search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6516381
การเปิดหน้าเว็บ:9359444
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  “หมอรัชตะ” ปัดตอบสื่อเลือกตำแหน่ง แต่มีคำตอบแล้ว สั่งเร่งรัดสร้างโรงงานยา-วัคซีน
  06 ตุลาคม 2557
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114741



        “หมอรัชตะ” สั่งเร่งรัดเดินหน้าโรงงานยารังสิต คาดผลิตได้ทั้งหมดใน ก.ย. 2558 จ่อเสอ ครม.อนุมัติงบ 59.3 ล้านบาท หนุนสร้างโรงงานวัคซีนหวัดใหญ่/หวัดนก ให้แล้วเสร็จตามแผน เผยมีความชัดเจนเรื่องตำแหน่งแล้ว แต่ปัดตอบคำถามเลือกตำแหน่งใด ก่อนชิ่งหนีสื่อตามความคาดหมาย
       
       วันนี้ (6 ต.ค.) เมื่อเวลา 08.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วย สธ. และทีมที่ปรึกษา เดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายต่อผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) โดยมีคณะกรรมการ อภ. (บอร์ด อภ.) ชุดใหม่ นำโดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ กรรมการ อภ.เป็นผู้แทน พล.ท.ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานบอร์ด อภ.ให้การต้อนรับ โดยช่วงแรกได้อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าฟังการหารือได้ แต่ภายหลังกลับเชิญออกจากห้องประชุม เนื่องจากอาจมีวาระเกี่ยวข้องกับปัญหาใน อภ.
       
       ทั้งนี้ ศ.นพ.รัชตะให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า จากการรับฟังนโยบาย ตนได้เน้นย้ำเรื่องการผลิตยา เวชภัณฑ์ และวัคซีนให้มีมาตรฐาน และพอเพียงต่อความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานผลิตยาที่รังสิตซึ่งล่าช้านั้น ให้เร่งรัดให้จัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2558 ส่วนโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ที่ อ.ทับกวาง จ.สระบุรี ซึ่งล่าช้าเช่นเดียวกันก็เร่งรัดให้ อภ.เดินหน้าเรื่องนี้ โดยอยู่ในขั้นตอนการเสนองบประมาณ 59.3 ล้านบาท เป็นงบประมาณของ อภ.เอง ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และจะเดินหน้าตามขั้นตอนต่อไปหากได้รับอนุมัติ ส่วนกรณีการเสนอขอให้ อภ.เพิ่มทุนในบริษัทร่วมทุนของ อภ.คงต้องมีการหารือกันก่อน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
       
       “การประชุมหารือในวันนี้จะเน้นหารือในเรื่องเร่งด่วนเป็นหลัก ทั้งโรงงานยา โรงงานวัคซีนเพื่อเดินหน้าเรื่องนี้ให้เสร็จ เนื่องจากเวลามีน้อย ไม่ได้มีวาระเรื่องความขัดแย้งภายใน อภ. และการประเมินผลการทำงานของ ผอ.อภ. ส่วนเรื่องอื่นๆ ยังมีเวลาในการพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังได้กำชับให้ดูแลการผลิตยาไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลน ส่วนการกู้ภาพลักษณ์ของ อภ.นั้น คือจะต้องแสดงให้เห็นว่าเราผลิตยาให้ทันก่อน” รมว.สาธารณสุขกล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีสภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติกำหนดให้ ศ.นพ.รัชตะ เลือกเพียงหนึ่งตำแหน่ง ระหว่าง รมว.สาธารณสุข และอธิการบดี ม.มหิดล ภายในวันที่ 8 ต.ค.นี้ ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า การเลือกตำแหน่งนั้นตนมีความชัดเจนแน่นอน ตนมีคำตอบอยู่แล้ว ไม่รู้สึกหนักใจ ทันทีที่ตอบเสร็จ ศ.นพ.รัชตะก็รีบเดินหลบผู้สื่อข่าวไป
       
       ด้าน นพ.สุวัชกล่าวว่า โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ขณะนี้คืบหน้าไปแล้ว 50% อภ.ได้เสนอ สธ.เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 59.3 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างในส่วนที่มีการทบทวนแล้วว่า ต้องมีการเพิ่มเติมจากข้อสัญญาเดิม เช่น การเพิ่มห้องที่ปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปรับสภาพวัคซีน เป็นต้น ซึ่งหาก ครม.อนุมัติแล้วก็จะให้ผู้รับเหมารายเดิมเข้ามาดำเนินการต่อ โดยขยายสัญญาออกไปอีก 513 วัน ส่วนเรื่องเทคนิคการผลิตวัคซีน ซึ่งสถาบันคาเคสุเค็น (Kaketsuken) ได้ให้ความช่วยเหลือมาตลอดได้สิ้นสุดสัญญาเมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา จึงได้เสนอให้ รมว.สาธารณสุข ผลักดันให้เกิดการเจรจาความร่วมมือในลักษณะรัฐต่อรัฐ โดยขยายความช่วยเหลือไปจนถึงโรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถผลิตวัคซีนได้ในระดับอุตสาหกรรม
       
       นพ.สุวัช กล่าวว่า ส่วนโรงงานยาที่รังสัตนั้น บอร์ด อภ.มีมติให้เดินหน้าหาผู้รับเหมารายใหม่ โดยมี น.ส.กฤษณา ไกรสินธุ์ กรรมการ อภ.เป็นประธานคณะกรรมการเร่งรัดการก่อสร้างโรงงานยา เบื้องต้นวางกรอบให้สามารถดำเนินการเปิดสายการผลิตได้ 1 สายภายในไตรมาส 2 ของปี 2558 และเปิดได้ทุกสายการผลิตภายไตรมาส 4 ของปี 2558 ส่วนเรื่องการจัดหาวัตถุดิบซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตยา เพราะตลาดโลกมีความต้องการวัตถุดิบสูง ทำให้การสั่งซื้อและส่งมอบไม่ต่อเนื่อง ที่ประชุมได้เสนอ 2 แนวทางแก้ปัญหา คือ 1. ให้ รมว.สาธารณสุข พิจารณาเจรจาในระบบรัฐต่อรัฐ และ 2. เพิ่มรายชื่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบให้มากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือก
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมมีการเสนอปัญหาของบริษัทร่วมทุนกับ อภ.ซึ่งมีปัญหาขาดทุนและภาระหนี้สินสูง จึงขอให้ อภ.เพิ่มทุนในบริษัท เนื่องจากหากไม่ได้รับการเพิ่มทุน บริษัทจะถูกฟ้องร้องและเสี่ยงต่อการล้มละลาย นอกจากนี้ ในส่วนของการประเมินการทำงานของ นพ.สุวัชได้แต่งตั้ง นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย กรรมการ อภ.เป็นประธานการประเมินการบริหารงานระยะเวลา 6 เดือนหลังรับตำแหน่ง ซึ่งผลการประเมินยังไม่แล้วเสร็จ