search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6517293
การเปิดหน้าเว็บ:9360447
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ผิดหวัง! นายกฯปูดองร่าง พ.ร.บ.ยาเป็นปี กองทุนชดเชยไม่ถึงกำหนดคลอด
  18 มีนาคม 2556
 
 


วันที่: 18 มีนาคม 2556
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032742



       กพย.ผิดหวัง รบ.ดองร่าง พ.ร.บ.ยา เป็นปี แต่ยังไร้วี่แววนายกฯปู ลงนามรับรอง เหตุ กม.ภาครัฐยังไม่คลอดมาพิจารณาเทียบกัน นักวิชาการชี้มีการเพิ่มสาระสำคัญใหม่เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา ทั้งกองทุนเยียวยาและการวิจัยพัฒนา สุดเซ็ง! ร่างเกณฑ์จริยธรรมส่งเสริมการขายยาฝุ่นจับ หลังรับรองแล้วแต่ไม่ประกาศใช้ เล็งพิมพ์แจกสางปัญหา

       ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) เปิดเผยว่า หนึ่งในสิทธิผู้บริโภคที่ควรได้รับการคุ้มครองคือ สิทธิในการได้รับการชดเชย อย่างประเทศญี่ปุ่นจะมีการตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายจากปัญหาการใช้ยา โดยหลายประเทศได้ใช้ระบบฟ้องร้อง ซึ่งประเทศไทยก็ต้องเข้าสู่ระบบฟ้องร้องเช่นกัน แต่ส่วนมากผู้บริโภคจะนึกไม่ถึงว่าปัญหาจากการใช้ยานั้นเกิดจากบริษัทยา ด้วยเหตุนี้ในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ. ... (ฉบับประชาชน) ซึ่งสาระสำคัญจะเป็นเรื่องของกฎหมายการควบคุมยาทั้งระบบ ตั้งแต่การขึ้นทะเบียนยา การออกฉลาก และการควบคุมการกระจายการใช้ยา เป็นต้น จึงมีการเสนอสาระสำคัญใหม่ๆ เพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ซึ่งใช้มากกว่า 40-50 ปีแล้ว อาทิ การตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายจากปัญหาการใช้ยาเหมือนประเทศญี่ปุ่น การควบคุมการส่งเสริมการขาย โครงสร้างราคายา การเพิ่มโทษให้รุนแรงขึ้นเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา และมีการพึ่งพาตนเองมากขึ้น
       
       "นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้ตั้งกองทุนวิจัยพัฒนา เพื่อให้การผลิตยามีความเข้มแข็งมากขึ้นด้วย เพราะทุกวันนี้เรานำเข้ายาจากต่างประเทศถึง 70% หากเกิดภาวะฉุกเฉินจนขาดแคลนยา เช่น น้ำท่วมเหมือนปลายปี 2554 หรือบริษัทยาถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่จะทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในการกระจายยา" ผู้จัดการ กพย. กล่าว
       
       ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวอีกว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.ยา จะมีประชาชนลงชื่อสนับสนุนกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อและรัฐสภายอมรับในหลักการแล้ว แต่ปัญหาคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่ลงนามรับรองร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน จำเป็นที่ทางรัฐบาลจะต้องออกร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับของรัฐบาลมาควบคู่กัน เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ จึงยังติดค้างอยู่ที่ขั้นตอนนี้มาประมาณ 1 ปีแล้ว โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กพย.ได้มีการทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีว่าจะมีการลงนามรับรองเมื่อไร แต่ก็ยังไม่มีคำตอบ เช่นเดียวกับร่างเกณฑ์จริยธรรมส่งเสริมการขายยา ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติแล้ว แต่ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นเรื่องราว ที่สำคัญเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.สาธารณสุข ก็ทำให้เกิดการดองร่างเกณฑ์ดังกล่าว โดย กพย.วางแผนที่จะผลักดันให้เกิดการใช้ร่างเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยา ด้วยการพิมพ์เผยแพร่ร่างดังกล่าว ซึ่งบางโรงพยาบาลที่มีความสนใจและเห็นประโยชน์ก็เริ่มมีการนำไปปรับใช้บ้างแล้ว