search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6518411
การเปิดหน้าเว็บ:9361651
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  “โต้ง-ประดิษฐ” เตี๊ยมรับทริปส์พลัส
  28 พฤศจิกายน 2555
 
 


วันที่: 28 พฤศจิกายน 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์


       “กิตติรัตน์” ดอดพบ “หมอประดิษฐ” คุย FTA ไทย-อียู พร้อมลาก อย.กรมทรัพย์สินฯเข้าพูดคุยด้วย หลายฝ่ายหวั่นเคลียร์ให้ยอมรับทริปส์พลัส ขณะที่เจ้ากระทรวงคุณหมอยังอุบข้อมูล อ้างประชุมสภา ให้รอแถลงอีกครั้งหนึ่ง ด้าน FTA Watch จวก สธ.มีข้อมูลผลกระทบในมือมากที่สุด แต่ไม่ยืนยันจุดยืนของตัวเอง
       
       แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ได้นัดหารือกับ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อทำความเข้าใจให้ยอมรับข้อตกลงทริปส์พลัสในการเจรจาการค้าเสรี FTA ไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งนายกิตติรัตน์จะต้องให้คำตอบกับผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหภาพยุโรป ซึ่งเตรียมจะเข้าพบนายกิตติรัตน์ ในวันพรุ่งนี้ (29 พ.ย.) ซึ่งการนัดหารือในครั้งนี้ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการนัดหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือด้วยหรือไม่ แต่ที่ชัดเจนคือ นพ.ประดิษฐ ได้นำผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.) และผู้แทนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้าร่วมหารือด้วย
       
       “มีหลายฝ่ายค่อนข้างเป็นกังวลว่าจะมีการพูดคุยทำความตกลง เพื่อให้ สธ. อย.และกรมทรัพย์สินทางปัญญายอมรับในข้อตกลงทริปส์พลัส และรับข้อเสนอการเยียวยาหากได้รับผลกระทบในประเด็นอ่อนไหวต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของยา” แหล่งข่าวแวดวง สธ.กล่าว
       
       เมื่อผู้สื่อข่าวโทรศัพท์สอบถามเรื่องดังกล่าวไปยัง รมว.สาธารณสุข นพ.ประดิษฐ กล่าวเพียงว่า ยังไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากกำลังประชุมสภา ให้รอการแถลงข่าวเรื่องนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง
       
       ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิตติเวชกุล กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับท่าทีของ สธ.และ อย.มาก เพราะเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเอฟทีเอ ไทย-อียู ในมือมากที่สุด แต่กลับไม่ยอมยืนยันในจุดยืนของตัวเอง ทั้งที่ผลงานวิจัยทั้ง 4 ชิ้นของไทย ได้แก่ งานวิจัยจากหน่วยงานวิจัยอิสระของ สธ.งานวิจัยที่ อย.จ้างคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจ้างให้สถาบันนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และงานวิจัยที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จ้าง TDRI ล้วนมีรายงานที่ตรงกันว่า จะเกิดผลกระทบต่อไทยอย่างมาก มีเพียงบริษัทยาข้ามชาติเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ที่สำคัญ ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มมากกว่าแสนล้านบาท และจะเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จนในที่สุดประชาชนจะไม่สามารถเข้าถึงยาได้ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบในเรื่องของการเกษตร และเอื้อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถฟ้องร้องรัฐให้ยกเลิกนโยบายสาธารณะหรือจ่ายเงินค่าชดเชยได้