search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515693
การเปิดหน้าเว็บ:9358748
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  บัตรทองเพิ่มสิทธิประโยชน์ "ยา" 6 รายการ ทั้งมะเร็ง ผ่าจอตา ฮีโมฟีเลีย
  01 กุมภาพันธ์ 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000012440



        บอร์ด สปสช. เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านยา 6 รายการ มูลค่า 115 ล้านบาท ทั้งยาป้องกันสมองถูกทำลายจากการชัก ยารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว ผ่าจอตา และฮีโมฟีเลีย ชี้ช่วยผู้ป่วยเชข้าถึงยาจำเป็นราคาแพง ลดภาระโรงพยาบาล ประหยัดงบกองทุนสุขภาพภาครัฐ
       
       ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า การเข้าถึงยาที่จำเป็นถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเข้าถึงการรักษา และเพื่อให้ผู้ป่วยสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น บอร์ด สปสช. จึงอนุมัติสิทธิประโยชน์ด้านยาเพิ่มเติม 6 รายการ ได้แก่ 1. ยาลอราซีแพม อินเจกชัน ใช้ฟื้นฟูลดภาวะที่สมองจะถูกทำลายและเสียชีวิตจากการชัก มีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยา 3,000 - 5,000 คนต่อปี มูลค่ายาราว 3 ล้านบาทต่อปี 2. ยาทริแพน บูล ใช้ย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาระหว่างผ่าตัดต้อกระจก และย้อม Internal Limiting membrane กรณีผ่าจอตา มีผู้ป่วยต้องการใช้ประมาณ 10,000 รายต่อปี มูลค่ายาราว 14 ล้านบาทต่อปี  3. ยาอินดอคยาไนน์ กรีน ใช้วินิจฉัยโรคจุดภาพเสื่อม (PCV ) มีผู้ป่วยที่ต้องการใช้ประมาณ 20,000 ราย มูลค่าราว 38 ล้านบาทต่อปี
       
       4. ยาดาคาบาซีน ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดกินส์ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับยานี้มีโอกาสหาย มีผู้ที่ต้องรับยานี้ประมาณ 100 คนต่อปี มูลค่ายาราว 14 ล้านบาท  5. ยารักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว APL ใช้สำหรับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา All-trans-retinoic acid มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับยานี้ประมาณ 1,000 คน มูลค่ายาราว 14 ล้านบาท และ 6. Factor Vlll และ Factor IX สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย A และ B การใช้ยานี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลกรณีเลือดออกรุนแรงได้ปีละ 500,000 - 600,000 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง มีผู้ป่วยที่ต้องใช้รับยานี้ประมาณ 1,483 ราย มูลค่ายาราว 32 ล้านบาท  ทั้งนี้ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ยา 6 รายการ ใช้งบประมาณ 115 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณในส่วนของบริหารจัดการยาที่มีปัญหาการเข้าถึงปี 2558 ยกเว้นยา Factor Vlll และ Factor IX ซึ่งใช้งบค่าใช้จ่ายสูงสำหรับการดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย ปี 2558
       
       ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากการบริหารจัดการยาของ สปสช. ส่งผลให้เกิดการต่อรองราคายารวม ช่วยประหยัดงบประมาณบัตรทองปีละเกือบหมื่นล้านบาท และช่วยประหยัดงบประมาณกองทุนรักษาพยาบาลอื่นด้วย ซึ่งเชื่อว่าการเพิ่มสิทธิประโยชน์ยา 6 รายการดังกล่าว จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อยาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระค่ายาที่มีราคาแพงให้กับโรงพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง