search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515621
การเปิดหน้าเว็บ:9358675
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สธ.สกัดโรค"คอตีบ"ฟื้นคืนชีพเล็งฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ทุก10ปี
  17 ธันวาคม 2555
 
 


วันที่: 17 ธันวาคม 2555
ที่มา: แนวหน้า
ลิงค์: www.naewna.com/local/34158
 


นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงประมาณ 7 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยโรคคอตีบในหลายพื้นที่ ในภาคเหนือพบที่ จ.เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครราชสีมา มหาสารคาม และภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 41 ราย ร้อยละ 90 เป็นผู้ใหญ่และเด็กโต และในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มเพียง 5 รายเท่านั้น เนื่องจากระบบการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สาเหตุที่ไทยพบผู้ป่วยโรคคอตีบเกิดขึ้นอีก หลังจากที่โรคนี้หายไปจากประเทศประมาณ 20 ปี คาดว่ามาจาก 2 สาเหตุ คือ การเคลื่อนย้ายประชากรแรงงาน และการไม่ได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ครอบคลุมตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารเข้าถึงยาก เช่น ภูเขาสูง ชายแดน

สำหรับการรับมือกับปัญหาระยะแรก สธ.ได้ตั้งวอร์รูมติดตามเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาโรคคอตีบ โดยจัดทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแก่แพทย์ผู้รักษาตลอด 24 ชั่วโมง จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค ออกค้นหาผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสงสัยอาจจะป่วยในพื้นที่ที่เสี่ยง รวมทั้งออกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ประชาชนในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ส่วนมาตรการในระยะยาว ได้หารือคณะผู้เชี่ยวชาญ เห็นชอบ 2 มาตรการที่จะทำให้ระบบการป้องกันโรคคอตีบมีความแข็งแกร่ง คือ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบกระตุ้นในผู้ใหญ่ทุก 10 ปี เพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย มาตรการที่ 2 เสนอใช้วัคซีนสูตรผสมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักหรือวัคซีนดีที (dT) ในเข็มเดียวกัน มาฉีดแทนวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (TT) อย่างเดียว ในผู้ที่มีบาดแผลและกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ฉีดเข็มเดียวป้องกันได้ 2 โรคพร้อมกัน เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะมีภูมิคุ้มกันในระดับที่ป้องกันโรคได้ ขณะนี้ได้เตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เพื่อพิจารณาและให้มีผลทางการปฏิบัติโดยเร็ว