search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6516310
การเปิดหน้าเว็บ:9359370
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สปสช.ฟุ้งมวกเหล็กแก้นิสัยใช้ยาปฏิชีวนะแบบผิดๆ ได้
  17 มิถุนายน 2556
 
 


วันที่: 17 มิถุนายน 2556     
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000073144



       กองทุนสุขภาพ อบต.มวกเหล็ก จับมือ รพ.สต.หลังเขา ทำโครงการปลอดภัยเชื้อดื้อยา แก้ปัญหาคนในชุมชนใช้ยาปฏิชีวนะแบบผิดๆ ได้ ด้าน สปสช.ฟุ้งเป็นรูปแบบกระจายอำนาจ ให้ชุมชนแก้ปัญหาด้วยตัวเองแบบตรงจุด
    
       นางปฏิมา สังฆะมณี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มวกเหล็ก จ.สระบุรี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หลังเขา อ.มวกเหล็ก ได้รายงานสถานการณ์ด้านสุขภาพที่สำคัญว่า ชาวบ้านในพื้นที่มีปัญหาเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม อันจะนำไปสู่ปัญหาการดื้อยาได้ กองทุนสุขภาพ อบต.มวกเหล็ก ซึ่งจัดตั้งร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงตั้งโครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจชุมชนปลอดภัยเชื้อดื้อยาขึ้น ร่วมกับ รพ.สต.หลังเขา โดยมีกิจกรรมการเปิดสวนสมุนไพร ธนาคารชุมชนร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ มอบโล่แก่ผู้สนับสนุนโครงการการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล และมอบรางวัลให้กลุ่ม อสม.ที่ลงติดตามเยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำแก่ประชาชน ทำให้ไม่พบผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น
       
       “นอกจากนี้ ยังได้นำแพทย์แผนไทยมาสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่วนร้านขายยาในพื้นที่รวมใจไม่ขายยาปฏิชีวนะและยาชุด ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม ทำให้ลดการใช้ยาในชุมชน โดยใช้ภูมิปัญหาท้องถิ่นด้วยการผสมผสานบำบัดรักษาโรคด้วยแพทย์ทางเลือก” นางปฏิมา กล่าว
       
       ด้าน นพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 4 สระบุรี กล่าวว่า ความสำเร็จนี้มาจากการจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพที่มาจากท้องถิ่นและจัดการโดยคนท้องถิ่นเอง ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระจายอำนาจการจัดการด้านสุขภาพให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมการจัดการแก้ปัญหาได้ตรงจุด เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของระบบ