search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6513249
การเปิดหน้าเว็บ:9356230
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อียูกร้าวส่อจ้องฮุบพืช-ยาไทย
  19 กันยายน 2556
 
 


วันที่: 19 กันยายน 2556
ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์
ลิงค์: www.thaipost.net/news/190913/79494



    อียูส่อท่าทีแข็งกร้าว ไม่ฟังเสียงเจรจาสิทธิบัตรพันธุ์พืชและยาที่เป็นธรรมกับทางไทย แถมยังร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติทั้งในไทยและต่างประเทศกดดันการเจรจาให้ได้เปรียบ

    เมื่อวันที่ 18 กันยายน เวลา 14.20 น. ภายหลังจากที่ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 20 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายองค์กรงดเหล้า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เข้าพบกับคณะเจรจาฝ่ายยุโรปนั้น โดยนายจักรชัย โฉมทองดี รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) กล่าวถึงการเข้าพบคณะเจรจาฝ่ายยุโรปว่า ตัวแทนภาคประชาชนยื่นข้อเสนอต่อคณะเจรจาฝ่ายยุโรป 4 ข้อคือ เรื่องยารักษาโรค เรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช เรื่องสินค้าสุรา และการคุ้มครองการลงทุน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอียู เพราะประเทศอื่นก็เรียกร้องและอียูก็โดนต่อต้านเหมือนกัน โดยการพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้ไปเพื่อขอความเมตตา แต่เพื่อบอกข้อห่วงใยของคนไทย และถามว่าอียูจะตอบอย่างไร

    นายจักรชัยกล่าวถึงผลการพูดคุยว่า ท่าทีขอคณะเจรจาฝ่ายยุโรปดูให้เกียรติคณะเจรจาฝ่ายไทยค่อนข้างต่ำ งานนี้ไม่จบง่ายๆ และทางผู้เจรจาอียูจับมือบริษัทข้ามชาติทั้งในไทยและต่างประเทศ ส่วนข้อเรียกร้องเรื่องยาต้องไม่เกินไปกว่าทริปส์ หรือไม่เอาทริปส์พลัส ไม่เอายาราคาแพง แต่คำตอบของคณะเจรจาอียูมีท่าทีชัดเจนว่าไม่รับฟัง และบอกว่าอย่าพูดแต่เรื่องไม่เอาทริปส์พลัส

    "เขาพูดว่าเราไม่เข้าใจ ไม่เคยได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง" นายจักรชัยกล่าว และสำหรับเรื่องเหล้า เขากล่าวว่า คณะเจรจาฯ อ้างว่าคนไทยดื่มเหล้านอกแค่ร้อยละ 10 จะมาบอกว่าเกิดผลกระทบเพราะดื่มเหล้านอกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม แม้การดื่มเหล้านอกจะเป็นสัดส่วนเพียงนิดเดียว แต่ก็ไม่ควรมีอยู่ในการเจรจา ขณะที่เรื่องการคุ้มครองการลงทุน อียูบอกว่าจะส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ และจะทำให้เงินจากต่างประเทศไหลเข้ามา ซึ่งภาคประชาชนเป็นห่วงว่ารัฐบาลไทยจะไม่สามารถออกนโยบายสาธารณะได้ ซึ่งคณะเจรจาไม่ตอบกรณีนี้ ที่ห้ามให้นักลงทุนต่างชาติสามารถฟ้องร้องไทยในเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรชีวภาพ และเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

    "เรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืชที่ภาคประชาชนยืนยันในหลักการว่าเราไม่ยอมรับ UPOV 1991 แต่คณะเจรจาฯ กลับชี้แจงแค่ว่าเรื่องนี้แล้วแต่ทางรัฐบาลไทยว่าจะยืนยันในเรื่องนี้หรือไม่ ซึ่งประเมินได้ว่าอียูเอาเรื่องนี้แน่" นายจักรชัยกล่าว

    ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า การชุมนุมของเครือข่ายภาคประชาชนจะหนุนให้คณะเจรจาฝ่ายไทยไม่ยอมข้อเรียกร้องของยุโรป และในวันที่ 19 กันยายน ตัวแทนภาคประชาชนจะยื่นจดหมายเพื่อทักท้วงข้อเรียกร้องให้กับคณะเจรจาฯ.