search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6519717
การเปิดหน้าเว็บ:9362968
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  กรมควบคุมโรคพบมาลาเรียดื้อยากว่า 10%
  21 มกราคม 2556
 
 


วันที่: 21 มกราคม 2556<br>ที่มา: เดลินิวส์ ออนไลน์<br>ลิงค์: <a href="http://www.dailynews.co.th/thailand/179643" target="blank">www.dailynews.co.th/thailand/179643</a><br><br><br><br>กรมควบคุมโรคพบมาลาเรียดื้อยากว่า 10 % เตรียมเปลี่ยนสูตรยารักษาใหม่ เริ่ม ก.ค.-ส.ค.นี้<br><br>วันนี้ (21 ม.ค. ) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดอบรมหลักสูตรการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียให้กับ 6 ประเทศในแอฟริกา ได้แก่ โกตดิวัวร์ มาลี โมซัมบิก เซเนกัล อูกานดา แซมเบีย ว่า&nbsp; สถิติการเกิดโรคมาลาเรียในประเทศไทยถือว่าลดลง จากเดิมอยู่ที่ 4 หมื่นรายต่อปี ในปี 2555 เหลือเพียง 24,723 ราย เป็นคนไทย 15,287 ราย ผู้ป่วยชาวต่างชาติ 9,436 ราย เสียชีวิต 11 รายเป็นคนไทย 9 ราย ต่างชาติ 2 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับ คือ ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง และสงขลา โรคมาลาเรียมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ แหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง ส่วนมากพบในจังหวัดชายแดนประเทศไทยที่มีภูเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา ดังนั้นหากพื้นที่ใดปลูกยางพาราแล้วมีคนแปลกถิ่นไปอยู่จำนวนมากควรแนะนำให้เขาไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาล<br><br>ด้าน นพ. วิชัย สติมัย ผอ.สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อมาลาเรียในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม 50% กับพลาสโมเดียม ไวแวกซ์&nbsp; 50 % เดิมใช้ใช้ยาอาร์ที่ซูเนต กับ ยาเมโฟลควิน ในการรักษา&nbsp; แต่จากการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา 9 จุดในประเทศไทย คือ ระนอง ราชบุรี กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน จันทบุรี ตราด ยะลา และอุบลราชธานี พบว่าแม้คุณภาพยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยจากเชื้อพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม ได้ผล 90 % ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด แต่ในหลายพื้นที่ เช่น ชายแดนไทย-กัมพูชาที่จ.จันทบุรี และตราดคุณภาพยาจะอยู่ที่ 87-89 % อุบลราชธานี 95-96 % และ จ.ระนอง กาญจนบุรี คุณภาพยาเริ่มลดลง หากไม่ทำอะไรเลยอาจจะทำให้เปิดปัญหาเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้นจากเดิมพบ 10% เท่านั้น<br><br>นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ดังนั้นกรมควบคุมโรคจะเปลี่ยนมาใช้ตัวใหม่ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่างไดไฮโดรอาร์ติมิซินิน&nbsp; กับพิเพอราควิน ซึ่งกระบวนการสั่งซื้อยา จัดทำคู่มือ และอบรมเจ้าหน้าที่ให้ใช้ยาตัวดังกล่าวต้องใช้เวลา คาดว่าประมาณเดือนก.ค.-ส.ค.น่าจะสามารถใช้ได้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้ยามาจำนวนเท่าใดเพราะบริษัทที่ผลิตตัวยาดังกล่าวมีน้อย ส่วนผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ยังสามารถใช้ยาตัวเดิมที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้ผลิตได้<br><br>“เชื่อมาลาเรียที่ดื้อยา คือ&nbsp; พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม&nbsp; ดังนั้นในผู้ป่วยกว่า 2.5 หมื่นคน ประมาณ 1.2 หมื่นคนจำเป็นต้องใช้ยาตัวใหม่ ซึ่งเชื้อดังกล่าวมีความรุนแรง&nbsp; ขึ้นสมอง ถึงขึ้นเสียชีวิตได้ “ นพ.วิชัย กล่าวและว่า ส่วนสถานการณ์ของโรคมาลาเรียในประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศกัมพูชาเริ่มพบที่จ"ไพลิน ประเทศพม่าพบที่เกาะสอง ส่วนประเทศเวียดนามเริ่มพบว่ายาที่ใช้รักษาเริ่มลดประสิทธิภาพลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ 90% ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ขณะที่ประเทศลาวยังไม่พบการดื้อยา.<br /><br /><hr />