search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515618
การเปิดหน้าเว็บ:9358672
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สนช.ลงมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม
  17 ตุลาคม 2557
 
 


ที่มา: Hfocus
ลิงค์: www.hfocus.org/content/2014/10/8384



ที่ประชุมสนช. มีมติเอกฉันท์ 178 เสียง รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ยกเลิกระบบใบอนุญาตประกอบอาชีพตลอดชีวิต

เมื่อวันที่ 16 ต.ค.57 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีสาระสำคัญ คือ การเพิ่มเติมนิยามคำว่า "วิชาชีพเภสัชกรรม" ให้มีความหมายครอบคลุมถึงการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบการวิชาชีพสัตวแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามที่กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นๆกำหนด รวมทั้งการร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่างๆและหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม โดยให้ใบอนุญาตมีอายุ 5ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสนช.อภิปรายว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ดีเพราะจะเป็นการให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องต่ออายุของใบอนุญาต จากเดิมที่ไม่ต้องต่ออายุใบอนุญาต อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าเงื่อนไขของการจะให้ใบอนุญาตของใครได้รับการต่ออายุจะต้องมีอะไรบ้าง เช่น จะต้องมีสอบหรือไม่ เป็นต้น

ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ชี้แจงว่า การต่ออายุให้กับใบอนุญาตจะใช้ระบบการศึกษาต่อเนื่องเป็นหลัก โดยไม่จำเป็นต้องจัดให้มีการสอบก่อน แต่ยกเว้นเฉพาะที่ขอใบอนุญาตใหม่

อย่างไรที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ 178 เสียงรับหลักการในวาระที่ 1 ของร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พร้อมกับตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คนเพื่อพิจารณาในรายละเอียดโดยมีกรอบระยะเวลาในการพิจารณา 30 วัน