search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515624
การเปิดหน้าเว็บ:9358678
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  จวกบัตรสุขภาพต่างด้าว ไม่คลุมยาต้านไวรัสเอดส์
  08 มกราคม 2557
 
 


วันที่: 8 มกราคม 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000002325
          
    
       เอ็นจีโอจวกบัตรสุขภาพต่างด้าว ไม่ครอบคลุมการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างที่โฆษณา เหตุโรงพยาบาลไม่มั่นใจจะได้เงินคืนจาก สธ.และไม่มีระเบียบรองรับ ชี้นิยามยาซีแอลไม่เคลียร์ว่าครอบคลุมทุกคนในประเทศหรือไม่ ทั้งที่เป้นกลุ่มต้องดูแลเพื่อป้องกันแพร่เชื้อ ด้าน สธ.แจงติดยุบสภา

       นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า นโยบายให้แรงงานต่างด้าวและครอบครัว ซื้อบัตรประกันสุขภาพในราคากว่า 2 พันบาทของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นั้น ซึ่งระบุว่ารวมการตรวจและการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแก่แรงงานผู้ติดเชื้อ แท้จริงแล้วพบว่า แรงงานผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัส เนื่องจากโรงพยาบาลหลายแห่งไม่นับรวมในบัตรประกันสุขภาพ เพราะไม่มั่นใจว่าจะได้รับเงินคืนจาก สธ.และปัจจุบันไม่มีกฎระเบียบรองรับ ส่วนของคำนิยามการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีจากการทำซีแอล หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรยาที่ไทยสามารถผลิตยาต้านไวรัสฯในชื่อยาสามัญก็เป็นปัญหา เพราะที่ผ่านมากรมควบคุมโรค (คร.) ไม่มีการนิยามว่า ยาที่ผ่านการทำซีแอลจะใช้ได้เฉพาะคนไทย หรือคนทุกคนในประเทศไทยกันแน่ ทำให้แรงงานต่างด้าวไม่มีช่องทางรับยา จึงต้องซื้อเอง
       
       “ที่ผ่านมากองทุนโลกจะสนับสนุนงบในการซื้อยาต้านไวรัส แต่ครอบคลุมเพียง 2,000 ราย ที่สำคัญโครงการนี้จะหมดอายุแล้ว ทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาตัวเอง ทั้งที่การดูแลรักษาแรงงานกลุ่มนี้จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีมายังคนไทยได้ ซึ่งเคยหารือปัญหากับรองปลัด สธ.แต่ยังไม่มีความคืบหน้า คาดว่าภายใน ม.ค.นี้จะขอเข้าพบอีกครั้ง และจะขอหารือกับอธิบดี คร.ถึงการเปลี่ยนคำนิยามยาต้านไวรัสฯในโครงการซีแอลให้ครอบคลุมทุกคนในประเทศไทยด้วย” นายนิมิตร์ กล่าว
       
       นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า ไม่ได้นิ่งเฉยกับปัญหาเหล่านี้ แต่การดำเนินการต้องมีระเบียบรองรับ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับหลายหน่วยงาน ทั้ง สธ.กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยจะตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของแรงงานต่างชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มี สธ.เป็นเลขานุการ ปัญหาคือ กำลังจะตั้งคณะกรรมการ แต่ต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนาม ซึ่งมีการยุบสภา ทำให้เรื่องนี้ต้องชะลอ รวมไปถึงปัญหายาต้านไวรัสก็เช่นกัน หากไม่มีคณะกรรมการ หรือการทำงานใดๆ ที่มีระเบียบรองรับก็ทำไม่ได้ ดังนั้น ตอนนี้ต้องรอรัฐบาลใหม่ ซึ่งระหว่างรอได้หารือกับกองทุนโลกเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณเรื่องเอดส์ เพื่อเป็นอีกทางในการช่วยแรงงานต่างชาติผู้ติดเชื้อ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการ