search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628302
การเปิดหน้าเว็บ:9479397
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ผลประเมินฮูชื่มชมไทยสวัสดิการสาธารณสุขเทียบเท่ายุโรป
  01 ธันวาคม 2553
 
 


คมชัดลึก : วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2553

"ฮู" ประเมินค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยส่งผลให้ประชากรโลกกว่า 100 ล้านคนกลายเป็นคนยากจน จี้รัฐบาลทั่วโลกเร่งพัฒนาระบบสวัสดิการสุขภาพอย่างที่ให้สัตยาบันไว้ ยกย่องไทยเทียบเท่ายุโรปจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลดี

องค์การอนามัยโลก (ฮู) เปิดเผยผลการศึกษาฉบับล่าสุดที่ชี้ว่าระบบสวัสดิการสุขภาพที่ครอบคลุมทุกปัญหาสุขภาพของประชาชนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจประเทศชะลอตัว และเกิดการระบาดของโรคในระดับนานาชาติ รวมทั้งในช่วงเวลาที่ประชากรสูงอายุของโลกต้องการการดูแลรักษาโรคเรื้อรังมากขึ้น

 นางมากาเร็ต ฉาง เลขาธิการฮู กล่าวว่า ผู้ป่วยไม่ควรต้องแบกรับความเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางการเงินที่เกิดขึ้นจากค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ในสมาชิกทั้ง 192 ประเทศของฮูได้ให้สัตยาบันในปี 2548 ว่า ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการรักษาพยาบาล และไม่มีผู้ใดต้องแบกรับภาระทางการเงินอันเกิดจากการรักษาพยาบาล

 อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดของฮูพบว่าประเทศทั่วโลกยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายตามสัตยาบันที่ได้ให้ไว้ และชี้ว่าประเทศที่ขาดสวัสดิการด้านสุขภาพที่พอเพียง ทำให้ประชาชนประมาณ 100 ล้านคนต่อปีกลายเป็นคนยากจน

 ขณะที่ยุโรป ญี่ปุ่น ชิลี เม็กซิโก รวันดา และไทย เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านระบบสวัสดิการด้านสุขภาพแบบรวมที่ช่วยผ่อนปรนภาระด้านการเงินจากการรักษาพยาบาลของประชาชนลงได้เป็นอย่างดี

 ปัญหาสำคัญที่ทำให้หลายประเทศไม่สามารถสร้างสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ประชาชน ได้แก่ ระบบการชำระเงินโดยตรง การไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลครบวงจร และการใช้ทรัพยากรด้านการรักษาพยาบาลอย่างไร้ประสิทธิภาพ และไม่เท่าเทียม ซึ่งฮูระบุว่าปัญหาทั้งสามนั้นเหลื่อมซ่อนกันจนกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ของประเทศยากจนที่สุดจนถึงร่ำรวยที่สุด

  ฮูประเมินว่าทั่วโลกมีการใช้ทรัพยากรการรักษาพยาบาลโดยสูญเปล่าประมาณ 20-40% ขณะที่การลดช่องว่างระหว่างการเข้าถึงทรัพยากรด้านสาธารณสุขใน 49 ประเทศยากจนและร่ำรวยสามารถช่วยชีวิตหญิงตั้งครรภ์ได้มากกว่า 7 แสนคน ภายในปี 2558 และช่วยชีวิตทารกได้กว่า 16 ล้านคน

 นอกจากนี้ ฮูยังยืนยันให้ประเทศยากจนใช้เงินงบประมาณ 15% ของงบประมาณประเทศในด้านสาธารณสุข และเพิ่มเงินสมทบกองทุนด้านสาธารณสุขเพิ่มอีกเท่าตัว ทั้งยังเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ บริจาคเงินสนับสนุนด้านสาธารณสุขสำหรับประเทศยากจนในระดับที่ให้สัญญาไว้

                ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบสวัสดิการสาธารณสุขแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ใช้สิทธิในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งปัจจุบันปรับเป็นการให้บริการรักษาฟรีประมาณ  47 ล้านคน  2.กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างหน่วยงานรัฐใช้สิทธิสวัสดิการรัฐประมาณ 2 ล้านคน 3.กลุ่มผู้ใช้สิทธิประกันสังคมประมาณ  9  ล้านคน

 

…………………………………………………..