แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

แก้ พรบ. สิทธิบัตร ดูเหมือนดี แต่บั่นทอนการเข้าถึงยา ทำซีแอลยากขึ้น สอดไส้ให้สิทธิบัตรการบำบัดรักษาโรค

จากที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมฯ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563 องค์กรภาคประชาสังคม 12 องค์กรได้ส่งจดหมายถึงกรมฯ แสดงความคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 นั้น

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จุฬาฯ กล่าวว่า ค่อนข้างกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ครั้งนี้ เพราะเนื้อหาจะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ทำให้ไม่สามารถพัฒนายาที่หมดอายุสิทธิบัตรได้ เนื่องจากยาเหล่านั้นจะถูกคำขอสิทธิบัตรอีกหลายฉบับลากอายุความคุ้มครองผูกขาดออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางยาและการเข้าถึงยาของประชาชน และทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ทั้งนี้ ผู้จัดการ กพย.ตั้งข้อสังเกตว่า สาระที่แก้ไขหลายเรื่องเป็นข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ (ทริปสฺพลัส) ที่เคยถูกเสนอมาในการเจรจาเอฟทีเอต่างๆ

Read More

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 45: RDU Community to RDU Country การใช้ยาอย่างสมเหตุผล จากระดับชุมชนสู่ระดับประเทศ

ยาวิพากษ์ฉบับที่ 45: RDU Community to RDU Country การใช้ยาอย่างสมเหตุผล จากระดับชุมชนสู่ระดับประเทศ

ดาวน์โหลด

Read More

LPV/r และ Oseltamivir ยารักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่: กรณีศึกษาพัฒนาคุณภาพระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเข้าถึงยา


การแถลงข่าว LPV/r และ Oseltamivir ยารักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่:
กรณีศึกษาพัฒนาคุณภาพระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเข้าถึงยา

ห้องประชุมสภาเภสัชกรรม ชั้น 10 อาคารที่ทำการสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เวลา 12.30-13.30 น. วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563

แถลงการณ์ร่วมโดย          

  • สภาเภสัชกรรม
  • ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
  • มูลนิธิเข้าถึงเอดส์เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
  • เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการเข้าถึงยา
  • กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

รายชื่อผู้แถลงข่าว

  1. รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม
  2. รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
  4. นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
  5. น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch

บทเรียนระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเข้าถึงยา ที่ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้ยาโลพินาเวียร์/ลิโทนาเวียร์ (lopinavir/ritonavir (LPV/r)) และยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยารักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในราคาที่ระบบประกันสุขภาพสามารถรองรับได้ ในขณะที่ยา LPV/r บางตำรับยังติดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ ทำให้ยามีราคาแพงและยากต่อการเข้าถึง

Read More

ISIUM BANGKOK 2020

People Improving the Use of Medicines: What We Know and Don’t Know January 26 – 28, 2020
Mandarin Hotel Bangkok, Thailand

การประชุมวิชาการนานาชาติ ISIUM 2020 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-28 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน ถ.พระราม 4 กรุงเทพฯ


ยื่นริเริ่มการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน


26 ธันวาคม 2562 – เครือข่ายวิชาการและภาคประชาสังคมด้านพืชยา กัญชา กระท่อม นำเสนอ “ร่าง พ.ร.บ. พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน”เปลี่ยนสถานะกัญชา กระท่อมจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็น “พืชยา” เพื่อให้ผู้ป่วย ประชาชน เข้าถึงการใช้พืชยา กัญชา กระท่อม ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย และมีระบบควบคุมกันเองโดยชุมชน สอดคล้องกับวิถีการแพทย์พื้นบ้าน และวัฒนธรรมชุมชน โดยไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายอย่างในปัจจุบันเตรียมล่า 10,000 รายชื่อ เสนอต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้

Read More