search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6519475
การเปิดหน้าเว็บ:9362721
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  จับตาหรือยุติร่าง พ.ร.บ.ยา 22 ต.ค. เภสัชฯห่วงไร้กำหนดออกประกาศยาที่วิชาชีพจ่ายได้
  20 ตุลาคม 2557
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120780




        จับตาข้อยุติหารือร่าง พ.ร.บ.ยา 22 ต.ค. ส่งยืนยันกฤษฎีกาภายใน 13-14 พ.ย. หากไม่ได้ข้อสรุปอาจขอให้ อย. เลื่อนเวลา ด้านเภสัชฯห่วงยังไร้กำหนดออกประกาศข้อกำหนดยาที่แต่ละวิชาชีพจ่ายได้

        ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการหารือปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ร่าวมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า การหารือเป็นไปด้วยดี แต่ยังมีความเห็นที่ต่างที่ยังต้องหารืออีก แต่จากการหารือร่วมกับ อย. 2 ครั้งที่ผ่านมา ทำให้เข้าใจกันมากขึ้น เช่น กรณีการอนุญาตให้ผสมยา ที่ทางกลุ่มเครือข่ายเภสัชต้องการให้ผู้ผสมยาเป็นผู้ที่จบมาจากวิชาชีพโดยตรง แต่อาจจะมีข้อยกเว้นให้ผสมได้ในกรณีจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ซึ่งจะมีการเขียนระบุข้อยกเว้นไว้ในร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่เป็นกรณีไป อย่างไรก็ตาม จะมีการหารือกันอีกครั้งในวันที่ 21-22 ต.ค.นี้ และจะพยายามหาข้อยุติให้ได้ภายในวันที่ 22 ต.ค. ก่อนที่จะนำไปหารือกับวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป เนื่องจากตามกระบวนการแล้วต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ตามกำหนดการเดิมที่จะต้องส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ ต้องส่งภายในวันที่ 13-14 พ.ย. แต่หากยังไม่ได้ข้อสรุปก็อาจต้องให้ อย. เลื่อนเวลาการยื่นเรื่องกับคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้ง
       
       ด้าน ภก.อภิชาติ จันทนิสร์ อดีตนักวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ประเด็นที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพ อาทิ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย เป็นต้น สามารถจ่ายยาได้เองนั้น เป็นเรื่องที่พวกเราค่อนข้างเป็นกังวล เพราะตามมาตรา 6 ระบุไว้ชัดเจนในการออกประกาศกำหนดเรื่องยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะสามารถออกประกาศได้เมื่อไร ซึ่งคาดว่าการออกประกาศจะระบุชัดว่าวิชาชีพใดสามารถจ่ายยาใดได้บ้าง และสามารถจ่ายยาได้ตามผู้ป่วยเฉพาะรายเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยไปพบพยาบาลที่สถานพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลก็จะสามารถจ่ายยาแค่เฉพาะยาที่พยาบาลสามารถจ่ายได้เท่านั้น