search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515557
การเปิดหน้าเว็บ:9358611
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  "ลดอ้วน-เพิ่มขาว-เสริมเซ็กซ์" ปัญหาซ้ำซาก หวั่นลอบเติมสารอันตราย
  06 มกราคม 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000001300     
    


        ผลตรวจจับยา อาหารเสริมผิดกฎหมาย ยังพบปัญหาเดิมซ้ำซาก กลุ่มลดอ้วน เพิ่มความขาว ชูเพิ่มกำลังทางเพศฟิตปั๋ง ห่วงลอบเติมสารอันตราย "สเตียรอยด์-เอ็นเสด" เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต เหตุขบวนการนำเข้าซับซ้อนกว่าเดิม จ่อใช้เทคโนโลยีช่วยตรวจเข้มข้นขึ้น

        ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศปป.) ที่รายงานการจับกุมและดำเนินคดี ผู้กระทำความผิดด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของ อย. ปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2556 - 30 ก.ย.2557 มีการจับกุมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 196 ราย ของกลาง 788 รายการ มูลค่าของกลาง 83.79 ล้านบาท อยู่ระหว่างการดำเนินคดี 98 ราย และอยู่ระหว่างสอบสวน 98 ราย แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทยา 118 ราย มูลค่าของกลาง 61.54 ล้านบาท อาหาร 42 รายการ มูลค่าของกลาง 18.10 ล้านบาท เครื่องสำอาง 24 รายการ มูลค่าของกลาง 2.75 ล้านบาท เครื่องมือแพทย์ 2 ราย วัตถุอันตราย 4 ราย มูลค่าของกลาง 1 ล้านบาท วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 6 ราย มูลค่าของกลาง 4 แสนบาท
       
       ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มยาพบว่า ปัญหายังเป็นยากลุ่มเดิมๆ คือ ยาลดความอ้วน เพิ่มความขาว ยาทำแท้ง ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ ยารักษาโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวาน ความดัน และมะเร็ง กลุ่มอาหารเสริม จะมีการโฆษณาเกินจริงจำนวนมาก ทั้งที่ผลิตภัณฑ์อาหารมีการควบคุมฉลากไม่สามารถแสดงสรรพคุณรักษาโรคได้ แต่กลับโฆษณาอวดอ้างเกินจริง ช่วยรักษาโรค โดยเฉพาะกลุ่มอาหารเสริมลดอ้วน และอาหารเสริมผู้สูงอายุ ที่โฆษณาแก้ปวด รักษาโรคต่างๆ เนื่องจากพบว่าลักลอบเติมสารต้องห้าม ทั้งสารสเตียรอยด์ และกลุ่มยาแก้ปวดเอ็นเสด ซึ่งสเตียรอยด์หากรับต่อเนื่องหรือมากเกินไปทำให้เกิดผลกระทบ เช่น กระดูกพรุน ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนกลุ่มยาแก้ปวดจะทำให้เกิดการระคายเคืองและแผลในกระเพาะอาหาร
       
       "ปัญหาในไทยคือ การเติมสารต้องห้าม สารอันตรายลงในยาและอาหารเสริม ต่างจากต่างประเทศที่เป็นการปลอมโดยไม่ใส่สารหรือตัวยาลงไป หรือ ยาเสื่อมคุณภาพ โดยพบว่ามีขบวนการลักลอบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น จดแจ้งที่หนึ่งเก็บสารอีกที่หนึ่ง ทำให้เมื่อตรวจจับไม่สามารถหาของกลางได้ การลักลอบนำเข้าประเทศ โดยอ้างว่าเป็นสมุนไพรผงสกัด แต่มีการเติมสารอันตรายลงไป ทั้งนี้ ในปี 2558 กระบวนการตรวจสอบจะเข้มงวดมากกว่าเดิม โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการตรวจสอบสารต้องห้ามและประสานงานกับกรมศุลลากรเพิ่มเติม" รองเลขาธิการ อย. กล่าว