search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6603186
การเปิดหน้าเว็บ:9453001
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ปูดยาเบาหวาน “ไพโอกลิตาโซน” เสี่ยงมะเร็ง!! มะกันสั่งปรับ บ.ยาญี่ปุ่นฐานปกปิดแล้ว
  21 เมษายน 2557
 
 


วันที่: 21 เมษายน 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์     
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000044310
    

        
       กพย. ปูดใช้ยาเบาหวาน “ไพโอกลิตาโซน” เสี่ยงมะเร็ง หลังสหรัฐฯปรับบริษัทยาญี่ปุ่นฐานปกปิดความเสี่ยงจากการใช้ยา จี้ถามมาตรการเฝ้าระวัง อย. ด้านรองเลขาธิการ อย. ระบุสหรัฐฯยังไม่ถอนทะเบียนยา ส่วนไทยยังไม่มีปัญหาจากการใช้ยาตัวนี้ เผยยกระดับเป็นยาควบคุมพิเศษ มีคำเตือนพร้อมอาจเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

Pioglitazone
 ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

       วันนี้ (21 เม.ย.) ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา มีข่าวว่า บริษัท ทาเคดา ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทยาของญี่ปุ่น ถูกคณะลูกขุนในรัฐหลุยเซียนาสหรัฐอเมริกาสั่งปรับเป็นเงินกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในค่าเสียหายเชิงลงโทษฐานมีพฤติกรรมปกปิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากการใช้ยากลุ่มเบาหวาน หรือยาชื่อสามัญ คือ “ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone)” ทำให้ต้องถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยว่า มีมาตรการอะไรในการควบคุมการใช้ยาชนิดนี้ในไทยหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานในไทยมีจำนวนมาก
       
       “ประเทศไทยควรมีการประชุมและออกมาตรการเฝ้าระวังการใช้ยา รวมทั้งกรณียาตัวไหนที่มีปัญหาก็ควรมีการตั้งทีมงานมาเฝ้าระวังและศึกษาว่า ต้องมีการถอนทะเบียนยาตัวดังกล่าวหรือไม่ แต่เท่าที่ทราบ อย. ยังไม่มีการประชุมคณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันเลยแม้แต่ครั้งเดียว” ผู้จัดการ กพย. กล่าว
       
       ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ปัจจุบันสหรัฐฯ ยังไม่ถอนการขึ้นทะเบียนยาดังกล่าว ส่วนไทยมี 2 บริษัทที่ขึ้นทะเบียนยาดังกล่าวกับ อย. โดยจากการติดตามยังไม่พบปัญหาใดๆ กับผู้ป่วยที่ใช้ยาตัวนี้ แต่ อย. ไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการติดตามมาตลอด ซึ่งปัจจุบันได้ยกระดับเป็นยาไพโอกลิตาโซน เป็นยาควบคุมพิเศษ โดยต้องมีใบสั่งแพทย์เมื่อซื้อยา ซึ่งได้ยกระดับไปตั้งแต่เมื่อปี 2555 และมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการใน มี.ค. 2556 พร้อมกันนี้ยังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา อาทิ ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และต้องมีคำเตือนห้ามใช้ยานี้นานเกิน 1-2 ปี เพราะอาจเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่กำลังเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะด้วย