search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6619914
การเปิดหน้าเว็บ:9470441
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ผงะ! ดีเอสไอนำทีมบุกยึดยาลดความอ้วนค่ากว่า 100 ล้าน พบเงินหมุนเวียน 600 ล./ปี
  04 กุมภาพันธ์ 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000013797
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม     



        ดีเอสไอผสานกำลังสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และอย.บุกตรวจโรงงานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยึดยาลดความอ้วนกว่า 1 ล้านแคปซูล เผยเงินหมุนเวียน 600 ล้านต่อปี
       
       เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (4 ก.พ.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ร่วมแถลงผลการเข้าตรวจสอบโรงงานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใน จ.สมุทรสาคร และบริษัท เมโซ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด สามารถยึดของกลางได้กว่า 1 ล้านแคปซูล มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท โดยเป็นการผสานกำลังร่วมกับชุดปฏิบัติการพิเศษ สำนักปฏิบัติการพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้าตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมไม่บริสุทธิ์ อาหารปลอม อาหารผิดมาตรฐาน และโฆษณาเกินจริง ในสถานที่เป้าหมาย 2 แห่ง
       
       จุดที่ 1 บริษัท เมโซ เอนเทอร์ไพรซ์ จำกัด เลขที่ 8/29 ซอยนาคนิวาส 34 ถนนนาคนิวาส แขวงและเขตลาดพร้าว กทม. สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราเมโซ (Mezo) พบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก มูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท ราคาขายตามท้องตลาดกล่องละ 2,490 บาท ในกล่องบรรจุ 30 แคปซูล ขายปลีกราคาเม็ดละ 100 บาท

        จุดที่ 2 โรงงานผลิตอาหารเสริม บริษัท สุกฤษ 55 จำกัด เลขที่ 78/6 และ 78/7 หมู่ 1 ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายความผิด เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักตราเมโซ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก ตรา FOMO V Shape Body ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก ตราดับเบิลยูพีพลัส และผลิตภัณฑ์เอฟบีแอลพลัส มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท

       พ.ต.ต.สุริยากล่าวว่า เจ้าหน้าที่ได้ยึดอายัดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งหมด เนื่องจากแสดงชื่อไม่ตรงกับที่จดแจ้งไว้ และแสดงฉลากข้อความอวดอ้างสรรพคุณฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาหารและยา มาตรา 6 (10) และมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 คิดเป็นเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 45 ล้านบาท

        นอกจากนี้ยังพบว่า มูลค่าการซื้อขายอาหารเสริมดังกล่าวมียอดการจำหน่ายต่อปีกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งต้องตรวจสอบการยื่นเสียภาษีอีกด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่จำหน่ายในท้องตลาด มีกระบวนการผลิตที่ใช้ยาควบคุมปนเปื้อนเป็นส่วนผสม เช่น เซนิคอน และยังกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
       
       สำหรับการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิดนั้น ดีเอสไออยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐาน โดยในส่วนของโรงงานยังไม่สั่งปิด เนื่องจากผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์ให้กับหลายบริษัท แต่หากพบว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากโรงงานมีความผิด ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย รวมถึงสั่งปิดโรงงานด้วย