search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6603234
การเปิดหน้าเว็บ:9453049
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  นักวิชาการ เปิดข้อเท็จจริงโต้บริษัทยาข้ามชาติ ยันยาชื่อสามัญไทย ได้มาตรฐานเทียบเท่ายาต้นแบบ
  18 มกราคม 2555 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 




นักวิชาการ เปิดข้อเท็จจริงโต้บริษัทยาข้ามชาติ ยันยาสามัญไทย ได้มาตรฐานเทียบเท่ายาต้นแบบ ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงยามากขึ้น รัฐประหยัดงบ 2,400 ล้าน แฉบริษัทยาข้ามชาติ สร้างมายาคติปั่นกระแสให้สับสน เตือนอย่าหลงเชื่อ


เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม  และสมาคมไทยอุตสาหรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA) จัดแถลงข่าวเรื่อง “ข้อเท็จจริงของคุณภาพยาชื่อสามัญ และความท้าทายในปี 2012” โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) เปิดเผยว่า ยาต้นแบบในประเทศไทยมีราคาแพงมาก โดยเฉลี่ยมีมูลค่าแพงกว่ายาสามัญที่ถูกที่สุดประมาณ 3.9 เท่า ซึ่งราคายาที่สูงนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้น้อยลง ซึ่งผลจากการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา(CL) ในยา 5 รายการ พบว่าในช่วงปี 2551-2553 ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาจำเป็นเหล่านี้ได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 2,400 ล้าน บาท ดังนั้น ยาสามัญจึงมีความสำคัญกับการเข้าถึงยาของประชาชนไทยอย่างยิ่ง แต่กลับถูกมายาคติที่สร้างโดยบริษัทยาข้ามชาติระบุว่า ยาสามัญมีคุณภาพด้อยกว่ายาต้นแบบ จนผู้ใช้ยาเกิดความไม่มั่นใจ

“ที่ผ่านมามีกรณีปัญหา เกิดขึ้นคือ ยาป้องกันเส้นเลือดอุดตัน (Clopidogrel) ราคาเม็ดละ 72.53 บาท แต่หลังจากประกาศซีแอลยาชนิดนี้ ทำให้สามารถผลิตยาสามัญ มีราคาเพียงเม็ดละ 3.05 บาท เท่านั้น ส่งผลให้ระบบหลักประกันสุขภาพสามารถสั่งซื้อยาได้มากขึ้น ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณ ได้ถึง 467,600,400 บาท ที่สำคัญจากการติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยาพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาชื่อสามัญมีอาการทางคลินิกที่ดีไม่แตกต่างจากผู้ ป่วยที่ใช้ยาต้นแบบ อย่างไรก็ตาม วิธีการสร้างมายาคติว่าคุณภาพยาสามัญไม่ทัดเทียมยาต้นแบบนั้น จะใช้ได้ผลในประเทศด้อยพัฒนา ที่มาตรฐานการผลิตยายังไม่ได้มาตรฐาน แต่จะนำมาใช้กับไทยไม่ได้ เพราะคุณภาพการผลิตยาของไทยไม่ได้แตกต่างจากมาตรฐานสากล บริษัทยาข้ามชาติจะไม่สามารถหลอกคนไทยได้ หากประชาชนและบุคลากร ทางการแพทย์ เชื่อมั่นในยาสามัญของไทย” ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าว

ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้ช่วยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการตรวจวัดคุณภาพของยาสามัญอย่างต่อ เนื่องเป็นประจำ พบว่า ยาสามัญที่ผลิตในประเทศไทย มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ากับยาต้นแบบที่นำเข้าจาก ต่างประเทศ โดยมีรายการยาที่ตกมาตรฐานน้อยกว่าร้อยละ 5 ซึ่ง เท่ากับยาในต่างประเทศ เนื่องจากมาตรฐานยาไทยได้พัฒนาเป็นมาตรฐานสากลเทียบเท่าต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบชีวสมมูล (Bioequivalence,BE) ในกลุ่มยาสามัญใหม่ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ต้องทำเพื่อยืนยันคุณภาพยาที่มีในเลือดที่ไม่แตกต่างจาก ยาต้นแบบ ส่งผลให้ยาสามัญสามารถออกฤทธิ์ได้เท่าเทียมกับยาต้นแบบ

“เมื่อคุณภาพยาสามัญเทียบเท่ากับยาต้นแบบ จึงกลายเป็นคู่แข่งของยาต้นแบบที่เพิ่งหมดสิทธิบัตร ทำให้บริษัทยาข้ามชาติกังวลว่ายาสามัญใหม่ (New generic drug) จะแย่งส่วนแบ่งการตลาด จึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะสร้างความไม่เชื่อมั่นคุณภาพยาสามัญใน หมู่บุคลากรการแพทย์และประชาชน”ภก.วรวิทย์ กล่าว
ภญ.อัจฉรา  เอกแสงศรี  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงคุณภาพยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมว่า มาตรฐานการผลิตยาชื่อสามัญในประเทศไทยนั้นมีการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานตาม GMP ที่ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังมีการระบบการประกันคุณภาพการผลิตตามมาตรฐานสากล ข้อกล่าวหาต่างๆที่พยายามให้ร้ายว่ายาชื่อสามัญเป็นยาด้อยคุณภาพ นั้นจึงไม่เป็นความจริง

ดร.ภญ.อุษาวดี มาลีวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยเรื่อง “การวิจัยสังเคราะห์ขอบ เขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการทำ ASEAN harmonization on pharmaceuticals สำหรับ ประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า นอกเหนือจากการสร้างมายาคติของบริษัทยาข้ามชาติในเรื่อง “ยาแพงกว่า ย่อมดีกว่า” นั้น บริษัทยาข้ามชาติยังได้ใช้ช่องทางในการขยายระยะเวลาการคุ้มครอง สิทธิบัตรยาของตนเองออกไป เพื่อขัดขวางการพัฒนายาสามัญใหม่ (New generic drug) เข้าสู่ท้องตลาด โดยการขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยาที่มีความเปลี่ยนแปลงเพียง เล็กน้อย หรือที่เรียกว่า evergreening patent

“ทุกวันนี้ บริษัทยาข้ามชาติพยายามที่จะผลักดันให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ยอมรับว่าความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยนั้นเป็นนวัต กรรมใหม่ที่สมควรได้รับสิทธิบัตร ซึ่งหากกรม ทรัพย์สินทางปัญญาให้สิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ย่อมกระทบต่อราคายาและการเข้าถึงยาของประชาชนไทยอย่างแน่นอน” ดร.ภญ.อุษาวดี กล่าว