search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6517606
การเปิดหน้าเว็บ:9360783
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  วิจัยชัดสมุนไพร “ปอบิด” รักษาเบาหวาน แต่ทำลายตับ
  06 กุมภาพันธ์ 2557
 
 


วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์     
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000014155


    
        กรมแพทย์แผนไทยฯ ชี้คนฮิตกิน “ปอบิด” รักษาเบาหวาน กินติดต่อกันนานๆ ทำลายตับ ชี้หากกินสมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน แนะกินเป็นอาหารแทน เช่น ผักแกล้ม น้ำคั้น แต่ต้องสับเปลี่ยนสมุนไพรบ่อยๆ

ปอบิด
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

        นางเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณีการนิยมนำสมุนไพร “ปอบิด” มาใช้รักษาโรคเบาหวาน แต่พบผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวาย ว่า ตามตำราการแพทย์แผนไทย สมุนไพร “ปอบิด” สารสำคัญจะอยู่ที่ราก และเปลือก เมื่อทบทวนตำรายาในต่างประเทศ มีหลายประเทศนำมาใช้ เช่น อินเดีย ใช้รากผสมขมิ้นรักษาแผล อินโดนีเซีย ใช้รักษากระเพาะอาหาร พยาธิตัวตืด ประเทศแถบมลายู บำรุงสุขภาพเด็กแรกเกิด เป็นต้น ส่วนงานวิจัยพบว่า ปอบิด มีผลในการรักษาเบาหวาน สามารถลดน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่มีผลข้างเคียงคือสามารถทำลายตับหนูได้ และเกิดการกระตุ้นหัวใจในกบ
       
        นางเสาวณีย์ กล่าวอีกว่า สมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยด้านพิษวิทยา แต่มีงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ โดย รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า แม้ปอบิดจะมีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง และผู้ที่จะใช้ตรวจภาวะการทำงานของตับไตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน และห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติ หรือแม้แต่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไต
       
        “ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีตับอ่อน ไต หัวใจ ไม่แข็งแรง และเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนได้ หากดูแลสุขภาพไม่ดี ซึ่งหลักการใช้สมุนไพรเป็นยานั้นไม่ควรกินเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก หากจะใช้สมุนไพรในการรักษาโรคไม่ควรกินต่อเนื่อง หรือเลือกกินอาหารเป็นยาแทน เพราะปริมาณความเข้มข้นของสมุนไพรที่ได้จะมีความเข้มข้นต่างกัน เช่น กินผักแกล้ม หรือน้ำคั้น เช่น ใบกะเพรา ใบบัวบก ก็มีฤทธิ์ลดน้ำตาลได้เช่นกัน แต่ต้องใช้หลักการเดียวกันคือ สลับสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้” นางเสาวณีย์ กล่าว