search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6516144
การเปิดหน้าเว็บ:9359202
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  แฉ! บ.ยาข้ามชาติค้านหนัก ทำพ.ร.บ.ยาใหม่สะดุด เหตุไม่ยอมเปิดราคายา-ต้นทุน
  23 มกราคม 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008530



        ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ สะดุด ยังไม่เข้า ครม.พิจารณา เหตุ บ.ยาข้ามชาติเคลื่อนไหวคัดค้านหนัก หลังกฎหมายกำหนดให้เปิดเผยโครงสร้างราคายา ต้นทุน เอ็นจีโอจี้รองนายกฯเคลียร์ทำเพื่อชาติหรือไม่

        แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากเครือข่ายเภสัชกรออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ เพราะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่อนุญาตให้บุคลากรสาธารณสุขวิชาชีพอื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่จัดการควบคุมการผลิต ขาย นำเข้ายาได้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ในฐานะหน่วยงานหลักในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ จึงได้มีการหารือเครือข่ายเภสัชกร และได้มีการปรับแก้ไขเพิ่มเติมและส่งกลับไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการบรรจุเข้าวาระการพิจารณาใน ครม. เนื่องจากยังคงมีความพยายามจะให้แก้ร่าง พ.ร.บ.ยาฯดังกล่าวอีกจากบริษัทยาข้ามชาติจำนวนมาก คัดค้านเรื่องโครงสร้างราคายา
       
        "บริษัทเหล่านี้มองว่า ในร่างกฎหมายควรเน้นเรื่องคุณภาพยา ประสิทธิภาพยา แต่ไม่ควรไปเกี่ยวเนื่องกับราคายา ขณะที่ภาคเอ็นจีโอกลับมองว่าการควบคุมโครงสร้างราคายาให้มีความเป็นธรรม จะส่งผลต่อการเข้าถึงยาได้ เห็นได้จากกรณียาต้านไวรัสเอชไอวี ที่เดิมมีราคาแพงมาก แต่เมื่อรัฐบาลประกาศทำซีแอล หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรคุ้มครองราคายา ทำให้ยาถูกลง และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงน่าจับตามองว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะผลักดันร่างพ.ร.บ.ยาฯ" แหล่งข่าวฯ กล่าว
       
        นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ไม่เคยกำหนดเรื่องการแจ้งราคายา แต่ พ.ร.บ.ตัวใหม่กำหนดไว้ชัดเจนว่า เมื่อบริษัทฯมาขอขึ้นทะเบียนยา ต้องแจ้งเกี่ยวกับโครงสร้างราคายา ต้นทุน ซึ่งบริษัทยาจะมองว่าไม่เกี่ยวกับ สธ. ทั้งที่ไม่ใช่ เพราะ อย.ต้องดูทั้งประสิทธิผล ประสิทธิภาพของยา รวมทั้งความคุ้มค่าของการใช้ยาด้วย ดังนั้น หากมีการระบุเรื่องโครงสร้างราคายาย่อมเป็นความก้าวหน้า และประโยชน์ต่อประชาชน ถึงราคายาที่ควรจะเป็นจริงๆ
       
        “พ.ร.บ.ยาฯ ฉบับใหม่ เข้าสู่ขั้นตอนของ ครม.มาสักพัก แต่ไม่มีการบรรจุวาระพิจารณา เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวคัดค้านอยู่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบเรื่องนี้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และขอให้รองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ออกมาประกาศตัวเองให้ชัดว่า ได้ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อใคร” นายนิมิตร์ กล่าว