search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6527306
การเปิดหน้าเว็บ:9371241
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ยาของเด็กเล็ก ปัญหาไม่เล็ก ต้องเอาใจใส่ (กพย.)
  02 มีนาคม 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554          

 ปัญหา สุขภาพและเจ็บไข้ได้ป่วยดูจะเป็นเรื่องที่ทุกคนต่างต้องประสบ แม้ว่า "ยา" จะใช้รักษาอาการเจ็บป่วย แต่ก็มักจะมีผลกระทบหรือมีความเสี่ยงตามมา โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังไม่มียาที่เหมาะสมกับเขา จึงเป็นที่มาของ "แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา" หรือ กพย.  เข้ามาดูแลเรื่องนี้
               
ผศ.ภญ.ดร. นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัด การแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนา ระบบยา หรือ กพย.  กล่าวว่า การลงมาดูแลเด็กในการเลือกยา เพราะเราอยากจะเริ่มตั้งแต่ทารกในครรภ์ การเจริญเติบโตอวัยวะต่างๆ ของเด็กกับยาไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่ย่อส่วน เด็กจะบอบบางกับเรื่องเหล่านี้ด้วย
               
ดังนั้นยาที่ให้กับเด็กจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่ลดขนาดลง เพราะการใช้ยาที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นยาที่ให้กับแม่ที่ตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องสำคัญด้วย ต้องปลอดภัยแก่ทารก กับการพัฒนาการของเขาและต้องมีระ ทารก กับการพัฒนาการของเขาและต้องมีระ บบควบคุมที่ชัดเจน
               
ผู้จัดการ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาบอกว่า ยาสำหรับเด็กที่ใช้การทดลองในเด็กยังทำไม่มาก ต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเริ่มทำแล้ว แต่ในไทยข้อมูลที่ใช้กับการทดลองยังไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เกิดปัญหา โดยปัญหาที่พบมี 2 ส่วนคือ ขาดแคลนหรือเข้าไม่ถึง เช่น ยาแก้ไข้หวัดใหญ่ 2009 ปรากฏว่ายาสูตรเด็กไม่มีต้องผสมกันเองกันเอง
               
หรือยาบาง ตัวขนาดไม่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่เราสนใจและพยายามผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดูให้ชัดเจน อีกส่วนคือการใช้ยาที่เหมาะสมในเด็ก มีตั้งแต่การใช้กิน การใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาใหญ่ เพราะพ่อแม่จะกลัวว่าหากลูกไม่กินยาจะไม่สบาย
                "
กลุ่ม นี้จึงมีการรับยาเกินความจำเป็นอยู่ อย่างยาปฏิชีวนะ เช่น ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก หายใจไม่ออก พ่อแม่ไปหาหมอ ได้รับยาบ้าง ไม่ได้รับบ้าง หรือไปซื้อยาเองจากร้านยาต่างๆ หรือร้านขายของชำ เป็นภัยที่เกิดขึ้นในเรื่องการดื้อยาในเวลาต่อมา" ผศ.ภญ.ดร.นิยดากล่าว และว่า
               
บางครั้งพ่อแม่ก็ไปวิตกกับโฆษณา หากไม่ทำตามแบบลูกจะมีปัญหา จึงมีการควบคุมโฆษณาว่าจะทำต่อเด็กโดยตรงไม่ได้ หรือจะใช้เด็กเป็นตัวสะท้อนปัญหาความทุกข์ยากไม่ได้
               
ต่อไปคือ กลุ่มสูตรยาไม่เหมาะสมกับเด็กที่ยังพบ เช่น ยาผง ที่ไม่ใช้กับเด็ก แต่ยังมีรูปเด็กเป็นสัญลักษณ์ ยังเป็นปัญหาที่พ่อแม่ไปซื้อให้เด็กอยู่ดี หรือยาสมัยก่อนมียาทำเป็นรูปไอศกรีมหรือขนมให้เด็กกินง่ายๆ ซึ่งเป็นสูตรไม่เหมาะสมกับเด็ก
                "
เขา" บอกว่า สิ่งที่อยากทำคือยาที่ไม่เหมาะสมต้องรื้อทบทวน ยกเครื่องไปเลยทั้งระบบ ต่อมาคือขนาดยาของเด็ก เช่น พารา เซตามอล ในสหรัฐอเมริกาได้ปรับขนาดยาให้ลงมาเหมาะสมกับเด็ก เพราะยาดังกล่าวหากบริโภคเข้าไปมากจะมีผลต่อตับค่อนข้างชัด เจน
               
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา มีหมอที่โรงพยาบาลรามาธิบดีออกมาแฉว่าเด็กกินยาชื่อวิตามินเจริญอาหาร กินไป 2 ปี เด็กออกมาพิการ คือเด็กโตเกินวัย เด็กโตก่อน มีผลต่ออวัยวะเพศ เมื่อเด็กถูกกระทำไปแล้ว กว่าจะมีการเรียกร้องเรื่องนี้ต้องใช้เวลานานมาก หากกลับไปดูประวัติศาสตร์ ยาตัวนี้เคยรณรงค์มาแล้วตั้งแต่ปี 2537 ที่เอาออกไปจากประเทศไทยได้ แต่ก็ยังมีการแอบนำกลับมา
               
ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยากล่าวว่า การแก้ปัญหาหนีไม่พ้นต้องไปที่ อย.เป็นผู้ขึ้นทะเบียนยา ควรจะยกยาเด็กขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วน เพราะหากเด็กมีผลกระทบแต่เล็ก ชีวิตหมดไปแล้วแล้ว
               
ขณะที่ในกลุ่มร้านยาหรือคลินิกคงต้องให้ ความสำคัญการให้ยาแก่เด็ก จะผ่องถ่ายการใช้ยาที่จำเป็นจริงๆ ให้กับผู้ปกครองเป็นพิเศษ และพ่อแม่อย่าไปซื้อยาที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปีไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง ควรพาไปหาแพทย์ อนามัย ผู้เชี่ยวชาญ และลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
               
นอกจากนี้ยังมียาใน โรงเรียน ปกติจะมีห้องพยาบาล มีตู้ยา มีห้องพยาบาล แต่ที่เราสำรวจจากผู้ปกครองและครูพบว่าตู้ยาในเราสำรวจจากผู้ปกครองและครูพบ ว่าตู้ยาในโรงเรียนมีปัญหามาก เช่น มีคนเอายาอื่นเข้ามาแถมให้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และครูที่ดูแลเรื่องยาสมัยนี้ก็ไม่มีความเข้มงวดแล้ว อยากเรียกร้องกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาดูแลเรื่องนี้ด้วย
               
ผศ.ภญ.ดร.นิยดากล่าวแนะนำ กพย. ว่า ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับ สนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เนื่องจากเห็นความสำคัญของผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดจากระบบยาที่มีต่อ สุขภาพ หากมีกลไกที่ที่เกิดจากระบบยาที่มีต่อสุขภาพ หากมีกลไกที่เข้มแข็งในการติดตามเฝ้าระวังจะสามารถลดความเสี่ยงและป้องกัน อันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย
                "
พันธกิจสำคัญในการทำงานของ กพย. คือ การสร้างระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาอย่างรอบด้าน พร้อมส่งสัญญาณเตือนภัยเรื่องอันตรายจากยาในมิติต่างๆ ผ่านการสื่อสารสาธารณะ ร่วมกับการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างเข้ม แข็ง จนนำไปสู่การสร้างและจัดการองค์ความรู้เรื่องยา ตลอดจนขับเคลื่อนเชิงนโยบายและโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง"
               
สำหรับหน้าที่ของ กพย. คือ สร้างและจัดการองค์ความรู้ของระบบยาในประเด็นของการเฝ้าระวัง กำกับความเสี่ยงจากยาและการพัฒนา ประเด็นด้านนโยบาย โครงสร้าง รวมทั้งพัฒนากลไกและรูปแบบต่างๆ ในการส่งสัญ ญาณเตือนภัยจากยา
               
นอก จากนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายทางวิชาการและประชาสังคมในระดับต่างๆ ให้ประสานกันเพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังระ บบยาที่เข้มแข็ง และทำการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการรับรู้และสร้างความเข้าใจในวงกว้างถึง ประเด็นสถานการณ์ความเสี่ยงจากระบบยา จนกระทั่งพัฒนาและผลักดันนโยบายแห่งชาติด้านยา แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบยา
               
กรอบในการ ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ ด้านแรกการสร้างและจัดการองค์ความรู้ โดยการสนับ สนุนการศึกษาวิจัย ประมวลผลงานวิจัย จัดทำฐานข้อมูลและสถานการณ์ของระบบยา จัด "อาศรมความคิดระบบยา-ประชุมเสวนาผู้ค้นคว้าเรื่องที่ใกล้เคียงกันในรูปสห สาขาวิชาเพื่อให้เกิดการพัฒนา"
               
ด้านที่สอง การพัฒนา การทดลองรูปแบบกลไกการจัดการความเสี่ยงจากยาแบบครบวงจร (Social monitoring and intervention) เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์เฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (Drug  System  Monitoring  and Development  Centre,  DMDC) มีการพัฒนาเครื่องมือชี้วัดสถานการณ์ระบบยา ส่งเสริมเครื่องมือชี้วัดสถานการณ์ระบบยา ส่งเสริมการพัฒนาระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงจากยาในชุมชนและภาคีเครือข่าย และสนับสนุนให้เกิดการทดลองรูปแบบการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา เช่น โครงการธรรมาภิบาลระบบยา โครงการจริยธรรมและการส่งเสริมการขายยา โครงการจริยธรรมและการส่งเสริมการขายยา โครงการด้านการใช้ยาที่เหมาะสม โครงการด้านการเข้าถึงยา เป็นต้น
               
ด้านที่สาม การส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาผ่านการ หนุนเสริมบทบาทเครือข่ายวิชาการ ยาผ่านการหนุนเสริมบทบาทเครือข่ายวิชาการ วิชาชีพ ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มวิชาการ วิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตาม กำกับและพัฒนาระบบยา สนับสนุนและสร้างความเข้าใจ รวมทั้งรับรู้สภาพปัญหาชุมชน แลกเปลี่ยนดูงาน ฝึกอบรม พร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายประชาสังคม ได้แก่ ความเข้มแข็งของกลุ่มสังคมต่างๆ สนับ สนุนกิจกรรมและส่งต่อองค์ความรู้สู่ประชาสังคม นอกจากนี้ยังเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายทุกระดับ ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายในประเทศ ทั้งภาครัฐ สถาบัน ภาคีเครือข่าย วิชาการ และเครือข่ายภาคประชาสังคม รวมทั้งการเชื่อมต่อประสานกับต่างประเทศด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสัมมนา ประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ศึกษาดูงาน ในประเด็นของการสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาในระดับต่างๆ
               
ด้านที่สี่ การสื่อสารสาธารณะมีการส่งสัญญาณเตือนภัยเรื่องยาสู่สังคม (Social warning) โดยการจัดแถลงข่าว (Press conference) ประชุมวิชาการระบบยา จัดทำรายงานสรุปสถานการณ์ระบบยา จัดทำจดหมายข่าวยาวิพากษ์ร่วมกับกลุ่มศึกษาปัญ หายา มีมาตรการสื่อมวลชนสัมพันธ์ ได้แก่ การสร้างการรับรู้และตระหนักในปัญหาเรื่องยาของสื่อมวลชน และการสนับสนุนข้อมูลวิชาการแก่สื่อมวลชน และการรณรงค์เผยแพร่ ได้แก่ การสนับสนุนการผลิตสื่อ
               
ด้านที่ห้า การผลักดันนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็น การศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย นโยบาย สร้างกลไกการติดตามความเคลื่อนไหวและการสื่อสารนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง รวมถึงการพัฒนาและผลักดันนโยบายแห่งชาติด้านยา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยา
               
ติดต่อแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวัง และพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 254 ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร.0-2218-8452 โทรสาร 0-2218-8443  email : thaidrugwatch@hotmail.com และ ที่เว็บไซต์ http://www.thaidrugwatch.org/.