั้งกรรมการร่วมระหว่าง สพฉ.และ 3 กองทุน ทำหน้าที่พัฒนา แก้ปัญหาในโครงการด้วย นพ.ศุภชัย กล่าวว่า 3.การเปิดเผยข้อมูลค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยที่สามารถรอได้ นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดี สบส.ร่วมกับกรมบัญชีกลาง กำหนดประเภทของโรคจำนวน 77 กลุ่มโรค ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลของ รพ.ต่างๆ เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ของ สบส. และลิงค์ไปยัง รพ.แต่ละแห่ง เพื่อเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นให้ประชาชนตัดสินใจก่อนรับบริการ ซึ่งต้องทำให้เสร็จใน 1 เดือนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะมีการหารือข้อสรุปการแก้ไขปัญหาทั้งหมดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการอำนวยการชุดที่มี รมว.สาธารณสุข และ รมว.พาณิชย์เป็นประธานพิจารณา
|
|
|
|
|
|